ทำไมความโดดเดี่ยวถึงทำให้เราเจ็บปวด

4098 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ทำไมความโดดเดี่ยวถึงทำให้เราเจ็บปวด

ทำไมความโดดเดี่ยวถึงทำให้เราเจ็บปวด

 


ดร.มฤษฎ์ แก้วจินดา (Ph.D)

นักจิตวิทยาการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ และ

นักจิตบำบัด Brainspotting & EMDR Psychotherapy


มนุษย์เป็นสัตว์สังคมเราโหยหาความรักและการมีสังคมร่วมกับผู้อื่นอยู่ตลอดเวลา อย่างไรก็ตามการที่เรารู้สึกโดดเดี่ยวมักเป็นผลมาจากการที่เราขาดการเชื่อมต่อกับบุคคลอื่น ขาดความรัก ไม่ได้รับความรัก หรือขาดการมีสัมพันธภาพกับผู้อื่นนั่นเอง

ความเหงาหลายครั้งทำให้คนเเราเกิดความเจ็บปวด บางครั้งความโดดเดี่ยวนี้หากเกิดขึ้นต่อเนื่องยาวนานเป็นปีๆจะส่งผลเสียต่อด้านจิตใจ และถ้าไม่ได้รับการแก้ไขอาจทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าหรือความเจ็บป่วยด้านอื่นๆตามมา


ความเหงาเป็นภัยร้ายที่มีผลทางด้านจิตใจและอาจคร่าชีวิตคนเราได้ 

ในเชิงวิทยาศาสตร์เชื่อว่าการเชื่อมโยงกับผู้อื่นส่งผลต่อการรับรู้ของสมองหรือทำให้สารoxytocin hormone ฮอร์โมนความสุข และความรักทำให้อารมณ์ของเราเบิกบาน

นอกจากนั้นแล้วการเป็นที่ยอมรับในกลุ่ม ในวงสังคมก็ส่งผลต่อความสุขเช่นกันการได้รับการยอมรับ หรือได้รับความร่วมมือจากผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนร่วมงานหัวหน้า ลูกน้องก็เช่นกัน เป็นความสุขจากภายในจิตใจทำให้รู้สึกมั่นใจ รู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า เหตุผลต่างๆเหล่านี้ทำให้คนเรามีความสุขในการใช้ชีวิต

แต่ในทางกลับกันหากเราไม่ได้รับการยอมรับ หรือ ถูกปฎิเสธอยู่ตลอดเวลา ไม่ได้รับการสนับสนุนจากผู้อื่น หรือถูกปฎิเสธจากคนใกล้ชิดหรือคนในครอบครัว เราจะเริ่มมีความรู้สึกว่าไม่มั่นใจในตัวเอง ไม่แน่ใจว่าเรามีคุณค่ากับผู้อื่นหรือไม่ ทำให้เกิดself-esteem และ ความมั่นใจของเราลดลง และอาจนำไปสู่การแยกตัวออกจากสังคม ไม่อยากเข้าหาสังคมซึ่งอาจนำไปสู่สถานการณ์ทำให้เกิดความโดดเดี่ยวหรือความเหงาตามมาและอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพกายแและใจที่เลวร้ายอีกด้วย

ดังนั้นผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้หาวิธีทำให้ตัวเองไม่ตกอยู่ในภาวะโดดเดี่ยวและหง่อยเหงาดังนี้






5 วิธีในการเชื่อมต่อกับสังคมเพื่อป้องกันความเหงาและโดดเดี่ยว 

1. ติดต่อกับครอบครัวและเพื่อนๆ ไม่ว่าจะด้วยการคุยผ่านวิดีโอคอล เห็นหน้ากันทางออนไลน์ หรือส่งข้อความหากันก็ถือว่าสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการเชื่อมโยงด้านสังคมกับผู้อื่น

2. ออกจากบ้านบ้างถึงแม้จะไม่มีรถส่วนตัว อย่ามัวแต่เก็บตัวอยู่แต่ในบ้าน หาเวลาออกไปข้างนอกบ้านบ้าน หากไม่มีรถก็สามารถใช้บริการรถสาธารณะที่พอจ่ายได้  โดยเฉพาะผู้สูงอายุควรได้รับการพาออกจากบ้านไปทำกิจกรรมนอกบ้านบ้าง

3. หาสมาคมเพื่อเข้าร่วม อาจจะเป็นชมรมดนตรีแจ๊ซ สะสมแสตมป์ หรือกิจกรรมที่ทำให้เราสนุกสนานเพลิดเพลิน ได้สร้างเพื่อนใหม่ๆในการพูดคุยแลกเปลี่ยนทัศนคติและได้โฟกัสไปที่กิจกรรมมากกว่านึกถึงแต่เรื่องตัวเอง


4. หาสัตว์เลี้ยงมาเลี้ยงเป็นเพื่อน ที่เชื่อว่าการมีสัตว์เลี้ยงเป็นเพื่อนที่ดีที่สุด และช่วยทำให้เราเบิกบานทั้งทางร่างกายและจิตใจ

5. ช่วยเหลือสังคมเป็นอาสาสมัครที่ช่วยเหลือผู้อื่นนอกจากจะมีสังคมใหม่ๆมีเพื่อนมากขึ้นกิจกรรมที่ทำยังสามารถสร้างประโยชน์ให้เกิดกับผู้อื่นทำให้เรามีคุณค่าในการใช้ชีวิตอยู่ด้วย

การแนะนำเบื้องต้นนี้สามารถนำไปปฎิบัติได้เองง่ายๆ มองบวกเปลี่ยนวิถีความคิดและพฤติกรรม จะช่วยให้เราใช้ชีวิตอย่างมีความสุขได้ และหากมีความทุกข์ใจ หรือไม่สบายใจควรไปพบนักจิตวิทยาเพื่อทำให้ชีวิตดีขึ้น ไม่ควรทนหรือปล่อยไว้โดยไม่ได้รับการแก้ไข

 

นอกจากนี้นักจิตวิทยาผูัูเชี่ยวชาญจาก Harvard University ยังได้ให้คำแนะนำถึงวิธีการในการต่อสู้กับความโดดเดี่ยวในเบื้องต้นด้วยตนเองเพิ่มเติมดังนี้ 

6 วิธีในการต่อสู้กับความเหงาและโดดเดี่ยว

เรื่องความเหงาและโดดเดี่ยว เป็นคนละเรื่องกับการรักสันโดษ การมีชีวิตที่สันโดษคือผู้ที่ชื่นชมกับการมีชีวิตที่เป็นอิสระ ปราศจากการรบกวนจากผู้อื่นเป็นความพอใจของแต่ละบุคคลในการมีความสุขกับการอยู่กับตัวเอง


ต่างจากความเหงา และความโดดเดี่ยวเป็นอารมณ์ที่เกิดในมนุษย์ เป็นการขาดการเชื่อมต่อกับผู้อื่น และเป็นเรื่องของคุณภาพในความสัมพันธ์กับผู้คนรอบข้าง จากการศึกษาพบว่าคนที่รู้สึกเหงาและโดดเดี่ยวเป็นเวลานานๆอาจเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันสูง ร่างกายอ่อนแอ ติดเชื้อง่าย และอาจพัฒนาต่อไปเป็นโรคสมองเสื่อม ปัญหาด้านความทรงจำ หรือ อัลไซเมอร์ได้

จากการศึกษาของHarvard และ UC San Francisco ได้ค้นพบว่า ความเสี่ยงจากการเป็นโรคหัวใจนั้นเพิ่มขึ้นในปี 2012ถึง 24 % และเสียชีวิตก่อนวัยอันสมควรมีต้นเหตุมาจากความโดดเดี่ยว และ ความเหงา

 

ดังนั้น 6 วิธีต่อไปนี้อาจช่วยให้เราสามารถจัดการกับความโดดเดี่ยว และสามารถที่จะเชื่อมต่อกับผู้อื่นได้ อย่างไรก็ตามวิธีเบื้องต้นนี้อาจช่วยได้ในบางคน แต่หากมีอาการความเหงาขั้นรุนแรง ควรไปพบนักจิตวิทยาเพื่อได้รับการแก้ไขให้กลับมาใช้ชีวิตอย่างมีความสุข

 

6 วิธีในการต่อสู้กับความเหงาและโดดเดี่ยวมีดังนี้

1.  เขียนระบายลงกระดาษ

การเขียนระบายความรู้สึกที่มีในกระดาษ เขียนสิ่งที่ขาดหาย สิ่งที่อยากให้เติมเต็ม หรือ สิ่งที่จะช่วยให้เราดีขึ้นได้ อาจเขียนเป็นบันทึกส่วนตัวเป็นการช่วยให้เราสามารถสร้างความแข็งแรงให้จิตใจ แก้ไขความเครียดและความกดดัน เป็นการใช้สมองด้านซ้าย ที่พัฒนาเรื่องความคิดสร้างสรรค์ และ ความเป็นเหตุเป็นผล เป็นการจัดการกับความไม่สบายใจที่ปิดกั้นสมองด้านนี้อยู่

2.  ค้นหาภารกิจ

อย่าหยุดการค้นหาโปรแจ็คใหม่ทำอยู่เรื่อยๆ หากโปรเจ็คเดิมเสร็จสิ้นลงแล้วให้มองหาโอกาสทำสิ่งใหม่ ภารกิจใหม่เพื่อให้เราได้รู้สึกดีกับตัวเอง และ ใช้ความคิดสร้างสรรคอยู่เสมอ

3.  ออกห่างจากSocial Mediaบ้าง

ผลการวิจัยของมหาวิทยาลัย Copenhagen พบว่า การใช้โซเชี่ยวมีเดียมักส่งผลต่ออารมณ์ด้านลบโดยเฉพาะในผู้หญิง การใช้โซเชี่ยวมีเดียยังส่งผลร้ายแรงต่อผู้มีภาวะซึมเศร้า หรือมีความคิดอยากฆ่าตัวตาย ภาพกิจกรรมที่มีความสุขอาจทำให้เขาแย่ลงเนื่องจากเกิดการเปรียบเทียบกับตัวเอง

4.    เช้าหาธรรมชาติ

กลับสู่ชีวิตที่เรียบง่ายและเป็นธรรมชาติ ไปเดิน หรือปั่นจักรยานในสวนท่ามกลางธรรมชาติ ออกไปดูผู้คนที่กำลังออกกำลังกายที่สวนสาธารณะ เพื่อเพิ่มโอกาสในการพบเจอผู้คน หรือไปดูเด็กๆเล่นในสนามเด็กเล่น เป็นวิธีที่ง่ายที่สุดในการเริ่มเข้าหาสังคม

5.    ฝึกอยู่กับความเงียบ

ฝึกตัวเองให้มีความสงบ มีสมาธิ มีความนิ่งในจิตใจ ห่างไกลจิตใจที่สับสนและวุ่นวาย ชื่นชนกับความสงบ

6.    ฝึกมุมมองบวกและซาบซึ้งกับทุกสิ่งรอบตัว

ให้ใช้ชีวิตเสมือนว่าวันนี้เป็นวันสุดท้ายของการใช้ชีวิตบนโลกนี้ ให้ชื่นชมกับทุกสิ่งที่มี และลงมือทำในสิ่งที่อยากทำเพื่อเปลี่ยนให้สังคมดีขึ้น

 

การอยู่คนเดียวบางครั้งให้ข้อคิดกับเรามากมาย การที่ลูกหลานหรือ คนรอบข้างเติบโต และห่างไกลกันนั้นเป็นการปรับสมดุลเพื่อจะได้มีวันกลับมารวมตัวกัน และพบเจอกันอีกครั้ง

ให้เรามองในมุมบวกและเก็บเกี่ยวข้อคิดจากการแยกห่างกัน การใช้ชีวิตอยู่ในเมืองใหญ่ หรือย้ายถิ่นฐานบางครั้งเราเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องพบเจอกับความโดดเดี่ยวหรือทำให้เราต้องสร้างสังคมใหม่หรือคบหาเพื่อนใหม่ อย่างไรก็ตาม พยายามเปิดโอกาสให้ตัวเองได้พบปะผู้คนหรือ นำตัวเองเข้าสู่การเชื่อมโยงกับสังคมใหม่ๆและผู้อื่นบ้าง

หากพบว่าการเริ่มต้นเป็นไปได้ยากมาก และไม่รู้จะเริ่มได้ยังไง ควรปรึกษาคนที่มีประสบการณ์ชีวิต คนที่เราไว้ใจ หรือผู้เชี่ยวชาญ นักจิตวิทยา หากเป็นที่ทำงานและมีโปรแกรม EAP ( Employee Assistance Program) ไว้รองรับก็ควรใช้บริการ หรือหากกังวลไนเรื่องข้อมูลส่วนตัวกับที่ทำงานก็สามารถใช้บริการจากหน่วยงานภายนอกหรือนัดหมายพูดคุยกับนักจิตวิทยาจากเอกชนเพื่อรับความช่วยเหลือหรือคำแนะนำที่ถูกทางเพื่อให้ชีวิตกลับมามีความสุขดังเดิม

 
อ้างอิง:

https://globalnews.ca/news/3342454/6-things-you-can-do-to-fight-loneliness-and-1-thing-you-shouldnt-do/

https://www.womansday.com/health-fitness/a25783805/dealing-with-loneliness/

https://www.health.harvard.edu/

https://www.bettermindthailand.com/

https://www.facebook.com/BettermindThailand

 

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้