Panic Attack (ภาวะแพนิค) กับการรักษาด้วยจิตบำบัด Brainspotting Therapy

690 จำนวนผู้เข้าชม  | 

Panic Attack (ภาวะแพนิค) กับการรักษาด้วยจิตบำบัด Brainspotting Therapy

Panic Attack (ภาวะแพนิค) กับการรักษาด้วยจิตบำบัด Brainspotting Therapy

 

ดร.มฤษฎ์ แก้วจินดา (Ph.D)
Dr. Marid Kaewchinda 
นักจิตวิทยาการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
นักจิตบำบัด EMDR Psychotherapy/ Brainspotting Psychotherapy Practitioner

 

จิตบำบัด Brainspotting  

เป็นเครื่องมือรักษาปมบาดแผลทางใจ หรือ Trauma therapy ที่มีประสิทธิภาพและได้รับการยอมรับในระดับสากล

จิตบำบัด Brainspottting ทำงานตรงกับสมองโดยผ่านตำแหน่งและทิศทางของสายตาซึ่งเชื่อมโยงกับเหตุการณ์ความทรงจำอดีตที่ส่งผลต่ออารมณ์และความคิด

เป้าหมายของการใช้เครื่องมือจิตบำบัด Brainspotting คือช่วยให้เราปลดล็อคจากความทรงจำที่รบกวนจิตใจ และลดการรบกวนจากการถูกกระตุ้นความทรงจำเลวร้ายที่เคยเผชิญมา

ปมบาดแผลทางใจสร้างให้เกิดความผิดปกติในการทำงานของสมองที่เชื่อมโยงกับระบบการทำงานของร่างกาย เมื่อรักษาด้วยการทำจิตบำบัด Brainspotting ผลที่ได้คือสามารถช่วยลดภาวะอาการเครียดวิตกกังวล รวมทั้งลดภาวะแพนิคที่ส่งผลกระทบต่อจิตใจจนเกิดเป็นการแสดงออกทางด้านร่างกายทำให้เกิดเป็นความเจ็บป่วยเรื้อรังต่างๆอีกมากมาย

 



จิตบำบัด Brainspotting ช่วยให้เราสามารถจัดการกับภาวะแพนิคแอคแทค (Panic Attack Disorder) ของเราได้อย่างไร?

อาการของภาวะ Panic attack ที่พบส่วนใหญ่ ได้แก่

  • ชีพจรเต้นแรง
  • เจ็บหน้าอก
  • เวียนหัว มึนหัว
  • ร้อนหนาว วูบวาบ
  • ตัวชา
  • ตัวสั่น
  • หายใจถี่
  • ท้องไส้ปั่นป่วน
  • เหงื่อแตก

าวะแพนิคแอคแทค มักทำให้เราเสียการควบคุมตัวเอง บางครั้งเกิดอาการกลัวตายขึ้นมาอย่างกะทันหัน บ่อยครั้งทำให้เราเกิดมีภาวะสูญญากาศกับสิ่งล้อมรอบข้าง หรือสูญเสียปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างไปชั่วขณะโดยไม่ทันได้เตรียมตัว

โดยทั่วไปอาการของภาวะแพนิคแอคแทค มักจะอยู่นานเป็นเวลา 5 - 20 นาที บางกรณีอาการต่างๆ อาจเกิดขึ้นได้หลายครั้งในคราวเดียวกันและทำให้ภาวะแพนิคยาวนานออกไปอีก ดังนั้นการเผชิญกับภาวะแพนิคแอคแทค มักทำให้เรารู้สึกเครียด วิตกกังวล และส่งผลต่อสภาพจิตใจทำให้เราไม่สบายใจไปตลอดทั้งวัน


สาเหตุของภาวะแพนิคแอคแทค

ภาวะแพนิคแอคแทคเกิดขึ้นจากหลายปัจจัย ได้แก่ พันธุกรรม การใช้ยาบางชนิด และปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ
ปัจจัยเสี่ยงดังต่อไปนี้อาจส่งผลต่อการเกิด ภาวะอาการแพนิคแอคแทคได้แก่

  • มีประวัติสมาชิกในครอบครัวเคยเป็นภาวะแพนิคแอคแทค
  • มีภาวะความผิดปกติอื่นๆ อยู่แล้วเช่น ซึมเศร้า ไบโพล่า วิตกกังวล
  • การอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ทำให้เกิดความเครียด และความกดดัน
  • การเลิกใช้ยาบางชนิด เลิกเสพยา หรือเลิกดื่มสุรา
  • มีโรคประจำตัว ได้แก่ อาการเกี่ยวกับโรคไทรอยด์ผิดปกติ โรคเบาหวาน หรือ ภาวะโรคหัวใจ
  • ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด เช่น ยาต้านภาวะซึมเศร้า

เมื่อเจอตัวกระตุ้น อาจเป็นสภาพแวดล้อม บรรยากาศ วัตถุ หรือสถานการณ์บางอย่างที่เชื่อมโยงกับปมบาดแผลทางใจในอดีต

 
จิตบำบัด Brainspottingรักษาภาวะแพนิคได้อย่างไร?

Brainspotting Therapy เป็นกระบวนการทางจิตวิทยาสำหรับการทำงานกับอารมณ์ด้านลบ รักษาบาดแผลทางใจที่เกิดจากประสบการณ์ในอดีต ประสบการณ์อันเลวร้ายและช่วยฟื้นฟูความสมดุลของระบบการทำงานของสมองซึ่งมีผลต่ออารมณ์ ความคิด และการแสดงออก

Brainspotting Therapy เป็นหนึ่งในเทคนิคทางจิตวิทยาที่เน้นการทำงานกับสมองส่วนกลางโดยตรงที่เก็บความทรงจำในการรักษาปมบาดแผลทางใจ และได้รับการยอมรับจากนักจิตวิทยาและจิตแพทย์ระดับโลกว่ามีประสิทธิภาพเห็นผลไวในระยะเวลาอันสั้นเมื่อเทียบกับการทำcounseling หรือการปรึกษาพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญตามปกติ
 

Brainspotting therapyมีลักษณะอย่างไร?

Brainspotting Therapy เป็น brain and body based therapy  ที่เข้าทำงานตรงกับสมองและเป็น somatic therapy approach ที่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพกับความวิตกกังวล ปมในอดีต Trauma ภาวะPTSD ภาวะซึมเศร้า หรือประสบการณ์ด้านลบอื่นๆ ที่ส่งผลต่อการตอบสนองด้านร่างกาย ผลกระทบต่อคุณภาพการดำเนินชีวิตให้มีความสุขและการพัฒนาด้านบุคลิกภาพ รวมทั้งสัมพันธภาพกับคนรักหรือคนรอบข้างได้

จากประสบการณ์ที่ผ่านมา Brainspotting therapy เคยช่วยรักษาอาการภาวะต่างๆ ทางร่างกายที่เกิดจากปมบาดแผลทางใจที่ไม่ได้รับการดูแลรักษา และถูกใช้เพื่อปลดล็อคปมอดีตให้กับนักกีฬาที่ไม่สามารถก้าวข้ามไปสู่จุดสูงสุดของการพัฒนาศักยภาพของตัวเองได้



การทำงานของ  Brainspotting Therapy จะเข้าจัดการตรงถึงต้นตอของปัญหาที่เป็นสาเหตุให้เกิดปมบาดแผลทางใจในอดีต ทำให้เกิดความเครียดด้านจิตใจที่ส่งผลลบด้านอารมณ์ ซึ่งนำสู่การเกิดภาวะซึมเศร้า PTSD พฤติกรรมเสพติด ภาวะวิตกกังวล หรืออาการภาวะทางจิตใจรูปแบบอื่นๆ
รวมทั้งบ่อยครั้งที่ความวิตกกังวลมากจนเกินไปส่งผลกระทบทำให้เกิดภาวะแพนิคแอคแทค
การเผชิญกับภาวะวิตกกังวล (Anxiety disorder) ยาวนาน บ่อยครั้งโดยไม่ได้รับการแก้ไขให้กลับมาเป็นปกติอาจส่งผลต่อการตีความที่ผิดเพี้ยนของสมองอันเนื่องจากภาวะด้านจิตใจที่มีความเครียด กังวลมากจนเกินไป

เมื่อจิตใจรู้สึกเป็นทุกข์ หวาดกลัว กังวลใจจะส่งผลต่อการรับรู้และจิตใจที่ไม่ปกติ การทำงานที่เชื่อมต่อระหว่างระบบประสาทสัมผัสทางร่างกายและสมองเกิดการตีความที่ผิดพลาดทำให้ร่างกายอาจแสดงออกถึงความหวาดกลัว ความอันตราย มีอาการหน้ามืด เวียนหัว กล้ามเนื้อเกร็ง หายใจถี่ หัวใจเต้นแรงอย่างกะทันหันเฉียบพลันโดยไม่ได้มีสาเหตุของความอันตรายใดที่เกิดขึ้นจริงต่อหน้า

ภาวะแพนิคแอคแทค และทำให้มีภาวะที่ยากลำบากต่อการควบคุมร่างกายของตัวเอง เพราะการทำงานของสมองเชื่อมโยงกับการทำงานทุกอย่างในร่างกายหากสมองทำงานได้ถูกต้องร่างกายก็จะทำงานได้ถูกต้องเช่นกัน


 

 

Brainspotting สามารจัดการกับภาวะแพนิคแอคแทคได้อย่างไร?

ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาคลินิคและวิทยาศาสตร์ประยุกต์จากมหาวิทยาลัยบาร์ท ได้ชี้ให้เห็นว่าความกลัวที่เกิดมาจากภาวะแพนิแอคแทคเป็นผลมาจากความวิตกกังวลที่ต่อเนื่องยาวนาน และเราสามารถจัดการกับมันได้ด้วยการไม่ปล่อยให้ความวิตกกังวลหรือความกลัวนั้นมาควบคุมเราได้

โดยการทำจิตบำบัดที่เน้น mind and mood หรือ brain and body based therapy จิตบำบัดประเภทนี้จะช่วยฝึกด้านจิตใจที่สัมพันธ์กับร่างกายอันเป็นขั้นพื้นฐานในการจัดการกับความวิตกกังวล

หลักการทำงานคือสมองรับรู้ความรู้สึกจัดการกับสภาวะทางจิตใจให้สงบเผชิญกับภาวะความกลัว วิตกกังวลและส่งต่อไปที่ร่างกาย ได้ผลคือลดอาการที่เกี่ยวเนื่องกับภาวะอาการวิตกกังวล การฝึกสมาธิ การทำจิตใจให้สงบ ฝึกการหายใจและรู้จักผ่อนคลายเป็นเทคนิคแบบ somatic therapy หรือ mind-body approach ซึ่งเป็นหลักการที่มีอยู่ใน Brainspotting therapy เช่นเดียวกันกับการทำงานของEMDR Therapy ด้วย



 

Brainspotting Therapy เข้าทำงานตรงกับปมที่ทำให้เกิดภาวะวิตกกังวล

เทคนิค Brainspotting จะเข้าจัดการกับความทรงจำด้านลบ อารมณ์ด้านลบที่มักเกิดจากสาเหตุประสบการณ์อันเลวร้ายในอดีต เมื่อรับบำบัดอย่างต่อเนื่อง Brainspotting therapyจะช่วยให้สมองเกิดการปรับสมดุลย์ในระบบประสาทการรับรู้ รวมทั้งเทคนิคนี้ยังควรฝึกร่วมกับฝึกการหายใจเข้าออก และฝึกสมาธิในการทำสงบจิตใจเพื่อช่วยลดภาวะตึงเครียดเวลาเผชิญสถานการณ์ไม่พึงประสงค์

 

คนปกติมักเจอภาวะแพนิคแอคแทคบ้างในชีวิตแล้วอาการก็หายไปเมื่อเหตุการณ์ความเครียดนั้นจบลง อย่างไรก็ตามในคนที่เป็นภาวะแพนิคแอคแทค มักเกิดขึ้นซ้ำๆ โดยไม่ทันตั้งตัว

หรือบ่อยครั้งจะเป็นภาวะแพนิคแอคแทคอยู่เป็นเวลานานๆ ซึ่งภาวะดังกล่าวเป็นสัญญาณเตือนของภาวะแพนิค  

ถึงแม้ภาวะแพนิคแอคแทคจะไม่ทำให้เราถึงกับเสียชีวิตได้แต่มีผลต่อคุณภาพของการใช้ชีวิตอย่างมีความสุขของเราอย่างมาก ดังนั้นหากเกิดภาวะpanic attack ขึ้นไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ แต่ควรได้รับการแก้ไขจัดการให้หายเป็นปกติจากผู้เชี่ยวชาญจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดเพื่อไม่ให้ปัญหาสุขภาพจิตใจลุกลามบานปลายส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายด้านอื่นๆ ตามมา

 

อ้างอิง
https://www.authenticityassociates.com/brainspotting/brainspotting-therapy-for-anxiety/
https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/4451-panic-attack-panic-disorder#symptoms-and-causes
https://www.jouslinesavra.com/brainspotting/
https://www.authenticityassociates.com/brainspotting/brainspotting-therapy-for-anxiety/
https://buckheadbh.com/brainspotting-for-anxiety/#:~:text=Brainspotting%20therapy%20can%20be%20very,after%20the%20session%20is%20over.
https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/panic-attacks/symptoms-causes/syc-20376021#:~:text=Many%20people%20have%20just%20one,a%20condition%20called%20panic%20disorder.
https://www.medicalnewstoday.com/articles/321798#medical-treatments
https://www.authenticityassociates.com/brainspotting/brainspotting-therapy-for-anxiety/
https://www.healthline.com/health/effective-ways-to-fight-anxiety-without-drugs
https://www.choosingtherapy.com/brainspotting/
https://brainspotting.com/directory-bsp_dir/?drts-search=1&search_keyword%5Btext%5D=&search_keyword%5Bid%5D=&search_keyword%5Btaxonomy%5D=&search_location_address%5Btext%5D=369%20%E0%B8%8B%E0%B8%AD%E0%B8%A2%20%E0%B8%9E%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%99%2032%20Khwaeng%20Sena%20Nikhom%2C%20Khet%20Chatuchak%2C%20Krung%20Thep%20Maha%20Nakhon%2010900%2C%20Thailand&search_location_address%5Bradius%5D=50&search_location_address%5Bterm_id%5D=&search_location_address%5Btaxonomy%5D=&search_location_address%5Bcenter%5D=13.834832%2C100.5858895&search_location_address%5Bviewport%5D=&search_location_address%5Bzoom%5D=&search_term_directory_category=

 


Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้