ปมบาดแผลทางใจ ส่งผลกระทบต่อสมอง ทำให้เกิดภาวะความจำเสื่อมได้อย่างไร?

536 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ปมบาดแผลทางใจ ส่งผลกระทบต่อสมอง ทำให้เกิดภาวะความจำเสื่อมได้อย่างไร?

 

 

 

 

 

Dr. Marid Kaewchinda 

ดร.มฤษฎ์ แก้วจินดา

นักจิตวิทยาการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ

นักจิตบำบัด EMDR Psychotherapy/ Brainspotting Psychotherapy

 

 

ปมบาดแผลทางใจ ส่งผลกระทบต่อสมอง

ทำให้เกิดภาวะความจำเสื่อมได้อย่างไร?



เมื่อเหตุการณ์เลวร้ายอันไม่พึงประสงค์เกิดขึ้น สมองมักจะสั่งการให้หยุดรับรู้และบล็อคข้อมูลของเหตุการณ์นั้นและทำการซ่อนความทรงจำของประสบการณ์อันเลวร้ายนั้นทันที เหตุการณ์เลวร้ายส่งผลรุนแรงและมักสร้างความเจ็บปวดซึ่งสมองตอบสนองด้วยการซ่อนให้หายไปจากการจดจำของสมอง ส่งผลทำให้ความทรงจำบางช่วงหายไปและจะสามารถเรียกคืนความทรงจำข้อมูลบางอย่างได้ยาก

 

หากเหตุการณ์เลวร้ายรุนแรงเกิดขึ้นในช่วงวัยเด็ก ไม่ว่าจะเป็นการถูกทำร้ายด้านร่างกายจากความรุนแรงในครอบครัว การถูกทำร้ายด้านจิตใจด้วยคำพูดเสียดสี ด่าทอ หรือการถูกทอดทิ้ง การถูกละเลยไม่ดูแลเอาใจจากผู้ปกครอง พ่อ –แม่ มักสร้างปมบาดแผลทางใจหรือ trauma ที่รุนแรงกว่าการเกิดขึ้นในผู้ใหญ่และมักส่งผลเสียต่อการทำงานของสมองในระดับรุนแรงกว่า ทำให้สมองมีการพัฒนาด้านการเรียนรู้ การทำความเข้าใจในเรื่องต่างๆได้ยากลำบาก ส่งผลต่อการฟื้นฟู และการควบคุมด้านอารมณ์ ทำให้เกิดปัญหาต่างๆตามมา เช่น ขาดสมาธิ ไม่มีความมุ่งมั่น ตั้งใจเรียนหรือตั้งใจทำงาน มีความบกพร่องทางการเรียนรู้และมีความเชื่อมั่นในตัวเองต่ำ ไม่กล้าเผชิญหน้ากับการเข้าสังคม มีปัญหาเรื่องการนอนหลับ

ผลกระทบต่อชีวิตเมื่อเติบโตอาจมีปัญหาด้านสุขภาพเจ็บป่วยเรื้อรังไม่แข็งแรง มีปัญหาเรื่องพฤติกรรม และมีแนวโน้มที่เสี่ยงต่อการใช้สารเสพติด หรือมีพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่ถูกหลักโภชนาการ
 
Trauma (ปมบาดแผลทางใจ) และ Post-Traumatic Stress Disorder  (ภาวะป่วยทางจิตจากเหตุการณ์รุนแรง)

ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของสมองอย่างไร?


เหตุการณ์เลวร้ายหรือประสบการณ์ด้านลบส่งผลระยะยาวต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและเคมีบางอย่างในสมอง ส่งผลกระทบด้านการควบคุมอารมณ์ และพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเหตุการณ์ที่เจอนั้นมีความรุนแรงในระดับไหน

Truama ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสมองส่วนต่างๆ ดังนี้

1. Amygdala เป็นสมองที่เตือนภัยด้านความกลัว ซึ่งเชื่อมต่อกับความทรงจำและการควบคุมอารมณ์ หลังเหตุการณ์เลวร้ายรุนแรงสมองส่วนนี้จะตื่นตัว ไวต่อการรับรู้เวลามีสิ่งเร้ามารบกวนมากขึ้น ทำให้เกิดความตื่นตระหนก เครียด วิตกกังวลเมื่อเจอสิ่งที่มากระตุ้นหรือทำให้นึกถึงเหตุการณ์รุนแรงที่เคยผ่านมาสมองจะเริ่มแสดงอาการให้รู้ถึงความไม่ปลอดภัย สมองส่วนนี้ยังช่วยในเรื่องความทรงจำระยะยาวอีกด้วย

2. Hippocampus หลังเหตุการณ์เลวร้ายรุนแรง สมองส่วนนี้จะเกิดการหดตัว เป็นสมองที่ทำให้หน้าที่ในการเชื่อมต่อด้านอารมณ์และ ความทรงจำ การทำงานด้านการควบคุมอารมณ์จะลดประสิทธิภาพลง Traumaทำให้สมองส่วนนี้มีการทำงานที่สับสนในการแยกแยะอดีตและปัจจุบัน จะเห็นได้จากการที่เกิดมีอาการflashback ภาพเดิมย้อนกลับมา เนื่องจากสมองมีการจัดเก็บความทรงจำที่ไม่สมบรูณ์

ปมบาดแผลทางใจและเหตุการณ์เลวร้ายรุนแรงยังส่งผลทำให้ความทรงจำบางส่วนขาดหาย และเกิดเป็นความทรงจำที่ไม่ปะติดปะต่อ บางครั้งอยู่ดีๆความทรงจำที่สร้างความเจ็บปวดก็โผล่ขึ้นมา และความทรงจำเลวร้ายนั้นส่งผลต่อการกระตุ้นสมองamygdala ที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานในด้านการเตือนภัยทำให้เกิดตื่นตัวถึงอันตราย มีอาการแพนิค เกิดความทรงจำอันเจ็บปวดและต้องอยู่กับความทรงจำที่ไม่พึงประสงค์ซ้ำเดิม

3. The Pre-frontal Cortex สมองส่วนหน้าที่ทำหน้าที่ ในเรื่องการความคิดวิเคราะห์หดเล็กลง สมองส่วนนี้ทำหน้าที่ในการควบคุมด้านสมาธิ อารมณ์ การคาดคะแนเหตุการณ์ และผลต่อเนื่องของการกระทำที่จะตามมา ทำหน้าที่ในการวางแผน ตัดสินใจ ควบคุมการทำงานด้านปฎิสัมพันธ์กับผู้อื่น ควบคุมการสื่อสารทางกาย ความจำ ทักษะด้านการพูด การเรียนภาษาต่างประเทศ เป็นการทำงานของexecutive functions ของสมอง

หากเกิดTrauma หรือผลกระทบจากประสบการณ์อันเลวร้ายรุนแรง สมองส่วนนี้จะเปลี่ยนไปเป็นการทำงานเพื่อเอาตัวรอด มีการใช้ความคิดเพื่อหนีรอดจากภัยอันตราย ผลที่ตามมามักทำให้เกิดความคิดที่เป็นด้านลบ การตอบสนองด้านอารมณ์ และพฤติกรรมมักมีปัญหา เนื่องจากการทำงานของสมองถูกรบกวนจากการตอบสนองต่อความกลัว ความวิตกกังวลและความเครียดที่รุนแรงส่งผลให้ความคิดแบบมีเหตุมีผลลดประสิทธิภาพลง

 

 

Credit Picture: mindspect.com

  

ความจำเสื่อมจากTruama มีกี่ประเภท?

ความจำเสื่อมจากผลกระทบของหตุการณ์อันเลวร้ายรุนแรงมีความซับซ้อนและส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของผู้ประสบเหตุ อาการไม่ได้มีแค่ฝันร้าย หรือ flashback(ภาพเหตุการณ์เดิมกลับมาเกิดซ้ำ) เท่านั้นแต่ยังทำให้สูญเสียความทรงจำในหลากหลายรูปแบบอันเนื่องมาจากการทำงานของสมอง

สมองถูกรบกวนโดยแบ่งเป็น 4 รูปแบบดังนี้

1. Dissociative amnesia – คือประสิทธิภาพในการเรียกคืนความทรงจำ หรือข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับตัวเอง หากเกิดปมบาดแผลทางใจที่รุนแรงจะส่งผลกระทบต่อการเชื่อมโยงการทำงานของสมองกับระบบประสาทการรับรู้ทำให้หยุดฉงัก ตัดขาดการเชื่อมโยงด้านความรู้สึกนึกคิดและพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการกระทำของตนเอง นำพาไปสู่ความผิดปกติด้านภาวะทางจิตใจหรือเป็นภาวะ dissociative identity disorder ซึ่งเกิดภาวะความทรงจำหายไป มีช่องว่างในบางช่วง ส่งผลต่อการใช้ชีวิตทำให้มีความไม่แน่นอนเกี่ยวกับตัวตนของตนเอง ไม่เชื่อมโยงกับตัวตนของตัวเอง ไม่รู้ว่าตนเองเป็นใคร บางครั้งค้นพบตัวเองอยู่ในที่แปลกโดยไม่รู้ว่ามาถึงที่นี้ได้อย่างไร

2. Pattern separation- เป็นการสูญเสียความทรงจำในอีกรูปแบบหนึ่งที่สมองไม่สามารถถอดรหัสด้านการแยกแยะความเหมือนความคล้ายของเหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่ใกล้เคียงกันได้เช่นคนไข้อาจมาพบคุณหมอซ้ำถึง2 ครั้งโดยจำไม่ได้ว่าเพิ่งมาพบไป ความจำไม่ชัดเจน เป็นการสูญเสียความทรงจำในการพัฒนาด้านข้อมูลใหม่ๆและตอบสนองกับข้อมูลเก่าแบบ คลุมเคลือ แยกแยะไม่ออก

3. Repression เป็นการจัดเก็บความทรงจำในสมองแบบไม่สมบรูณ์ สมองมีความเชื่อว่าไม่เคยมีเรื่องราวเช่นนี้เกิดขึ้น และมีอยู่จริง หรือบางครั้งอาจเรียกคืนความทรงจำได้แค่เพียงบางส่วนโดยสมองยังเชื่อว่าไม่มีสิ่งนี้เกิดขึ้น

4. Trauma denial  เป็นกลไกการป้องกันตัวของสมองที่แช่แข็งความทรงจำที่ไม่พึงประสงค์เอาไว้ แต่ความทรงจำอันเลวร้ายนั้นยังอยู่และส่งผลต่อระบบความทรงจำระยะสั้น ระยะยาว ความทรงจำด้านประสาทสัมผัสและการรับรู้

Trauma หรือปมบาดแผลทางใจส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพด้านความทรงจำในหลายส่วน และความสามารถในการเชื่อมโยงเหตุการณ์ คำพูด ความคิด ส่งผลต่อความกลัว แพนิค และมักมีพฤติกรรมเสี่ยงอันตรายเนื่องจากประสิทธิภาพทางความคิดและการตัดสินใจด้านการควบคุมอารมณ์ด้อยประสิทธิภาพลงอย่างมาก

 

ความทรงจำเสื่อมจากปมบาดแผลทางใจรักษาได้ไหม?

การฟื้นฟูด้านความทรงจำจากปมบาดแผลทางใจนั้นสามารถทำได้    หากได้รับการดูแลและสนับสนุนจากผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยา โดยผู้เชี่ยวชาญจะทำการเข้าไปไขปมปัญหาที่ต้นตอ และสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการและประการณ์อันเลวร้ายที่รุนแรงนั้น

การให้ความร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาในการทำการรักษาจะเป็นขั้นตอนที่สำคัญมากเพื่อช่วยเหลือผู้มารับบริการได้อย่างถูกวิธีและปลอดภัย ในระหว่างขั้นตอนกระบวนการในการเรียกคืนความทรงจำเพื่อกลับไปแก้ไขปมบาดแผลทางใจนั้นมักเกิดภาวะที่ทำให้ผู้รับบริการหวนนึกถึงเหตุการณ์และความเจ็บปวดอีกครั้ง ดังนั้นจึงต้องอาศัยความชำนาญในการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาเป็นสำคัญ

วิธีการทำบำบัดด้านจิตใจที่ใช้รักษาอาการTrauma มีหลากหลายวิธีแล้วแต่ความเหมาะสมของผู้เข้ารับบริการแต่ละท่าน อย่างไรก็ตามควรได้รับการช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาเท่านั้น

  


EMDR Therapy และ Brainspotting therapy รักษาปมบาดแผลทางใจได้อย่างไร?
 

EMDR และ Brainspotting Therapy เป็นเครื่องมือที่ใช้ทำจิตบำบัดบาดแผลทางจิตใจ ทั้งในระดับที่รุนแรงและระดับปานกลางถึงต่ำ

EMDR และBrainspotting เป็นการทำงานที่ลงลึกด้านสมอง ช่วยให้สมองส่วนหน้าลดการถูกกระตุ้นของamygdala และช่วยให้hippocampusของสมองส่วนชั้นข้างในลดความเครียด ดังนั้นความเจ็บปวดที่เคยถูกกระตุ้นจากสมองสองส่วนนี้เมื่อได้รับการรักษาจึงทำให้ความทรงจำอันเจ็บปวดที่เคยถูกบล็อคไว้ได้รับการบำบัด และเกิดการประมวลจัดเก็บผลใหม่ ให้มีความเข้าใจกับความทรงจำในรูปแบบใหม่ รวมทั้งเทคนิคการกรอกตาไปกระตุ้นให้ความทรงจำเคยถูกบล็อคไว้ได้ถูกปลดล็อค  ส่งผลให้การนอนหลับมีประสิทธิภาพมากขึ้นและไม่ถูกรบกวนจากความทรงจำที่จัดเก็บไม่สมบรูณ์

เสียงคลื่นความถี่ต่ำในบางรายที่ใช้ในการบำบัดด้วยจิตบำบัดEMDR จะช่วยกระตุ้นการทำงานของสมองทั้งสองด้านให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และมีการตอบสนองด้านความเครียดที่ช้าลง เมื่อ amygdala ได้รับการรักษาให้สงบลงกระบวนการประมวลผลในสมองในขณะที่ร่างกายนอนหลับพักผ่อนจึงทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้ไม่เกิดอาการฝันร้ายและลดปัญหาด้านการนอนไม่หลับได้ดีขึ้น


Credit picture: Themindcoach.org


อย่างไรก็ตามการทำจิตบำบัดทั้ง EMDR และ Brainspotting Therapy(ซึ่งเป็นขั้นสูงในการทำจิตบำบัดที่พัฒนาต่อยอดมาจากEMDR Therapy) ผู้เข้ารับบริการควรเริ่มต้นด้วยกระบวนการเตรียมความพร้อมด้านเทคนิคstabilizationอย่างต่อเนื่องก่อนที่จะเข้าสู่กระบวนการทำบำบัด  ซึ่งระยะเวลาความพร้อมในแต่ละท่านไม่เท่ากัน ดังนั้นควรเตรียมตัวสำหรับระยะเวลาการเข้าสู่ขั้นเตรียมพร้อม หากมีข้อสงสัยควรสอบถามผู้เชี่ยวชาญเพื่อคลายความสงสัย

Trauma และ post-traumatic stress disorder ปมบาดแผลทางใจและ ปมบาดแผลทางใจจากเหตุการณ์อันเลวร้ายรุนแรงส่งผลเสียต่อสมองและความทรงจำดังนั้นไม่ว่าจะเป็นประเด็นความรุนแรงระดับใดก็ตามหากเกิดขึ้นแล้วไม่ควรปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษา




How Brain Response to EMDR Therapy 

Credit picture: insidethealcoholicbrain.com

(จากภาพจะเห็นได้ว่า PTSD ที่เป็นสีแดงหลังทำจิตบำบัดEMDR ได้มีแสดงภาวะPTSD ลดลงและย้ายไปอีกฝั่งหนึ่งและหายไป เป็นผลสำเร็จในการรักษาPTSD ปมบาดแผลทางใจ)

การแก้ไขให้สมองได้มีการจัดเก็บประมวลผลใหม่ให้เสร็จสมบรูณ์นอกจากจะช่วยลดความทรงจำอันเจ็บปวดแล้วยังสามารถช่วยฟื้นฟูประสิทธิภาพด้านความคิด การควบคุมอารมณ์ การนอนหลับ หรือปัญหาสุขภาพทางร่างกายอื่นๆที่มีสาเหตุมาจากปมบาดแผลทางใจและทำให้แสดงออกแบบผิดปกติทางร่างกายต่างๆ ดังนั้นการรักษาช่วยให้เกิดการฟื้นฟูทั้งด้านร่างกายและจิตใจทำให้กลับมาใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขต่อไป




 
อ้างอิง 


https://www.psychologytoday.com/us/blog/workings-of-well-being/201703/how-to-heal-the-traumatized-brain

https://www.verywellmind.com/the-effect-of-ptsd-on-the-brain-2797643

https://www.aprillyonspsychotherapyboulder.com/blog/ptsd-memory-loss#:~:text=According%20to%20recent%20research%2C%20the,sorting%20old%20and%20new%20memories.

https://www.choosingtherapy.com/does-trauma-cause-memory-loss/

https://www.bostontrials.com/how-trauma-changes-the-brain/#!/

https://www.wholewellnesstherapy.com/post/trauma-and-the-brain

https://salud-america.org/4-ways-childhood-trauma-changes-childs-brain-body/

https://psychcentral.com/health/does-trauma-cause-memory-loss#related-concepts

https://www.phoenix-society.org/resources/how-trauma-and-the-brain-can-affect-your-memory

https://www.verywellmind.com/what-exactly-does-ptsd-do-to-the-brain-2797210

https://www.goodtherapy.org/blog/psychpedia/prefrontal-cortex#:~:text=ROLE%20OF%20THE%20PREFRONTAL%20CORTEX&text=The%20prefrontal%20cortex%20contributes%20to,Impulse%20control%3B%20managing%20emotional%20reactions

https://psychcentral.com/health/does-trauma-cause-memory-loss

https://www.nhs.uk/mental-health/conditions/dissociative-disorders/#:~:text=Dissociative%20identity%20disorder%20(DID)%20used,voices%2C%20personal%20histories%20and%20mannerisms.

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้