950 จำนวนผู้เข้าชม |
สมองอาจหลอกคุณ
10 เหตุผลที่คุณไม่ควรเชื่อสิ่งที่สมองบอก
แบบร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะอะไร?
ดร.มฤษฎ์ แก้วจินดา
Dr. Marid Kaewchinda (Ph.D)
นักจิตวิทยาการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
นักจิตบำบัด EMDR Psychotherapy/ Brainspotting Psychotherapy Practitioner
ความคิดเป็นสิ่งที่เราทุกคนมี การทีสมองมีการประมวลผลเป็นการเชื่อมระบบสื่อสาร และระบบสื่อประสาทในสมองให้ทำหน้าที่ตอบสนองและมีปฎิกิริยารับรู้ ถ่ายทอด ตีผล มีการส่งสัญญาณและจากนั้นตีความออกมาเป็นภาษา สัญลักษณ์ และความหมาย เพื่อความเข้าใจ
สมองของเรานั้นมักถูกอิทธิพลจากสิ่งแวดล้อมรอบข้างได้ง่าย เช่น ประสบการณ์ในอดีต ระดับสติปัญญาความฉลาดด้านพันธุกรรมหรือแม้แต่ความคิด ไอเดีย ความทรงจำ ภาพถ่าย หรือบทเพลง ล้วนแล้วแต่ส่งผลต่อความเชื่อหรือความคิดที่เกิดขึ้นกับสมองทั้งนั้น
บางครั้งสมองก็ดึงเอาความทรงจำของประสบการณ์ สถานการณ์ที่เคยได้สัมผัสมาอยู่ในความคิดทำให้มีอิทธิพลต่อต่อความรู้สึกนึกคิดการตัดสินใจ และการกระทำที่แสดงออกมา
และแม้ว่าสมองจะคิดและตีผลในขณะมีสติ หรือตอนไม่มีสติก็ตาม สมองมักมีการตอบสนองกับสัญญาณเหล่านั้นแบบวิธีเอาตัวรอด ด้วยในระยะเวลาอันสั้นและมีแนวโน้มเอนเอียงไปในทางลบเสมอ
ยิ่งไปกว่านั้นสมองมักทำงานด้อยประสิทธิภาพหากถูกการรบกวนจากปัจจัยทางด้านร่างกายและจิตใจเช่น ความเครียด ความเหนื่อย ความหิว ความกลัว ล้วนส่งผลต่อการทำงานในการส่งสัญญาณของสมองมาสู่การรับรู้ ทำให้เกิดการตีความที่ผิดเพี้นน
อย่างไรก็ตามความคิดของคนเรานั้นเป็นสิ่งที่ทรงพลังเพราะสิ่งที่มนุษย์คิดมักส่งผลต่อการกระทำ เช่นหากเราคิดเรื่องความล้มเหลว จิตใจก็มักจะห่อเหี่ยวไม่มีพลังใจ เครียด สิ้นหวังและมักจะเจอแต่ข้อมูลมาสนับสนุนความไม่ประสบผล
แต่หากเราคิดถึงความสำเร็จ เราจะมีแรงพลักดันในการไปถึงเป้าหมาย และมีความคิดบวก มองเห็นแต่สิ่งที่จะนำพาไปสู่ความสำเร็จ
หลายปัจจัยในชีวิตที่ส่งผลและมีอิทธิพลต่อความคิดของคน การรับรู้ การตีความ การสรุปตัดสิน หรือการโฟกัสไปในเชิงลบ เช่น การประณาม กล่าวโทษผู้อื่นก็เช่นกัน เป็นรูปแบบทางความคิดที่ถูกอิทธิพลมาจากประสบการณ์ที่เคยเจอมาในอดีต
ดังนั้นเราควรต้องระมัดระวังวิธีการคิดของตัวเอง ควรจำกัดการคิดที่เป็นลบ และพัฒนาความคิดที่เป็นบวก ความคิดที่ช่วยให้เกิดการพัฒนาสุขภาวะทางจิตใจให้ดีมีความสุข และมีสุขภาพความเป็นอยู่อย่างแข็งแรงปลอดภัย มีวิสัยทัศน์ที่ดีและมีความสงบเมื่อเจอสิ่งที่ไม่พึงประสงค์
10 เหตุผลที่คุณไม่ควรเชื่อสิ่งที่สมองบอก
แบบร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะอะไร?
1. สมองมักสรุปอะไรไวเกินไป
สมองถูกออกแบบมาให้คิดและตัดสินอะไรให้รวดเร็วเพื่อจะได้รับงานใหม่มาจัดการต่อ จึงทำให้เกิดข้อสรุปที่สมองประมวลมักจะรวดเร็ว ง่าย เพื่อให้จบไว โดยส่วนใหญ่สมองมักจะไม่หาทางออกอื่นๆไว้สำรองด้วย ดังนั้นเราไม่ควรเชื่อสิ่งที่สมองบอกในครั้งแรกโดยทันที แต่ควรพิจรณาปัจจัยอื่นๆรอบด้าน และคิดหลายวิธีให้ถี่ถ้วนก่อนสรุป
2. สมองมักจะเลือกรับรู้แต่สิ่งที่อยากรู้เท่านั้น
สมองจะทำหน้าที่เหมือนตัวกรองข้อมูลและมักจะเลือกกรองสิ่งที่ไม่ต้องการรับรู้ให้ออกไปเหลือไว้แต่สิ่งที่ต้องการให้เป็นไปหรืออยากได้รับการสนับสนุนเท่านั้น
3. สมองมักถูกบิดเบือนง่าย
เมื่อได้รับข้อมูลข่าวสารสมองมักจะปรับให้ไปด้วยกันกับความเชื่อที่พื้นฐานที่มีอยู่ เป็นหรือปรับตามสมมุติฐานที่ตนสงสัยหรือปรับตามทัศนคติที่อยู่ในใจ ต่อจากนั้นจึงประมวลผลตีความตามที่อยากให้เป็น
4. สมองมักประเมินเรื่องสำคัญผิดพลาด
โดยเฉพาะทักษะการดำเนินชีวิต การเอาตัวรอด หรือเรื่องความปลอดภัย สมองมักจะมองข้าม ละเลยและคิดว่าไม่เป็นไรจึงไม่หาทางเตรียมป้องกันไว้ก่อน เช่น เมาแล้วขับ หรือ การตอบแชตขณะขับรถเป็นต้น
5. สมองไม่ได้ถูกออกแบบมาให้ทำงาน multi tasking
โลกปัจจุบันกำลังบังคับให้คนทำงานหลายอย่างในเวลาเดียวกัน จากงานวิจัยพบว่า การทำหลากหลายหน้าที่หลายอย่างในเวลาเดียวกัน มักสร้างความเครียดให้เพิ่มมากขึ้น ทำให้ความคิดสร้างสรรค์ลงลด และทำให้ประสิทธิภาพการทำงานด้อยลง
6. สมองมักตีความในแง่ร้าย
บ่อยครั้งเวลาเราไม่รู้แน่ชัดว่าหตุการณ์ที่เราสงสัยคืออะไร สมองมักจะคิดไปในทางลบก่อนเสมอ ซึ่งหากเราได้หาข้อมูลที่แท้จริงแล้วมันมักจะเป็นตรงกันข้ามกับสิ่งที่สมองคิดไว้เสมอ
7. สมองมักหลีกเลี่ยงความลำบาก
บางครั้งอุปสรรคในชีวิตอาจนำมาซึ่งโอกาสมากมาย ชีวิตกว่าจะประสบความสำเร็จได้อาจต้องเผชิญกับความผิดหวัง ล้มเหลวหรือความเจ็บปวดซึ่งสมองมักจะบอกว่า อย่าทำให้ตัวเองลำบาก ซึ่งหากเราเชื่อสมองที่คอยหลบเลี่ยง กลัวอุปสรรคความล้มเหลว เราอาจไม่พบกับความสำเร็จใดๆเลยในชีวิต
8. สมองมักยึดติดกับความคุ้นเคย
เมื่อเกิดความเครียดสมองมักมีวิธีคิดแก้ปัญหาแบบเดิมๆ หรือตัดสินใจเลือกในสิ่งเดิมๆ ทั้งที่รู้ว่าสิ่งเหล่านั้นไม่เคยให้ผลลัพธ์ที่ดีก็ตาม เช่นเลือกอยู่กับความสัมพันธ์เดิมที่มีปัญหา หรือทนกับการทำงานที่แย่ๆที่เดิม เพราะมีความคิดเดิมๆที่เชื่อว่าการออกไปหาสิ่งใหม่อาจเจอสิ่งที่แย่กว่า
9. สมองมักคิดเข้าข้างตัวเองแบบไม่มีเหตุผล
ถึงแม้จะรู้ว่าไม่เป็นความจริงที่ทุกคนจะคิดเหมือนเราก็ตามแต่เมื่อไรที่เรานำเสนอ นวัตกรรมใหม่หรือไอเดียใหม่สมองมักจะหลงคิดว่าทุกคนที่ได้ฟังจะต้องคล้อยตามและเห็นด้วยกับเราอย่างแน่นอน
10. สมองมักไม่ยอมรับการแก้ไขเมื่อเกิดปัญหา
จากงานวิจัยเผยให้เห็นว่าคนเก่งเมื่อทำงานผิดพลาดมักจะโทษปัจจัยต่างๆที่เหนือการควบคุมของตนและมักจะมั่นใจในความสามารถของตนเองจนไม่กลับมาคิดทบทวนถึงปัจจัยภายใน รวมทั้งความคิดและทัศนคติของตนที่อาจส่งผลต่อความผิดพลาดนั้น
อย่างไรดีสิ่งที่สมองบอกเรานั้น มักเป็นการเอาตัวรอด การที่เราคิดอย่างไร รู้สึกอย่างไร หรือมีสัมผัสและสัญชาตญาตอย่างไรจากการตีความของสมองนั้นมักเกิดจากออิทธิพลของการเลี้ยงดู ประสบการณ์ต่างๆในอดีตที่เคยเจอมา
การเชื่อสมองหรือการเชื่อความคิดตัวเองนั้นก็อาจไม่ได้เลวร้ายหรือน่ากลัวเสมอไปเพียงแต่ว่าเราควรมีวิธีเช็คความคิด ความเชื่อเหล่านั้นก่อนตัดสินใจหรือเริ่มปักใจเชื่อในสิ่งที่สมองบอก
สมองเชื่อถึอได้จริงหรือ?เช็คได้อย่างไร? (Fact-Checking Your Thoughts)
1. หาหลักฐาน รวบรวมข้อมูลว่าสิ่งที่เราคิดกับความเป็นจริงนั้นเป็นไปอย่างที่เราคาดเดาหรือไม่
2. ตั้งคำถาม และหาคำตอบจากข้อสงสัยที่มีโดยการมองหลายๆมุม แต่ไม่ควรหมกมุ่นจนเกินไป
3. ฝึกความสงบในจิตใจ หากจิตใจวุ่นวายไม่สงบมักส่งผลต่อความคิดและรบกวนการคิดวิเคราะห์ หรือการมองสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงให้ผิดเพี้ยนได้
4. ควบคุมความเครียด บางครั้งความคิดที่ไม่ชัดเจนมักเกิดจากความเครียดที่คอยรบกวนจิตใจ
5. ยอมรับในสิ่งที่ควบคุมไม่ได้
6. สร้างความมั่นใจให้ตัวเองเริ่มจากก้าวเล็กๆก่อน
7. หาจุดแข็งของตัวเองให้เจอ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นใจในการคิดวิเคราะห์ และมั่นใจในการตัดสินใจได้
8. คิดบวกกับตัวเอง บางครั้งการคิดลบต่อส่งผลต่อความไม่มั่นใจในความสามารถที่ตนมี
9. ปรึกษานักจิตวิทยาผู้เชี่ยวชาญหากไม่ไว้ใจในความคิดของตนเองควรมาปรึกษานักจิตวิทยาเพื่อสร้างความมั่นใจให้กลับมาอีกครั้ง และ
การมาพบนักจิตวิทยาผู้เชี่ยวชาญจะช่วยให้เราสามารถเอาชนะอุปสรรคความกลัว ข้อความสงสัยและความไม่เข้าใจเกี่ยวกับตนเองได้มากขึ้น
รวมทั้งคำถามที่อาจเกิดขึ้นในใจมากมายเกี่ยวกับความคิดของตนเองนักจิตวิทยาอาจช่วยให้เราเห็นในหลายด้านกระจ่างขึ้น
หากชีวิตเกิดความชัดเจนและหมดข้อสงสัยเกี่ยวกับคำถาม ความคิด ความไม่เข้าใจต่างๆเกี่ยวกับตนเองแล้วนั้น ก็จะสามารถนำพาชีวิตไปสู่จุดมุ่งหมายที่อยากไปให้ถึงได้
อ้างอิง
https://www.forbes.com/sites/work-in-progress/2012/10/23/10-good-reasons-not-to-trust-your-brain/?sh=a9b4aea241ed
https://www.wikihow.com/Know-if-Your-Thoughts-Are-Trustworthy#