2410 จำนวนผู้เข้าชม |
มาทำความรู้จักโรค Boarding School Syndrome
ดร.มฤษฎ์ แก้วจินดา (Ph.D)
นักจิตวิทยาการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
Boarding School Syndrome คือโรคอะไร
ปัจจุบันพ่อ-แม่ ผู้ปกครองเริ่มตระหนักถึงภาวะ Boarding School Syndrome กันมากขึ้น
จากการบอกเล่าประสบการณ์ของผู้สัมผัสการใช้ชีวิตอยู่ในโรงเรียนประจำ และนักจิตวิทยาผู้ทำการบำบัดคนป่วยที่มีปัญหาหลังผ่านประสบการณ์ใช้ชีวิตอยู่ในโรงเรียนประจำพบว่า
ส่วนใหญ่ผู้ปกครองเชื่อมั่นและคาดหวังผลสัมฤทธิ์ด้านการเรียนและการงาน..คิดว่าการวางรากฐานอนาคตที่ดีทางการศึกษาให้กับลูกโดยเลือกที่จะส่งเข้าโรงเรียนประจำ แต่ไม่ได้ตระหนักถึงสภาวะแวดล้อมด้านจิตใจที่บุตรหลานของตนต้องประสบพบเจอในโรงเรียนประจำ
เราอาจนึกไม่ถึงว่าการศึกษาในโรงเรียนประจำนั้นส่งผลเสียอย่างรุนแรงทางใจได้อย่างไรเมื่อเด็กเติบโตและเข้าสู่วันทำงาน แล้วทำไมโรงเรียนประจำที่ผู้ปกครองไว้ใจและเลือกที่จะส่งบุตรหลานให้ไปดูแลนั้น ทำให้พวกเขากลายเป็นโรคหรือเกิดภาวะผิดปกติไปได้อย่างไร?
ย้อนกลับไปในปี 1990 ศาสตราจารย์ Joy Schaverien ได้ทำงานกับผู้ป่วยทางจิตและได้มีโอกาสช่วยพวกเขาในการบำบัดอาการบาดแผลทางใจ ได้ค้นพบความจริงที่น่าตกใจว่าผู้ที่เคยได้รับการเข้าศึกษาในโรงเรียนประจำส่วนมากเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่มักมีปัญหาด้านสุขภาพจิตขั้นรุนแรง
ผลการสำรวจความผิดปกติด้านจิตใจที่เป็นปัญหามักเกี่ยวข้องกับเรื่องความบกพร่องทางการสื่อสาร ปัญหาด้านความสัมพันธ์ซึ่งยากต่อการพัฒนาต่อยอดความสัมพันธ์กับผู้อื่นในระยะยาว มีอาการของโรควิตกกังวลในระดับรุนแรง
ผลกระทบเหล่านี้มักมีสาเหตุจากประสบการณ์อันเลวร้ายเมื่อเข้าไปใช้ชีวิตอยู่ในโรงเรียนประจำตั้งแต่ยังเด็ก หลายคนเริ่มถูกส่งไปอยู่โรงเรียนประจำตั้งแต่อายุ9 ขวบซึ่งถือว่ายังเด็กมาก ทั้งนี้โครงสร้างพื้นฐานด้านจิตใจของมนุษย์ไม่ได้ถูกสร้างมาเพื่อการแยกจากพลัดพลาดในวัยเด็ก แต่จะต้องรอให้พร้อมด้านจิตใจและโตพอที่จะออกไปเผชิญขีวิตข้างนอก พวกเค้ายังต้องการการสนับสนุนจากครอบครัวเป็นแรงใจสำคัญ
ความผิดปกติภายนอกหรือทางร่างกายอาจไม่ชี้ชัดได้โดยแพทย์ว่าเป็นผลมาจากประสบการณ์เหล่านั้น แต่ผลกระทบทางจิตใจเป็นสิ่งที่นักจิตวิทยาไม่สามารถนิ่งเฉยได้ และมองว่าอาการของโรคเหล่านี้มีนัยสำคัญต่อบุคคลในการเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ต้องพัฒนาภาวะทางด้านอารมณ์ให้สมบรูณ์เพื่อสามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุขและมีความหมายมีคุณค่าในการดำรงชีวิตอยู่ของตนแอง
ทั้งภาวะการเจริญเติบโตอย่างสมบรูณ์ด้านการแสดงออกทางอารมณ์ และพฤติกรรมการเรียนรู้ของมนุษย์ในการอยู่ร่วมในสังคมเป็นสิ่งที่สำคัญมากต่อการรับรู้ของมนุษย์
ซึ่งหากการรับรู้ในเรื่องเหล่านี้มีปัญหาจะส่งผลกระทบต่อการเกิดโรควิตกกังวล ความเครียดรุนแรง เกิดเป็นความเจ็บปวด เป็นทุกข์ เศร้าเสียใจในการใช้ชีวิตและส่งผลเสียอันเลวร้ายในเวลาต่อมาได้
ประสบการณ์วัยเด็กในโรงเรียนประจำสะท้อนถึงปัญหาส่วนใหญ่ในโรงเรียนที่มักทำให้เด็กเกิดความเครียดในการปรับตัวกับสิ่งแวดล้อมและคนแปลกหน้า ทำให้เกิดเป็นโรควิตกกังวล ซึมเศร้า ตัดขาดด้านความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับครอบครัวซึ่งเป็นพื้นฐานการพัฒนาด้านความสัมพันธ์ที่ดีในอนาคต ทำให้ไม่เชื่อใจ ไม่มีความสามารถในการรักษาความสัมพันธ์ในระยะยาวกับผู้อื่นได้ เนื่องจากภาวะการถูกทอดทิ้งในวัยเด็ก
การส่งเข้าโรงเรียนประจำนั้นเด็กจะถูกปฎิบัติเหมือนเป็นผู้ใหญ่ให้สามารถอยู่กฎระเบียบได้อย่างเคร่งครัด และการต้องอยู่ร่วมกับผู้ใหญ่ที่ไม่รู้จักทำให้เกิดความไม่มั่นคงทางจิตใจเมื่อเทียบกับการอยู่กับครอบครัวที่บ้านตัวเอง
เด็กจะรู้สึกขาดความปลอดภัย ด้านจิตใจแล้วเป็นเรื่องยากมากสำหรับเด็กเล็กในการจัดการกับความรู้สึกของการถูกทอดทิ้งนี้ ซึ่งในระยะยาวส่งผลต่อความเชื่อมั่น ศรัทธาในความรัก ความสัมพันธ์ และมักปฎิเสธไม่ยอมรับหากต้องข้องเกี่ยวกับความสัมพันธ์ที่จริงจัง
จากประสบการณ์ในผู้รับการบำบัดวัย 33ปีที่เคยอยู่โรงเรียนประจำในอังกฤษพบว่า เธอกลัวจะถูกทอดทิ้งเมื่อเธอเริ่มมีความสัมพันธ์อันลึกซึ้งกับใครบางคน และถึงแม้ว่าความรู้สึกถูกทอดทิ้งอาจไม่เกิดในครอบครัวที่อบอุ่นและเตรียมตัวในการมาอยู่โรงเรียนประจำอย่างดีแล้วก็ตาม แต่ความวิตกกังวลของการพลัดพลาก (Separation anxiety) ก็ยังเกิดขึ้นอยู่ดี
โรงเรียนประจำนั้นสร้างบรรยาแห่งการคิดถึงบ้านให้เด็กต้องทนทุกข์ทรมานซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่รุนแรงของปัญหาความเศร้าโศก สูญเสีย ทำให้เด็กรู้สึกว่าเขาสูญเสียทุกอย่างในชีวิตไป และอาจต้องใช้ระยะเวลาในการทำใจซึ่งทางโรงเรียนจะบอกกับผู้ปกครองว่าให้พยายามหลีกเลี่ยงการติดต่อกับเด็กเป็นระยะเวลา 2-3 สัปดาห์เพื่อให้เด็กได้ปรับตัว นั้นยิ่งเป็นการทำร้ายจิตใจขั้นรุนแรงที่สุด
เด็กหลายคนเลือกที่จะไม่หานักจิตวิทยาประจำโรงเรียนด้วยเหตุผลหลายอย่าง โดยเฉพาะความเชื่อใจ จนทำให้เด็กหลายคนมีปัญหาเรื่องภาวะวิตกกังวลและภาวะการกินผิดปกติ (Eating disorders) ซึ่งเป็นผลมาจากความเครียดทำให้กินไม่ได้ ประสบการณ์ในการทานอาหารที่โรงเรียนประจำทำให้เด็กรู้สึกถึงความแตกต่างจากการรับประทานอาหารกับครอบครัวที่บ้าน
เด็กหลายคนรู้สึกกดดันในเรื่องการเรียนเนื่องจากความคาดหวังของผู้ปกครองที่ลงทุนในการศึกษาที่มีมูลค่าสูงลิ่ว แต่เมื่อเด็กเรียนจบได้เข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยที่ดี และได้งานในอาชีพที่ตั้งใจ กลับรู้สึกเหนื่อยยากกับชีวิตที่เติบโตขึ้นมา ยิ่งไปกว่านั้นผู้มารับการบำบัดเล่าว่า โรงเรียนประจำเหมือนการจำลองชีวิตในคุกซึ่งไม่สามารถหนีออกไปไหนได้ ในโรงเรียนปกติตารางเรียนมักจะยุ่งและต้องปฎิบัติตามกฎอย่างเคร่งครัดแต่เมื่อกลับบ้านก็จะรู้สึกผ่อนคลาย ได้พักผ่อนกับครอบครัวที่เขารัก หรือได้พักจากเพื่อนที่ไม่รู้สึกโอเคด้วย
แต่การอยู่โรงเรียนประจำนั้นไม่สามารถหนีไปไหนได้หากเจอเพื่อนที่นิสัยไม่ดี หรือถูกกลั่นแกล้งจะเป็นความโชคร้ายที่ต้องทนทุกข์ทรมานไปตลอดจนกว่าจะจบการศึกษา ซึ่งหลายครั้งกรณีการถูกกลั่นแกล้ง หรือเกลียดชังสร้างรอยบาดแผลทางใจ จนเกิดเป็นความเครียด วิตกกังวลและโรคซึมเศร้าในวัยผู้ใหญ่ได้ในอนาคต
หากผู้ปกครองต้องการส่งบุตรหลานไปเรียนโรงเรียนประจำควรต้องศึกษาข้อมูลผู้มีประสบการณ์ในการเรียน หรืออยู่รอด และต้องสำรวจในเรื่องของโรงเรียนและการดูแลของบุคคลากรให้มากเพื่อประกอบการตัดสินใจให้ดี เพื่อป้องกันไม่ให้บุตรหลานมีภาวะ boarding school syndrome
อ้างอิง
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC7664204/
https://journalism.org.uk/21site101/2021/08/21/does-boarding-school-damage-children-into-adulthood/
https://www.piers-cross.com/boarding-school-syndrome#:~:text=Boarding%20School%20Syndrome%20is%20now,often%20called%20Boarding%20School%20Survivors.
https://www.cosmopolitan.com/uk/body/health/a38330483/boarding-school-syndrome