จิตบำบัดแบบ EMDR กับการเยี่ยวยารักษา Attachment Disorder

833 จำนวนผู้เข้าชม  | 

จิตบำบัดแบบ EMDR กับการเยี่ยวยารักษา Attachment Disorder



จิตบำบัดแบบ EMDR กับการเยี่ยวยารักษา Attachment Disorder




ดร.มฤษฎ์ แก้วจินดา (Ph.D.)
Dr. Marid Kaewchinda 
นักจิตวิทยาการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
นักจิตบำบัด EMDR Psychotherapy/ Brainspotting Psychotherapy Practitioner
 


Eye Movement Desensitization and Reprocessing  Therapy (EMDR Therapy)  เป็นเทคนิคจิตบำบัดที่ได้รับการยอมรับในการแพทย์ เนื่องจากเทคนิคการกระตุ้นสมองสองข้างส่งผลต่อการรักษาที่มีประสิทธิภาพทางด้านปมค้างใจหรือบาดแผลทางใจ (Trauma)

จิตบำบัดแบบ EMDR ได้รับการยอมรับในประสิทธิภาพที่ช่วยเยียวยารักษาโรคและภาวะทางจิตใจต่างๆ ด้วย ได้แก่ ภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล borderline bipolar และฟื้นฟูจากความเจ็บป่วยด้านจิตใจอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรักษาบาดแผลทางใจที่เกิดจากความผิดปกติในความผูกพัน (Attachment disorder) จากประสบการณ์ช่วงต้นของชีวิต

 

Attachment Disorder คืออะไร?

Attachment disorder เกี่ยวข้องกับทฤษฎีความผูกพัน 

ความผูกพันของคนเรามักพัฒนามาตั้งแต่วัยเด็ก หรือปฐมวัย และเด็กเล็กช่วงวัยนี้มีโอกาสตกเป็นเหยื่อหรือผู้ถูกกระทำได้ง่าย เพราะไม่สามารถปกป้องตัวเองได้ และมักจะเกิดปมบาดแผลทางใจหากไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่ที่ดีพอ เช่น ถูกปล่อยปละละเลย ไม่ใส่ใจ ถูกทอดทิ้ง ถูกทำร้ายทารุณ ถูกล่วงละเมิดทางเพศ กระทำชำเรา

ผลพวงจากเหตุการณ์ในวัยเด็กเหล่านี้มักส่งผลให้เกิดภาวะซึมเศร้า มีปัญหาด้านพัฒนาความสัมพันธ์กับผู้อื่น และส่งผลต่อปัญหาสัมพันธภาพในที่ทำงาน และกระทบต่อหน้าที่การทำงานในเวลาต่อมา



ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นกับบางรายอาจส่งผลให้แย่ไปมากจนโรคบุคลิกภาพแปรปรวน (Dissociative disorder)  เป็นปัญหาด้านสุขภาพจิตที่เกิดจากประสบการณ์ที่เลวร้าย ไม่รู้สึกถึงความปลอดภัยและสมองต้องการตัดขาดการเชื่อมต่อกับโลกความเป็นจริงเพื่อหลีกเลี่ยงความเครียดและความเจ็บปวด

บางรายพัฒนาไปเป็นโรคการตัดขาดกับตัวเอง ไม่รับรู้ตัวเองในปัจจุบันขณะ ทำให้เกิดเป็นโรคหลายบุคลิกภาพ การรักษาต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาในการช่วยเหลือให้การทำจิตบำบัด หรือใช้การบำบัดด้วยการพูดคุยปรึกษา (Counseling)

 

EMDR Therapy สามารถรักษา Attachment disorder ได้อย่างไร?

จากงานวิจัยพบว่า คนที่ทุกข์ทรมานจากปัญหา Attachment disorder แล้วตอบสนองต่อการรักษาได้ช้าลง เป็นเพราะระบบประสาทได้รับผลกระทบจาก Amygdala โต  

Amygdala เป็นสมองส่วนลึกที่ทำหน้าที่ในการควบคุมอารมณ์ความรู้สึกความกลัวต่ออันตราย การที่ Amygdala โตซึ่งผิดปกติอาจมีสาเหตุมาจากประสบการณ์ด้านลบในช่วงวัยทารกและวัยเด็กซึ่งพัฒนาสืบเนื่องมาสู่วัยผู้ใหญ่

ขนาดของ amygdala ส่งผลต่อการตอบสนองด้านการรักษาทางอารมณ์ ความเครียดและความกลัวส่งผลต่อการทำงานของระบบสมอง ผลของประสบการณ์อันเลวร้ายที่สร้างให้เกิดบาดแผลทางใจ (Trauma) โดยเฉพาะการเกิดบาดแผลทางใจเฉียบพลัน (Acute trauma) และ บาดแผลทางใจเรื้อรัง (Chronic relational trauma)

 

จิตบำบัดแบบ EMDR จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญในการดำเนินกระบวนการกระตุ้นการทำงานของสมองและประสาทสัมพผัสโดยผ่านการสัมผัส หรือการกระตุ้นผ่านการเคลื่อนไหวสายตา เพื่อช่วยจัดการปมค้างใจ ประสบการณ์ด้านลบ และเสริมศักยภาพด้านบวกให้ได้กลับมามีเป้าหมายและทำเป้าหมายนั้นให้สำเร็จ

การรักษาปัญหาด้านความผูกพันผิดปกติด้วย EMDR therapy  ผู้เชี่ยวชาญด้าน EMDR ประยุกต์การบำบัดด้วยเทคนิคที่เรียกว่า Attachment-Focus EMDR เพื่อช่วยบำบัดในเรื่องของการพัฒนาด้านความสัมพันธ์ของสมองที่เกี่ยวข้องกับการถูกกระทำ ถูกละเลยทอดทิ้ง เพื่อช่วยเยียวยาบาดแผลจากความผูกพันที่ผิดปกติ และจัดการกับความรู้สึกไม่มั่นคงในจิตใจ การเลี้ยงดูและสัมพันธภาพกับพ่อแม่ หรือการถูกหักหลังจากพ่อแม่ หรือปัญหาการเลี้ยงดูที่เกิดจากพ่อแม่ที่ติดยา ติดเหล้าหรือมีปัญหาด้านอารมณ์บกพร่อง ส่งผลทำให้เกิดการพัฒนาในแต่ละช่วงวัยที่มีปัญหาจนสู่วัยผู้ใหญ่

จิตบำบัดแบบ EMDR ที่โฟกัส Attachment จะช่วยเรื่องความผูกพันที่ผิดปกติไม่มั่นคงปลอดภัยในวัยเด็กและยังช่วยให้ผู้เข้ารับบำบัดเห็นภาพและทำให้เข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตมากยิ่งขึ้น

การรักษาด้วยจิตบำบัดแบบ EMDR Attachment focus จะช่วยให้เกิดความสงบภายในจิตใจและรู้สึกมีพื้นที่ปลอดภัยในการหลบภัยอันตรายด้วยการสร้างจิตนาการด้านบวกที่สร้างสรรค์ให้กับสมองและความทรงจำใหม่

 

อ้างอิง

https://www.google.co.th/books/edition/Attachment_Focused_EMDR_Healing_Relation/Pc3IZSD2OBIC?hl=en&gbpv=1&pg=PA3&printsec=frontcover

https://www.traumaandbeyondcenter.com/blog/learn-about-attachment-focused-emdr/

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้