Mental illness หรือ Mental Disorder คืออะไร

2259 จำนวนผู้เข้าชม  | 

Mental illness หรือ Mental Disorder คืออะไร


Mental illness หรือ Mental Disorder คืออะไร?

ดร.มฤษฎ์ แก้วจินดา (Ph.D)
Dr. Marid Kaewchinda 
นักจิตวิทยาการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
นักจิตบำบัด EMDR Psychotherapy/ Brainspotting Psychotherapy Practitioner

 

Mental illness หรือ Mental Disorder เป็นภาวะป่วยทางจิตใจ ที่มักส่งผละกระทบต่ออารมณ์ ความรู้สึก ความคิด การรับรู้ และพฤติกรรม  

ภาวะป่วยทางจิตใจมักส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์การทำงาน คุณภาพความสัมพันธ์ส่วนตัวกับคนรอบข้างและคนที่อยู่ด้วย การทำจิตบำบัดหรือการได้พูดคุยปรึกษานักจิตวิทยาผู้เชี่ยวชาญสามารถช่วยหาทางบรรเทาอาการต่างๆ ลงได้  



ความเจ็บป่วยทางจิตใจมีหลากหลายลักษณะตัวอย่าง เช่น

 

  • Anxiety disorder ภาวะวิตกกังวลเกินปกติ
  • Bipolar disorder ภาวะอารมณ์สองขั้ว
  • Depression ภาวะซึมเศร้า
  • Dissociative disorders โรคหลายบุคลิกภาพ หรือโรคแบ่งแยกตัวเอง
  • Eating disorders หรือ พฤติกรรมการกินที่ผิดปกติ
  • Addictive Personality พฤติกรรมติดสิ่งเสพติด
  • Paranoia โรคหวาดระแวง
  • Obsessive compulsive disorder โรคย้ำคิดย้ำทำ
  • Psychosis  โรคทางจิตเวช (เช่น Schizophrenia ซึ่งจะมีอาการต่างๆ เช่น หูแว่ว เห็นภาพหลอน เป็นต้น ถือเป็นอาการทางจิตที่ซับซ้อน ลักษณะอาการจะถูกรบกวนด้านความคิด อารมณ์แปรปรวน และการรับรู้มักถูกบิดเบือนผิดไปจากความเป็นจริง มีอาการได้ยินเสียงกระซิบ เห็นภาพหลอน ความคิดไม่ปกติ ออกห่างสังคม ขาดแรงบันดาลใจ ความสามารถด้านความคิดและการจดจำด้อยประสิทธิภาพลง)
  • Behavioral and emotional disorders in children

 

 


 

พฤติกรรมและอารมณ์ที่ไม่ปกติในเด็ก ที่พบมากมีอะไรบ้าง?

พฤติกรรมและอารมณ์ของเด็กที่มีสุขภาพจิตไม่ดีมันมีดังนี้

  • Attention deficit hyperactivity disorder (ADHD)  โรคสมาธิสั้น
  • Oppositional defiant disorder (ODD) โรคดื้อต่อต้าน
  • Autism spectrum disorder (ASD)  โรคออทิสติก
  • Anxiety disorder  โรควิตกกังวล
  • Depression  โรคซึมเศร้า
  • Bipolar disorder  ภาวะอารมณ์สองขั้ว
  • Learning disabilities  ภาวะการเรียนรู้บกพร่องต่างๆ
  • Conduct disorders  ภาวะพฤติกรรมเกเรก้าวร้าว

 


 
ภาวะพฤติกรรมเกเรก้าวร้าว และ โรคดื้อต่อต้านในเด็กจัดว่าเป็นอาการป่วยทางจิตหรือไม่?

ภาวะความเจ็บป่วยด้านจิตใจในเด็กมักส่งผลต่อพฤติกรรมและอารมณ์ที่ไม่ปกติ

ภาวะพฤติกรรมเกเรก้าวร้าว (Conduct disorder) เป็นปัญหาสุขภาพจิตที่มักมีพฤติกรรมต่อต้านสังคมที่มีลักษณะเช่น ไม่เคารพกฎกติกา มารยาททางสังคม แหกกฎระเบียบ มีพฤติกรรมรุนแรง และไม่เป็นมิตร

ซึ่ง Conduct disorder มักส่งผลต่อพฤติกรรมดังนี้ เช่น ชอบใช้ความรุนแรง ใจร้ายต่อคนและสัตว์ กระทำชำเรา ขืนใจผู้อื่น ไม่เคารพสิทธิ์และละเมิดสิทธิของผู้อื่น ทำร้าย หรือ ขโมยของคนอื่นไป ไม่รับผิดชอบต่อหน้าที่ โดดเรียน หนีออกจากบ้าน ทำผิดกฎหมาย โกหก คุกคาม ควบคุม ใช้อาวุธ หรือใช้เครื่องมือในการข่มขู่หรือบังคับผู้อื่น

สาเหตุที่ทำให้เกิดเกเรก้าวร้าวในเด็กมีหลากหลายปัจจัย แต่ที่พบบ่อยคือ เกิดจากปมบาดแผลทางใจประสบการณ์เลวร้าย ถูกทารุณทำร้ายร่างกายจิตใจ ความล้มเหลวด้านการเรียน ปัญหาด้านสังคม หรือผลทางพันธุกรรม หรือบางครั้งเกิดที่การทำงานของของสมองที่มีปัญหาการทำงานของสมองส่วนหน้ามีปัญหาทำให้รบกวนประสิทธิภาพด้านความคิดการวางแผน  หรือ การหลีกหนีภัยอันตราย และมีความคิดเป็นลบ

อย่างไรก็ตามผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าผลจากประสบการณ์อันเลวร้ายและปมบาดแผลทางใจในเด็กสร้างให้เกิดพฤติกรรมดื้อ เกเรต่อต้าน เพราะประสบการณ์แย่เหล่านี้มักส่งผลทำให้เกิดอารมณ์แปรปรวน ไม่ปกติ ส่งผลต่อภาวะซึมเศร้า นำสู่พฤติกรรมที่สร้างปัญหาและ มักเข้าไปเกี่ยวข้องกับกลุ่มเพื่อนที่มีพฤติกรรมที่มีปัญหาเช่นเดียวกัน

ภาวะพฤติกรรมเกเรก้าวร้าว เป็นปัญหาด้านสุขภาพจิตที่ไม่ควรมองข้าม ผู้ปกครองและครูควรสังเกตพฤติกรรมของลูกเพื่อรีบหาทางแก้ไขโดยเร่งด่วนเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาใหญ่ตามมาในอนาคต

 

 



ภาวะดื้อต่อต้าน (Oppositional defiant disorder, ODD) เป็นอย่างไร?

ภาวะดื้อต่อต้าน มักมีพฤติกรรมไม่ให้ความร่วมมือ โกรธโมโหง่าย ระเบิดอารมณ์ง่าย ทำตัวน่ารำคาญ ไม่ให้เกียรติหรือเคารพผู้อื่น ชอบเถียง ปฎิเสธกฎระเบียบทุกข้อ โทษคนอื่นในความผิดของตัวเอง ชอบก่อความรำคาญให้ผู้อื่น นิสัยไม่ดีชอบแก้แค้นเอาคืน พูดจาแย่ที่ส่อถึงพฤติกรรมใจร้ายและเกลียดชัง


คนที่มีพฤติกรรมดื้อต่อต้านมักเกิดจากปัจจัยเสี่ยงต่อไปนี้จากวัยเด็ก เช่น

  • มีประวัติเคยถูกทำร้าย หรือถูกละเลยไม่ได้รับการเอาใจใส่
  • มีผู้ปกครองหรือคนดูแลที่มีอารมณ์ไม่ปกติ หรือมีพฤติกรรมติดยาหรือติดสุรา
  • ชีวิตมักเกี่ยวข้องกับการใช้ความรุนแรง
  • ขาดการอบรมสั่งสอนในเชิงบวก ขาดการสอดส่องดูแลจากผู้ใหญ่
  • ครอบครัวต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เช่น การหย่าร้า โยกย้านที่อยู่ หรือย้ายโรงเรียนบ่อย
  • ครอบครัวประสบปัญหาด้านการเงิน
  • อยู่กับพ่อแม่ที่มีพฤติกรรมดื้อต่อต้าน หรือ เป็นโรคสมาธิสั้น เนื่องจากโรคดื้อต่อต้านมักเกี่ยวข้องกับภาวะสมาธิสั้น เมื่อการพัฒนาของสมองที่มีปัญหาจะส่งผลต่อการถูกรบกวนง่าย ไม่มีการคิดเป็นระบบ โดนกวนสมาธิได้ง่ายและไม่จดจ่อ เบื่อง่ายทำให้ยากต่อการทำภาระกิจให้สำเร็จ

 


 

การป่วยด้านจิตใจส่งผลกระทบกับคนในครอบครัวอย่างไร?

ความเจ็บป่วยด้านจิตใจไม่ได้เพียงแค่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วยเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อสมาชิกทุกคนในครอบครัวอีกด้วย


แน่นอนว่าการทำให้ผู้ป่วยด้านจิตใจหายดีนั้นต้องอาศัยความร่วมมือและการสนับสนุนจากสมาชิกในครอบครัว แต่ต้องไม่ลืมว่าคนที่ไม่ป่วยก็ยังต้องการการสนับสนุนด้านกำลังใจด้วยเช่นกัน ดังนั้นคนในครอบครัวควรตระหนักถึงสภาพแวดล้อมและบรรยากาศที่ส่งเสริมความสุขในครอบครัว

และควรระวังบรรยากาศที่อาจก่อให้เกิดความเจ็บป่วยทางจิตใจของสมาชิกในครอบครัวด้วยเช่นกัน หากพบว่าสภาพแวดล้อมและบรรยากาศในครอบครัวส่งผลต่อความเจ็บป่วยด้านจิตใจของสมาชิกอาจถึงเวลาที่ต้องมองหาความช่วยเหลือด้านจิตใจจากผู้เชี่ยวชาญ การมาปรึกษาหรือทำจิตบำบัดเป็นการช่วยป้องกันปัญหาเรื้อรังบานปลายที่อาจส่งผลต่อความรุนแรงในครอบครัวและป้องกันความเจ็บป่วยด้านร่างกายที่เรื้อรังได้

 


อ้างอิง
https://www.healthline.com/health/parenting/behavioral-disorders-in-children#Early-Childhood-Behavioral-and-Emotional-Disorders

https://www.nationwidechildrens.org/conditions/conduct-disorders#:~:text=What%20are%20Conduct%20Disorders%3F,hostile%20and%20sometimes%20physically%20violent.

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้