737 จำนวนผู้เข้าชม |
วิลาสินี ฝนดี
นักจิตวิทยาให้การปรึกษา
โรคเครียดภายหลังเผชิญเหตุการณ์สะเทือนขวัญ Post-Traumatic Stress Disorder: (PTSD) คือ
ภาวะสุขภาพจิตที่บุคคลได้ประสบกับเหตุการณ์รุนแรงหรือเหตุการณ์สะเทือนใจจนกลายเป็นบาดแผลทางใจ และภายหลังก่อให้เกิดอาการที่รบกวนการใช้ชีวิต เช่น มีความรู้สึกถึงประสบการณ์หรือเหตุการณ์รุนแรง หรือตกอยู่ในเหตุการณ์รุนแรงที่ผ่านมาช้ำๆ ไม่ว่าจะเป็นตอนนอนหลับหรือตอนตื่น ส่งผลทำให้เกิดการหลีกเลี่ยงต่อสิ่งที่กระตุ้นที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์รุนแรงนั้น มีอาการหวาดกลัว ตื่นตะหนดง่าย และวิตกกังวล เครียด จนเป็นภาวะซึมเศร้าและรู้สึกหาทางออกไม่ได้ ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน และรบกวนจิตใจอยู่ตลอดเวลา
Post-traumatic stress disorder (PTSD) หรือบาดแผลในใจ เกี่ยวเนื่องมาจากเหตุการณ์ที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดความเครียดจนเป็นความวิตกจริตที่ไม่ปกติ เช่น การถูกทำร้ายร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรง ถูกขมขืน รอดชีวิตจากเหตุการณ์รุนแรง การเข้าร่วมสงคราม ภัยพิบัติ และรอดชีวิตมาได้
แต่เกิดผลกระทบด้านจิตใจที่ตามมาในภายหลังมากมาย เช่น ความเครียด ความหวาดกลัว ช็อค แพนิคแอคแทค ฝันร้าย flashback ความทรงจำย้อนกลับมาอีกบ่อยครั้ง จากเหตุการณ์สะเทือนใจที่เกิดขึ้นและสามารถถูกกระตุ้นได้ทุกเมื่อหากเจอความสะเทือนใจเช่นนั้นอีก การเป็นผู้พบเห็นเหตุการณ์สะเทือนขวัญถึงแม้ตนเองจะไม่ได้เป็นเหยื่อแต่การได้เจอหรือประสบกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับคนใกล้ชิด คนรัก หรือผู้อื่นถูกกระทำต่อหน้าต่อตาก็ก่อให้เกิดอาการPost-traumatic stress disorder (PTSD) ขึ้นเหมือนเสมือนเป็นผู้ถูกกระทำเช่นกัน
หลายคนสามารถหายจากอาการPTSDในระยะสั้น และสามารถดำเนินชีวิตต่อไปได้ แม้ว่าจะเจอกับความยากลำบากในการปรับตัวหรือใช้ชีวิตในการอยู่อย่างทุกข์ทรมานใจบ้าง แต่การดูแลตัวเองที่ดีและไปพบผู้เชี่ยวชาญจะสามารถทำให้ชีวิตและสภาพจิตใจกลับมาดีได้อย่างถาวร
ระดับขั้นของอาการ post-traumatic stress disorder (PTSD)
1. ขั้นช็อคหรือมีผลกระทบ จากเหตุการณ์ที่ประสบกับตัวเองหรือเป็นผู้ได้เห็นเหตุการณ์
2. ขั้นปฎิเสธหรือด้านชา ขั้นนี้เป็นการไม่ยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้นและทุกข์ทรมานและการแสดงออกของอาการที่เฉยชาไร้ความรู้สึกเป็นกลไกลการป้องกันตัวเองเพื่อลดความเครียดหรือวิตกกังวล การรักษาต้องช่วยให้ผ่านพ้นขั้นนี้ไปให้ได้จึงจะสามารถไปต่อในขั้นต่อไปได้
3. ขั้นการถูกรบกวนซ้ำซากจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น สภาพจิตใจกำลังหาทางจัดการกับสถานการณ์เลวร้ายที่ได้เกิดขึ้น ในขั้นนี้อาจมีฝันร้าย ภาพอดีตความทรงจำอันเลวร้ายย้อนกลับมา ถึงแม้ว่าเราจะคิดว่าเราได้จัดการกับปัญหาเหล่านั้นผ่านพ้นไปได้แล้วก็ตาม ทำให้กลับมามีอาการเศร้า เสียใจ หงุดหงิด หมดหวัง สิ้นหวัง หรือไม่สามารถควบคุมความคิดที่รบกวนจิตใจได้
4. การฟื้นคืนสภาพจิตใจในระยะสั้น ในขั้นตอนนี้หลังจากจิตใจได้ทำการต่อสู้เอาชนะกับความลำบากต่างๆที่ได้เจอและเกิดการยอมรับ จิตใจก็เริ่มฟื้นฟูและกลับมาสู่ภาวะปกติตามขั้นพื้นฐานของการอยู่รอด เป็นการเปลี่ยนผ่านไปสู่การก้าวข้ามและมีแผนในการใช้ชีวิตขั้นต่อไป แต่ขั้นตอนของการถูกรบกวนซ้ำซากยังคงเกิดขี้น ส่งผลต่อความเครียดและรบกวนจิตใจอยู่ตลอดเวลา
5. การปรับโครงสร้างสำหรับการฟื้นคืนสภาพทางจิตใจอย่างถาวร สำหรับคนที่ต้องทนทุกข์ทรมานและมีบาดแผลทางใจนั้น การเปลี่ยนโครงสร้างและกลไกลป้องกันทางด้านจิตใจของตนเองให้กลับมาเข้มแข็งโดยไม่ทุกข์ทรมานหรืออ่อนไหวต่อสิ่งกระตุ้นที่เคยได้รับจากเหตุการณ์อันเลวร้าย และรุนแรงนั้นจำเป็นต้องพึ่งผู้เชี่ยวชาญและนักจิตวิทยาในขั้นตอนนี้ ดังนั้นเหตุการณ์ความกลัว หวาดระแวง ที่ส่งผลต่อความเครียดและซึมเศร้าจึงจำเป็นต้องมีการปรับโครงสร้างกระบวนการทางความคิดและความทรงจำเพื่อให้สภาพจิตใจได้ฟื้นคืนและกลับมาใช้ชีวิตโดยไม่ถูกรบกวนจิตใจได้อย่างถาวร
จิตวิทยาเชิงบวกช่วยรักษาโรคเครียดหลังเหตุการณ์สะเทือนขวัญได้อย่างไร?
Post-Traumatic Stress Disorder (PTSD) เป็นผลมากจากสมองยังมีความทรงจำด้านลบที่ยังค้างอยู่และยังไม่ได้ผ่านกระบวนการจัดการให้ความทรงจำนั้นได้ไหลโฟล ดังนั้นนักจิตวิทยาบางท่านจึงใช้หลักวิธีการบำบัดด้วยจิตวิทยาเชิงบวกเพื่อให้สมองที่มีความทรงจำด้านลบได้ใส่ประสบการณ์ด้านบวกเข้าไปแทนที่ สมองและระบบประสาทมีการเชื่อมต่อกันและทำงานอย่างเชื่อมโยง หากสมองมีความคิดทางลบที่เกิดจากประสบการณ์แย่ๆ สมองจะถูกรบกวนให้เกิดมีความคิดและการกระทำที่เป็นปัญหา เช่น การติดยาเสพติด หรือ อารมณ์แปรปรวนที่ผิดปกติ เกิดจากความเครียด
การใช้จิตวิทยาเชิงบวกในการบำบัด Post-Traumatic Stress Disorder (PTSD) นั้น ช่วยให้สมองได้รับการกระตุ้น มุ่งเน้นเป้าหมายในการใช้ชีวิตอย่างมีความสุขแทนการคิดลบ ด้วยการใช้หลักการปรับเปลี่ยนความคิดหรือพฤติกรรมที่ส่งเสริมให้ไปถึงจุดหมายความสำเร็จ มีความหวังในสิ่งที่ทำ มีความสุขในการใช้ชีวิต และเห็นคุณค่าในตัวเอง ให้กำลังใจตัวเองอยู่เสมอมีการวัดระดับความสุขโดยการใช้สเกลในรูปแบบต่างๆรวมทั้งวัดระดับสุขภาพจิตที่เพื่อได้รับการแก้ไขหากผิดปกติ
จากงานวิจัยพบว่าประสิทธิภาพของจิตวิทยาเชิงบวกนั้นจะส่งผลดีและเป็นการป้องกันการเกิดปัญหาด้านสุขภาพจิตต่างๆ เช่น โรคซึมเศร้า หรือโรคเครียดได้ดียิ่งขึ้นหากมีการตรวจเช็คประเมิน หรือมีการทำแบบทดสอบความเครียด วิตกกังวล หรือภาวะซึมเศร้าตั้งแต่เนิ่นๆ
หัวใจหลักของ จิตวิทยาเชิงบวก (Positive psychology) คือนำมนุษย์ไปสู่ประสบการณ์ด้านดีในการใช้ชีวิตอยู่บนโลก Positive psychology
แบ่งเป็น3 ระดับคือ 1 ระดับข้างในจิตใจของตัวเอง คือ ความคิด ความรู้สึก มุมมองที่เป็นบวก ส่งผลต่อการดำเนินชีวิต 2 ระดับตัวตนของตัวเอง คือ การดำเนินชีวิตอยู่แบบมีกำลังใจ มีความหวัง มีการให้อภัย มีความรัก และ มองเห็นคุณค่าในสิ่งที่ทำ และ 3 ระดับสังคมที่เราอยู่ และการมีปฎิสัมพันธ์กัน มีความรับผิดชอบ ห่วงใยกัน
จิตวิทยาเชิงบวกช่วยให้เราค้นพบศักยภาพในการพัฒนาตัวเองและยังทำให้เราสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความหมาย มีพลัง ความหวังและกำลังใจ ด้วยกุญแจสำคัญดังนี้ มองหาบุคลิคกาพที่โดดเด่นของตนเอง จุดแข็งจุดอ่อน ยอมรับด้านดีและด้านลบในตัวเอง มองบวก ฝึกจิตใจให้เข้มแข็ง มีการฟื้นคืนสภาวะทางจิตใจได้ดี และมีความพยายามมานะบากบั่นในการฝ่าฟันกับอุปสรรค มีการใช้ชีวิตอย่างมีความหมาย และการเจริญเติบโตก้าวหน้าของชีวิต
อย่างไรก็ตามการรักษา Post-Traumatic Stress Disorder (PTSD) นั้น นักจิตวิทยายังได้มีการใช้เทคนิคอื่นๆอีกหลายเทคนิคเข้าร่วมในการบำบัดจิตใจให้ผู้มารับบริการอีกด้วย และ
5 เทคนิคนี้ถือเป็นเทคนิคที่มีการพิสูจน์มาแล้วจากทั่วโลกว่าได้ผลเป็นอย่างยิ่งมีประสิทธิภาพต่อการรักษา Post-Traumatic Stress Disorder (PTSD) ในระดับสากล ที่ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยา หรือ นักจิตวิทยาผู้เชี่ยวชาญใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพของการรักษา
วิธีการบำบัด Post-Traumatic Stress Disorder (PTSD) 5 แบบที่ผู้เชี่ยวชาญ หรือ นักจิตวิทยานิยมใช้
การบำบัดรักษา Post-Traumatic Stress Disorder (PTSD) ของนักจิตวิทยาโดยไม่ใช่ยาที่กล่าวมาข้างต้นนั้น ถือว่าเป็นเทคนิคที่ปลอดภัยต่อผู้มารับบริการ และมีประสิทธิภาพในการรักษาเป็นที่ยอมรับในระดับสากล อย่างไรก็ตามโรคเครียดจากเหตุการณ์สะเทือนใจ หรือ บาดแผลทางใจนั้นแตกต่างกันในแต่ละคน และระดับความรุนแรงก็ไม่เท่ากัน
ดังนั้น ควรปรึกษานักจิตวิทยาผู้เชี่ยวชาญถึงเทคนิคและวิธีการที่เหมาะสมกับตัวเอง
ถึงแม้ว่าเทคนิคด้านจิตวิทยาทั้งหมดที่กล่าวมาจะมีประสิทธิภาพและเป็นที่ยอมรับทั่วโลกแต่ก็ยังมีเทคนิคทางจิตวิทยาอีกเป็นพันเทคนิคที่ยังไม่ได้กล่าวถึงและอาจจะเหมาะสมกับการบำบัดของเราก็ได้
อ้างอิง:
1. บทความวิชาการที่ตีพืมพ์%20ครั้งที่%203.pdfโรคเครียดภายหลังเผชิญเหตุการณ์สะเทือนขวัญกับจิตวิทยาเชิงบวก
2. Post-Traumatic Stress Disorder and Positive Psychology
3 www.socialworkdegreeguide.com/lists/5-non-medicinal-treatments-for-ptsd/
4. https://www.verywellmind.com/what-is-positive-psychology-2794902
5. https://positivepsychology.com/post-traumatic-growth-worksheets/
6. https://positivepsychology.com/positive-psychology-and-mental-health/