โรคโกหกเป็นนิสัย (Pathological Liar) เราควรรับมืออย่างไร? Pathological liar เป็นอย่างไร?

108 จำนวนผู้เข้าชม  | 

โรคโกหกเป็นนิสัย (Pathological Liar) เราควรรับมืออย่างไร?  Pathological liar เป็นอย่างไร?

โรคโกหกเป็นนิสัย (Pathological Liar) …เราควรรับมืออย่างไร?

Pathological liar เป็นอย่างไร?

โรคโกหกเป็นนิสัยเป็นปัญหาทางสุขภาพจิต ซึ่งมักมีพฤติกรรมพูดโกหกบ่อยๆ ประจำ จนติดเป็นนิสัย แม้เรื่องเล็กน้อยที่ไม่มีความจำเป็นที่ต้องโกหก...ก็ยังโกหก

ในขณะที่บางคนมีวัตถุประสงค์ของการโกหก  มักจะโกหกเพื่อให้ได้มาเพื่ออะไรบางอย่าง  หรือเพื่อเลี่ยงการปะทะ หรือเพราะไม่อยากทำให้คนที่รักเสียใจ แต่กับพฤติกรรมโกหกเป็นนิสัยจะเป็นอีกแบบหนึ่ง ซึ่งการโกหกมักทำต่อเนื่องยาวนาน เป็นประจำโดยแม้เรื่องที่ไม่จำเป็นก็ตาม  พฤติกรรมพูดโกหกในลักษณะนี้จะกระทบต่อสัมพันธภาพ ทำให้เสียมิตรภาพ ความสัมพันธ์ และความไว้เนื้อเชื่อใจ หากเป็นผู้นำก็จะทำให้สูญเสียความเชื่อมั่นต่อสาธารณะชน เนื่องจากการพูดโกหกเจ้าตัวทำบ่อยเป็นจำนวนนับครั้งไม่ถ้วน


สาเหตุของโรคโกหกเป็นนิสัยคืออะไร?

โรคโกหกเป็นนิสัยเกิดจากหลายสาเหตุปัจจัย ที่สร้างให้เกิดการปัญหาด้านสุขภาพจิตนี้  เช่น

  • โกหกเพราะต้องการลดความเครียด วิตกกังวล หรือความเจ็บปวดในการเผชิญหน้ากับสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้นในชีวิต
  • โกหกเพราะต้องการความเห็นใจ เป็นปมบาดแผลทางใจที่เคยถูกทำร้ายในวัยเด็กบางครั้งมักเล่นเป็นบทเหยื่อเพื่อให้ผู้อื่นเห็นใจในทุกสถานการณ์
  • โกหกเนื่องจากสาเหตุของโรคบุคลิกภาพบกพร่อง เช่น โรคต่อต้านสังคม (Anti-social personality disorder)  โรค borderline หรือ narcissistic personality disorder (NPD)  การโกหกจะไม่สนว่าคนอื่นจะรู้สึกอย่างไร หรือมีผลกระทบจากการโกหกนี้อย่างไร สนใจแค่ความรู้สึกตัวเอง เป็นการแสดงออกแบบเห็นแก่ตัว
  • โกหกเพราะต้องการให้อีกฝ่ายเห็นแต่สิ่งที่ตัวเองสร้างให้เป็นเช่นนั้น เพื่อต้องการควบคุมจิตใจผู้อื่น ให้รู้สึกมีอำนาจเหนือคนอื่น เมื่อมีคนเชื่อก็จะสามารถควบคุมชีวิตคนอื่นได้ อย่างเช่น คนที่เป็นโรค  narcissistic personality disorder (NPD) ใช้การโกหกเป็นเครื่องมือเพื่อครอบงำจิตใจและควบคุมผู้อื่น



    รับมืออย่างไรกับพฤติกรรมโกหกเป็นนิสัย

    1.   หลีกให้ห่างไกลถ้าเป็นไปได้  คนโกหกเป็นนิสัยสามารถทำให้เราหมดพลังและยิ่งเพิ่มความเครียดให้กับชีวิตได้ พยายามหลีกหนีให้ห่าง

    ไกลหรือสร้างระยะห่าง

    2.   รวบรวมข้อมูล  ควรหาหลักฐานและเก็บข้อมูลกับการโกหก จดบันทึกเพราะอาจจำเป็นต้องใช้เมื่อถึงเวลาที่อาจมีการเผชิญหน้าพูดความจริงกัน

    3.   เตรียมพร้อมรับมือ  เป็นเรื่องปกติที่คนโกหกมักจะปฎิเสธและไม่ยอมรับ รวมทั้งอาจมีอารมณ์โกรธ ทำให้สถานการณ์วุ่นวายและสร้างบรรยากาศไม่เป็นมิตร แต่เราควรอดทนและไม่ควรปะทะในขณะที่กำลังโกรธ หรือกำลังหงุดหงิดรำคาญ

    4.   เสนอการช่วยเหลือ  สร้างบรรยากาศให้เหมือนว่าเป็นเราเป็นทีมเดียวกัน และให้อีกฝ่ายรู้ว่าเราพร้อมช่วยเหลือสนับสนุนให้เขาหายนิสัยโกหก ปัญหาพฤติกรรมนี้ควรได้รับการแก้ไข

     

 

หากการโกหกเป็นนิสัยเกิดขึ้นกับคนในครอบครัว หรือคู่ชีวิตของเรา ควรมองปัญหาให้ออกว่าเขาโกหกเพราะอะไร สื่อสารให้มีประสิทธิภาพและควรพิจรณาว่าสิ่งไหนบ้างที่สามารถทนและยอมรับได้ อย่างไรก็ตาม การช่วยเหลือหรือแก้ไขปัญหาการโรคโกหกเป็นนิสัยอาจทำได้ด้วยการหาเหตุที่แท้จริงให้เจอ

การใช้ชีวิตร่วมกันพยายามจำกัดการเข้าไปใช้เวลาหรือสนทนาในบางเรื่อง และควรมีระยะห่าง อย่างไรก็ตามสัมพันธภาพกับคนโกหกเป็นนิสัย อาจส่งผลต่อสุขภาพจิตของคนที่อยู่ร่วมด้วย หากคนโกหกไม่ปรับปรุงและยังคงสร้างเรื่องโกหก ทำให้เราเกิดความคิดสับสนไม่หยุดหย่อน พยายามควบคุมความคิดและจิตใจของเรา ก็อาจถึงเวลาที่ต้องวางข้อจำกัดให้ชัดเจน รักษาระยะห่าง และควรหาการช่วยเหลือสนับสนุนจากผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาในด้านความสัมพันธ์และการเยียวยาจิตใจ




รักษาโรคโกหกด้วยจิตบำบัด EMDR

ส่วนใหญ่การรักษาโรคโกหกผู้เชี่ยวชาญจะแนะนำให้ทำจิตบำบัดเพื่อรักษาปมบาดแผลทางใจหรือ Post-traumatic stress disorder (PTSD)

อย่างที่เรารู้พฤติกรรมการโกหกจนเป็นนิสัยหรือ โรคโกหกมักเกี่ยวเนื่องกับปัญหาด้านสุขภาพจิต ภาวะด้านสุขภาพจิตที่มีปัญหามักมีสาเหตมากจาก Post-traumatic stress disorder หรือ PTSD, bipolar (BPD) และอื่นๆ

ในหลายกรณีโรคโกหกเกิดจากการเรียนรู้ด้านพฤติกรรมในสิ่งแวดล้อมที่เติบโตมา จากสิ่งแวดล้อมทางสังคมและครอบครัว หรือเป็นที่ตัวบุคคลเอง เช่น หากได้รับการชื่นชมแบบผิดๆหรือได้รางวัลเมื่อมีพฤติกรรมการโกหกก็จะทำให้สถานการณ์ในการจัดการกับพฤติกรรมนี้ยากและซับซ้อน

อย่างไรก็ตาม จิตบำบัด EMDR หรือ EMDR Therapy เป็นจิตบำบัดที่ได้รับการยอมรับในวงการทางการแพทย์สากลทั่วโลก ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาให้การยอมรับว่าได้ผลที่มีประสิทธิภาพดีและไวต่อต่อการรักษา PTSD หรือปมบาดแผลทางใจ การรักษาจะได้ผลดียิ่งขึ้นหากได้รับการทำจิตบำบัดEMDR ควบคู่กับการทำจิตบำบัดอย่างอื่น เช่น CBT หรือ Cognitive Behavioral Therapy เพื่อช่วยในการปรับพฤติกรรมและความคิด รวมทั้งพัฒนาความคิดและพฤติกรรมให้ดีกว่าเดิม เสริมความสมบรูณ์แข็งแรงด้านจิตใจและเข้าไปแทนที่ความคิด และพฤติกรรมเดิมที่เป็นตัวปัญหา

หากสงสัยว่าตัวเองหรือคนใกล้ชิดมีสัญญาณของโรคโกหกอย่านิ่งนอนใจ ควรพามาหาผู้เชี่ยวชาญเพื่อได้รับการช่วยเหลือ และรับการรักษาให้ถึงต้นตอของสาเหตุและปัญหา เพื่อหยุดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ และกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างมีคุณภาพและมีความสุขอีกครั้ง

 
อ้างอิง
https://www.sandstonecare.com/blog/pathological-liar/#:~:text=Pathological%20lying%20often%20stems%20from,result%20of%20a%20traumatic%20experience.

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้