จิตบำบัดแบบ EMDR มีประโยชน์อย่างไรต่อการรักษาโรคทางจิตเวช?

4 จำนวนผู้เข้าชม  | 

จิตบำบัดแบบ EMDR มีประโยชน์อย่างไรต่อการรักษาโรคทางจิตเวช?

จิตบำบัดแบบ EMDR มีประโยชน์อย่างไรต่อการรักษาโรคทางจิตเวช?

ดร.มฤษฎ์ แก้วจินดา (Ph.D.)
นักจิตวิทยาการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
EMDR Psychotherapy Supervisor and Brainspotting Psychotherapy Practictioner

Eye Movement Desensitization and Reprocessing (EMDR) เป็นวิธีการจิตบำบัดที่ช่วยลดผลกระทบทางลบจากความทรงจำที่กระทบกระเทือนจิตใจ โดยการกระตุ้นการทำงานของสมองทั้งสองซีกสลับกัน ในขณะที่สมองกำลังทำงานกับความทรงจำด้านลบต่างๆ ทำให้สมองสามารถประมวลผลและจัดการกับความทรงจำเหล่านั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น 

 



ประโยชน์ของการบำบัดแบบ EMDR ในการรักษาทางจิตเวช:

  • ลดผลกระทบจากความทรงจำที่เป็นบาดแผลทางใจ:

EMDR ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถจัดการกับความทรงจำที่เจ็บปวดได้ดีขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องเล่ารายละเอียดของเหตุการณ์ซ้ำๆ ทั้งหมด ทว่าจะมีการสอบถามเพื่อติดตามกระบวนการภายในที่เกิดขึ้นภายในผู้ป่วย และดูทิศทางของการบำบัดให้เกิดความต่อเนื่อง 
     

  • ลดอาการทางจิตต่างๆ :
EMDR ช่วยลดอาการทางจิตที่เกิดขึ้นในรูปแบบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาวะทางอารมณ์ และทางร่างกาย ได้แก่ ความเครียด ความวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า หรืออาการเจ็บปวดทางกาย 
  • ปรับปรุงการทำงานของสมอง:
EMDR ทำให้สมองประมวลผลข้อมูลและจัดการกับความทรงจำด้านลบ ช่วยให้สมองทำงานได้มีประสิทธิภาพดีขึ้น 

  • เพิ่มความสามารถในการจัดการกับสถานการณ์ต่างๆ 
EMDR ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถปรับตัวและรับมือกับสถานการณ์ที่กระตุ้นความทรงจำด้านลบได้ดีขึ้น 

  • เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาหลากหลาย:

EMDR สามารถนำมาใช้รักษาผู้ป่วยที่มีความผิดปกติทางอารมณ์ โรคเครียดหลังเหตุการณ์สะเทือนขวัญ และปัญหาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับความทรงจำด้านลบ 

 



EMDR ทำงานอย่างไร:

1. การประเมินและวางแผน:

นักจิตบำบัดแบบ EMDR จะประเมินผู้ป่วยและวางแผนการรักษาโดยการสอบถามประวัติผู้ป่วย

2. การสร้างความมั่นคงปลอดภัยทางใจ:

ผู้ป่วยจะได้รับการฝึกเทคนิคสร้างความมั่นคงทางอารมณ์ และจัดการกับความรู้สึกด้านลบ เพื่อช่วยลดภาวะและอาการทางจิตที่รบกวนการใช้ชีวิต

3. การจัดการกับความทรงจำที่เป็นบาดแผล:

ผู้ป่วยจะนึกถึงความทรงจำที่เจ็บปวด ควบคู่ไปกับการกระตุ้นสมองทั้งสองซีกสลับกัน

4. การปรับเปลี่ยนความคิดและอารมณ์:

ในระหว่างการกระตุ้น ผู้ป่วยจะเกิดประสบการณ์ภายในซึ่งอาจมีภาพ เสียง หรือความรู้สึกทางร่างกายผุดขึ้นมา ประสบการณ์เหล่านี้จะรบกวนผู้ป่วยอย่างมากในเบื้องต้นแต่จะค่อยๆ ลดลงไปตามกระบวนการภายใน สมองจะเกิดการเรียนรู้และทำความเข้าใจต่อเหตุการณ์เหล่านั้น และช่วยลดผลกระทบด้านลบลงไปเรื่อยๆ  

 


 
How EMDR benefits for mental illnesses?

EMDR (Eye Movement Desensitization and Reprocessing) therapy offers significant benefits for various mental health conditions by helping individuals reprocess traumatic memories and reduce their emotional impact. It can be particularly effective for PTSD, anxiety, depression, and other conditions where past experiences negatively affect current mental health. By targeting negative thoughts, beliefs, and emotional reactions associated with traumatic events, EMDR can lead to improved self-esteem, reduced emotional reactivity, and a greater sense of well-being. 

How EMDR Works:

EMDR therapy involves a structured approach that helps individuals reprocess traumatic memories by focusing on the memory while engaging in bilateral stimulation, such as eye movements. This process is believed to facilitate the brain's natural healing mechanisms, allowing individuals to integrate traumatic experiences in a healthier way. Instead of reliving the trauma, the goal is to reduce the emotional intensity and negative impact of the memory. 

 

Benefits of EMDR Therapy:

  • Reduces PTSD Symptoms:
EMDR is widely recognized for its effectiveness in treating PTSD, including symptoms like flashbacks, nightmares, and hyper vigilance. 

 

  • Alleviates Anxiety and Depression:
By addressing the root causes of anxiety and depression, often linked to past trauma, EMDR can lead to significant symptom relief and improved mood. 

  • Improves Self-Esteem:

EMDR helps individuals challenge negative beliefs about themselves that may have developed due to traumatic experiences, leading to a stronger sense of self-worth. 


  • Reduces Emotional Reactivity:

Through reprocessing traumatic memories, EMDR can help individuals become less reactive to triggers and situations that previously caused distress.  

    

  • Facilitates Cognitive Restructuring:

EMDR therapy can help individuals reframe negative thoughts and beliefs associated with past events, leading to a more adaptive perspective on themselves and their experiences. 


  • Offers a Non-Invasive Treatment Option:

EMDR therapy does not involve medication, making it a suitable option for individuals who prefer non-pharmacological treatments or are unable to take certain medications. 


  • Can Yield Fast Results:

While individual responses vary, many people experience positive changes within a few sessions, particularly in cases of single-incident trauma, according to the EMDR Institute. 


  • Helps Process Grief and Loss:

EMDR can be beneficial for individuals struggling with grief and loss, allowing them to process the associated emotions and memories in a healthy way. 


  • Effective for Various Mental Health Conditions:
EMDR has shown promise in treating a range of mental health conditions beyond PTSD, including anxiety disorders, depression, panic disorders, and even some eating disorders. 

  • Can Be Used in Various Settings:
EMDR can be delivered in individual or group settings, in person or online, making it accessible to a wider range of individuals. 

In summary, EMDR therapy offers a powerful and versatile approach to mental health treatment by helping individuals reprocess traumatic memories, reduce emotional reactivity, challenge negative beliefs, and develop healthier coping mechanisms. 

 

อ้างอิง

https://www.therapyutah.org/mental-illness-symptoms-emdr-therapy-can-help-with/#:~:text=EMDR%20can%20help%20treat%20worry,moves%20them%20to%20the%20past.

https://counselingcentergroup.com/benefits-of-emdr/#:~:text=One%20of%20the%20most%20significant,move%20forward%20with%20your%20life.

 






Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้