Panic Attack และ Anxiety Disorders แตกต่างกันอย่างไร?

5368 จำนวนผู้เข้าชม  | 

Panic Attack และ Anxiety Disorders แตกต่างกันอย่างไร?

Panic Attack

และ Anxiety Disorders

แตกต่างกันอย่างไร?

 

โดย ดร.มฤษฎ์ แก้วจินดา

นักจิตวิทยาการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ และนักจิตบำบัด

EMDR certified supervisor and Brainspotting Psychotherapist

 

Panic Attack และ Anxiety Disorders แตกต่างกันอย่างไร?

 


การทำความเข้าใจในความแตกต่างระหว่าง 2 โรคนี้จะช่วยให้เราสามารถดูแลสุขภาพจิตใจของเราให้ดียิ่งขึ้นได้
Panic Attack หรือ โรคตื่นตระหนก เป็นอาการหนึ่งที่อยู่ในโรค Anxiety Disorders หรือโรควิตกกังวล

อาการของโรค panic attack มักจะไม่มีสัญญาณเตือนมาก่อน อาการที่ปรากฎเห็นได้ชัด เช่นตัวชา เวียนหัว หน้ามืด หายใจไม่ทัน ตัวสั่น เหงื่อแตก 

 


 

ในปัจจุบันทางสมาคมจิตวิทยาและจิตแพทย์ในประเทศสหรัฐอเมริกาได้ออกมายืนยันแล้วว่า โรค panic attack และ anxiety disorders นั้นสามารถรักษาให้หายขาดได้ หากได้รับการแก้ไขอย่างถูกวิธี

ดังนั้นหากเกิดความเจ็บป่วยและทุกข์ทรมานจากโรคแพนิคแอคแทคหรือ anxiety disorders ควรรีบปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาเพื่อรับการบำบัดที่ถูกต้อง 


สาเหตุ

โรควิตกกังวล หรือ Anxiety Disorders มีหลายรูปแบบ และหลายสาเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดทั้งจากประสบการณ์ในชีวิตและอื่นๆอีกมากมาย

บางครั้งในชีวิตคนเรานั้นเกิดความวิตกกังวลได้ ประสบการณ์ของความรู้สึกวิตกกังวล ตื่นตระหนกเป็นอารมณ์โดยธรรมชาติของมนุษย์แสดงถึงปฎิกิริยาที่ตอบสนองต่อการเอาตัวรอด

ความรู้สึกวิตกกังวล และกลัวนี้เป็นการส่งสัญญาณ ส่งข้อมูลบางอย่างให้เรา และทำให้เราระแวดระวังหรือมีการเตรียมตัวสำหรับรับมือกับความอันตรายบางอย่าง ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญต่อการมีชีวิตรอด

แต่หากความวิตกกังวลนั้นไม่ได้ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ หรือข้อมูลที่สมเหตุสมผล แต่เป็นจินตนาการที่สร้างความเครียด หรือ ความกลัวจนเกินกว่าเหตุจนทำให้เราพยายามหลีกหนีที่จะเผชิญหน้ากับมัน สร้างปัญหาและอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณบอกถึงการเป็นโรควิตกกังวลที่ควรต้องได้รับการแก้ไขจากผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาเพื่อให้ชีวิตกลับมาเป็นปกติอีกครั้ง

อาการ

ความวิตกกังวลนั้นหากมีมากเกินความพอดี ผิดปกติจนกลายเป็นความวิตกจริต หรือรู้สึกตื่นตระหนกถึงขั้นทำให้เกิดความเครียดจนทำอะไรไม่ได้นั้น อาจเป็นสัญญาณที่บอกว่าการตอบสนองด้านอารมณ์ของเราอาจไม่แข็งแรงหรือไม่ปกติ จนเกิดเป็นโรควิตกกังวลได้

โรควิตกกังวลนี้ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของคนทุกวัย ไม่ว่าจะเป็นวัยเด็ก วัยรุ่น หรือวัยผู้ใหญ่ก็ตาม เหตุการณ์ที่มักทำให้คนเกิดความวิตกกังวลมีมากมาย เช่น การเจ็บป่วยและต้องเข้ารับการรักษาทางการแพทย์ การพูดต่อหน้าสาธารณะ การเข้าสังคม กังวลเกี่ยวกับหน้าที่การงาน ความกังวลด้านความมั่นคงทางการเงิน และเหตุการณ์ดังกล่าวมักเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดความวิตกกังวลจนเกิดเป็นความกลัว ตื่นตระหนก ระดับขั้นของความกังวลหากมีมากจนเกิดความเครียดก็ทำให้เกิดภาวะของโรค panic attack ตามมาได้

การรักษา

การรักษาอาการควรต้องเข้ารับการบำบัดให้ระดับความวิตกกังวลอยู่ภาวะที่ควบคุมได้

การหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากับสิ่งที่กลัว และเป็นกังวลนั้นอาจช่วยทำให้ดีขึ้นได้เพียงชั่วคราวเท่านั้น แต่การเผชิญหน้ากับสิ่งที่กลัวอย่างเข้าใจจะเป็นการแก้ปัญหาได้ถาวรมากกว่า

ทั้ง panic attack and anxiety disorders นั้นสามารถแก้ไขและจัดการให้หายเป็นปกติได้ หากต้องทุกข์ทรมานกับโรคนี้มานานก็ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ ควรรีบปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาเพื่อได้รับการแก้ไขที่ถูกต้อง


โรควิตกกังวลในวัยรุ่นสำคัญอย่างไร?

วัยรุ่นเป็นวัยที่ต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงมากมายทั้งด้านอารมณ์ ความรู้สึก ด้านร่างกาย และความไม่แน่นอนในชีวิต ปัจจัยที่เกี่ยวข้องอาจมีสาเหตุมาจากทั้งจากครอบครัว และ จากที่โรงเรียน เช่น ปัญหาด้านการเรียน การสอบ ปัญหาเพื่อน ถูกแฟนทิ้ง  ความขัดแย้งกับคุณครู หรือ ผู้ใหญ่ในบ้าน ปัญหาการหย่าร้างของพ่อ-แม่  เกิดความเครียด วิตกกังวลเมื่อพ่อหรือแม่ตกงาน หรือ เกิดการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักอย่างกระทันหัน ทุกเหตุการณ์ล้วนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต

วัยรุ่นเป็นวัยที่ท้าทายมากที่สุดช่วงหนึ่งในชีวิตคนเรา และหากในชีวิตของวัยรุ่นมีพื้นฐานทางด้านจิตใจที่ไม่แข็งแรงซึ่งเกี่ยวข้องกับการเลี้ยงดู สภาพแวดล้อมที่เป็นอยู่และเติบโตมารวมทั้งประสบการณ์ที่เคยผ่านพบมาจะส่งผลต่อการมองโลกในมุมมองของเขา และส่งผลต่อพฤติกรรมการแสดงออกทางด้านลบ

โรควิตกกังวล และ panic เป็นภาวะทางจิตที่ไม่ปกติประเภทหนึ่ง คนที่เป็นโรควิตกกังวลมักมีภาวะหวาดกลัว ตื่นตระหนก หรือ วิตกกังวล ระดับรุนแรงกว่าคนปกติ อาจมีปฎิกิริยาด้านร่างกาย เช่น หัวใจเต้นระรัว เหงื่อแตกพล่าน โรควิตกกังวลในวัยรุ่นที่รุนแรง อาจส่งผลต่อความเจ็บปวดด้านร่างกายอย่างรุนแรงด้วยเช่นกัน

อาการที่พบได้ทั่วไป เช่น กล้ามเนื้อเกร็ง เจ็บท้องน้อย ปวดหัว เจ็บซี่โคร ปวดหลัง มีความเปราะบางด้านอารมณ์และร่างกาย ปรับตัวลำบากเมื่อเริ่มเปลี่ยนแปลงเข้าสู่วัยรุ่น

คงปฎิเสธไม่ได้ว่าปัญหาลูกวัยรุ่น เป็นเรื่องใหญ่ในครอบครัว คุณพ่อ-คุณแม่และผู้ปกครองไม่สามารถจะนิ่งนอนใจได้หากเกิดความผิดปกติขึ้นกับลูกวัยรุ่น

สาเหตุหรือประสบการณ์ของลูกวัยรุ่นที่ทำให้เกิดอาจโรควิตกกังวลอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุเช่น การสูญเสีย ภาวะซึมเศร้า เครียด วิตกกังวล เสียใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นในหลายๆเรื่อง ขาดคนเข้าใจ ขาดเพื่อนในการปรับทุกข์ สาเหตุต่างๆเหล่านี้อาจนำสู่ความเครียดและนำมาซึ่งความขัดแย้งในครอบครัว และอาจทำให้เก็บตัวไม่อยากเจอใครและอาจเป็นปัญหาที่ใหญ่บานปลายต่อไปได้ เช่น

·    ปัญหายาเสพติด

·    เกิดการต่อต้าน ไม่ให้ความร่วมมือ

·    มีความคิดอยากฆ่าตัวตาย

·    ทำร้ายตัวเอง

·    วิตกกังวล

·    ภาวะซึมเศร้า

 

Anxiety disorders ในวัยรุ่นในแต่ละคนนั้นแตกต่างกัน  อาการกลัวมาก กังวลมาก หวาดระแวง หวาดกลัวมีระดับรุนแรงแตกต่างกัน ความวิตกกังวลอาจดูเป็นเรื่องที่ผู้ปกครองเห็นว่าธรรมดาทั่วไป อย่างเช่น ความกังวลเกี่ยวกับรูปร่างหน้าตา การเป็นที่ยอมรับในสังคม ความรู้สึกด้านอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงไม่ปกติ ประเด็นความขัดแย้งต่อการใช้ชีวิต 

อยากหลีกหนีจากความกังวล อยากมีชีวิตอิสระ อยากเป็นตัวของตัวเอง  หลีกเลี่ยงการร่วมกิจกรรมที่ทำให้ไม่สบายใจหรือกังวลใจ หลีกเลี่ยงการเรียนรู้ในประสบการณ์ชีวิตใหม่ๆ  เกิดการต่อต้านเมื่อต้องแยกห่างจากเพื่อน หรือพยายามที่จะปฎิเสธการมีส่วนร่วมที่ทำให้ตัวเองรู้สึกกังวลใจ

สิ่งที่ต้องระวังคือเรื่องการใช้สารเสพติด หรือ ภาวะเครียด ซึมเศร้า วิตกกังวลมากเกินจนนำไปสู่การฆ่าตัวตาย



ควรได้รับการแก้ไขอย่างไร?

โรค Anxiety disorders และ panic attack นั้นไม่สามารถหายไปเองได้ง่ายๆ ดังนั้นจึงควรไปพบผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการบำบัด ผู้เชี่ยวชาญอาจใช้เทคนิคทางจิตวิทยาเพื่อให้ร่ายกายและจิตใจได้กลับมาทำงานได้อย่างปกติและลดความกังวล ตื่นตระหนก หวาดระแวงด้วยเทคนิคต่างๆทางจิตวิตทยา โดยเฉพาะการทำจิตบำบัด

นอกจากนี้ คุณพ่อ-คุณแม่ควรรับฟังหากลูกวัยรุ่นต้องการเล่าสิ่งที่เขากำลังหวาดกลัว หรือ เป็นกังวล และควรฟังอย่างตั้งใจและให้เกียรติลูกโดยไม่วิจารณ์ หรือขัดจังหวะจะเป็นการช่วยให้เขาได้ลดความกังวลลงได้ในระดับหนึ่ง

และให้กำลังใจลูกให้ผ่านพ้นสิ่งที่กำลังกังวลไปให้ได้และช่วยเสริมประสบการณ์บวกที่จะทำให้เขาแก้ปัญหาได้ดีขึ้นเมื่อโตขึ้น

คุณพ่อ-คุณแม่ ควรเข้าใจว่าไม่ใช่เรื่องง่ายที่ลูกวัยรุ่นจะสามารถอธิบาย บอกเล่าถึงอารมณ์ ความรู้สึกที่ตนเผชิญอยู่ได้อย่างง่ายดายเพราะเขาไม่อยากทำให้คนอื่นเห็นว่าตัวเองอ่อนแอ หากอาการกลัว ตื่นตระหนก

หากพบว่าลูกวัยรุ่นมีอาการวิตกกังวลเป็นมากจนไม่สามารถทำกิจกรรมหรืองานต่างๆได้เป็นระยะเวลานาน เกินกว่า 6 เดือน ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ 

 

 

โรค Anxiety disorders แบ่งเป็นหลายประเภทดังนี้

·     โรควิตกกังวลทั่วไป  ผู้ป่วยมักคิดถึงแต่เรื่องร้ายที่อาจเกิดขึ้นในทุกสถานการณ์ มีอาการด้านร่างกายร่วมด้วยเช่น ปวดหัว เจ็บหน้าอก ปวดท้อง อาเจียน

·     ย้ำคิดย้ำทำ

·     หวาดระแวง หวาดกลัว เช่น กลัวเครื่องบิน กลัวผู้คน

·     กลัวสังคม กลัวการพูดกับคนอื่น เป็นมากในวัยรุ่น

·     Panic attacks เป็นรูปแบบหนึ่งของโรควิตกกังวล ซึ่งจะมีอาการหายใจไม่ทัน หน้ามืด ตัวชาร่วมด้วย ทำให้ผู้ป่วยกลัวการออกไปข้างนอก

·     ความเครียดหลังจากเหตุการณ์สะเทือนขวัญ หรือ  PTSD ( Post Traumatic stress disorder)

การรักษาโรค anxiety disorders สามารถรักษาได้ด้วยการทำจิตบำบัดซึ่งมีหลากหลายวิธี EMDR therapy ถือเป็นเทคนิควิธีที่ได้รับรองทางการแพทย์ในปัจจุบันว่าได้ผลและมีประสิทธิภาพมากที่สุด

นอกจากนี้ยังมี เทคนิค Brainspotting ที่เป็นการต่อยอดมาจากEMDR Therapy รวมทั้งยังมีเทคนิคอื่นๆอีกมากมายรวมทั้ง talk therapy หรือการพูดคุยปรึกษานักจิตวิทยาก็สามารถช่วยบรรเทาอาการวิตกกังวลได้ในระดับหนึ่ง 

 

อย่างไรก็ดีคำแนะนำด้านล่างเป็นวิธีเบื้องต้นเพื่อนำไปปฎิบัติเองได้แบบง่ายๆเพื่อลดอาการวิตกกังวลก่อนมาพบผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาโดยทำตาม 6 ขั้นตอนดังนี้



6 ขั้นตอนเบื้องต้นเพื่อช่วยลดอาการวิตกกังวล

1. ฝึกสมองไม่ให้คิดในแง่ร้ายเกินความเป็นจริง

2. บันทึกว่าอะไรคือสถานการณ์แย่ที่สุดที่เราคิดไว้ และอะไรที่อาจจะเกิดขึ้นได้ และความเป็นจริงที่สุดที่จะเกิดขึ้นจะเป็นอย่างไร

3. ติดตามผลของความคิดที่มักถูกต้อง เพื่อประโยชน์ในการใช้แก้ปัญหา

4.  เปรียบเทียบผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริงกับสิ่งที่ตัวเองคิดกังวลว่ามีประโยชน์อย่างไร

5. ประเมินหลักฐานที่ได้จริงกับความคิดของตัวเอง

6. หมั่นทำสมาธิ มีสติอยู่เสมอ
 

วิธีเบื้องต้นนี้อาจพอช่วยลดความวิตกกังวลได้หากเรามีปัญหาในระดับที่ควบคุมได้ หากความวิตกกังวล ตื่นตระหนกและหวาดระแวงนี้นำความทุกข์ใจและรบกวนจิตใจในการใช้ชีวิตอาจต้องมาพบผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาเพื่อการบำบัดรักษาในขั้นตอนต่อไป

 

 อ้างอิง

https://www.aacap.org/aacap/Families_and_Youth/Resource_Centers/Anxiety_Disorder_Resource_Center/Your_Adolescent_Anxiety_and_Avoidant_Disorders.aspx#:~:text=Teenagers%20who%20suffer%20from%20excessive,discomforts%20associated%20with%20pubertal%20changes.

https://evolvetreatment.com/about/modes-of-therapy/

https://www.destinationsforteens.com/adolescent-teen-mental-health-treatment/teenage-anxiet

https://www.psychologytoday.com/us/blog/in-practice/201301/cognitive-restructuring

https://www.mcleanhospital.org/essential/do-you-know-difference-between-panic-and-anxiety

 

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้