บาดแผลทางใจที่ไม่รักษาให้หาย (Untreated traumatic wounds) เราสามารถอยู่กับมันได้ไหม?

34 จำนวนผู้เข้าชม  | 

บาดแผลทางใจที่ไม่รักษาให้หาย (Untreated traumatic wounds)  เราสามารถอยู่กับมันได้ไหม?

บาดแผลทางใจที่ไม่รักษาให้หาย (Untreated traumatic wounds) เราสามารถอยู่กับมันได้ไหม?



ดร.มฤษฎ์ แก้วจินดา (Ph.D.)
นักจิตวิทยาการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
EMDR Psychotherapy Supervisor and Brainspotting Psychotherapy Practictioner 

การฟื้นฟูจากปมบาดแผลทางใจ (Trauma) นั้นตามหลักการแล้วควรได้รับการบำบัดอย่างเหมาะสมโดยผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการเยียวยาและรักษาบาดแผลทางใจให้หายเป็นปกติ การมาพบผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยา เป็นการป้องกันการเกิดปัญหาที่ซับซ้อนเพิ่มมากขึ้นในอนาคต

อย่างไรก็ตามหากเราใช้ชีวิตอยู่กับปมบาดแผลทางใจ (Trauma) โดยไม่มาพบผู้เชี่ยวชาญ อาจเป็นไปได้ในกรณีที่ปมบาดแผลทางใจนั้นไม่รุนแรงมาก ไม่ซับซ้อนและเรายังสามารถรับมือกับมันได้โดยไม่ถูกกระตุ้นหรือถูกรบกวนแต่ไม่แนะนำ 

ในกรณีที่เรายังไม่พร้อมที่จะรักษาเยียวยา และยังต้องการเวลา..สามารถรอได้ แต่ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตามการดำรงชีวิตอยู่ในโลกโดยที่มีบาดแผลทางใจและยังไม่ได้รับการเยียวยารักษา มักส่งผลเสียด้านสุขภาพเรื้อรังรวมทั้งส่งผลด้านลบต่อคุณภาพการใช้ชีวิตเป็นอย่างมาก



บาดแผลทางใจที่ไม่ได้รับการเยียวยา (Untreated traumatic wounds) ส่งผลเสียต่อเราอย่างไรบ้าง?

1. ภูมิต้านทานทางร่ายกายต่ำลง

ปมบาดแผลทางใจ (Untreated wounds) ทำให้ร่างกายอ่อนแอในการต้านทานการติดเชื้อจากแบคทีเรียและการอับเสบต่างๆ ในร่างกาย ซึ่งสงผลต่ออาการบวม แดง เจ็บปวดตามร่างกาย ระบบไหวเวียนเลือดและของเหลวไม่ดี

2. ภูมิต้านทานทางด้านอารมณ์ต่ำลง

บาดแผลทางใจที่รุนแรงและซับซ้อน หากไม่ได้รับการเยียวยาที่ถูกกระบวนการขั้นตอน ย่อมส่งผลต่อความเจ็บปวดทางจิตใจที่เรื้อรังและอาจใช้เวลายาวนานนับปีหากไม่มาพบผู้เชี่ยวชาญเพื่อรักษาให้ถูกวิธี โรคที่มักส่งผลต่ออารมณ์และจิตใจที่ไม่ปกติเช่น โรคเครียดหลังเหตุการณ์สะเทือนขวัญ (Post-traumatic stress disorder - PTSD) โรควิตกกังวล วิตกจริต โรคซึมเศร้า ปัญหาสัมพันธภาพกับคนรอบข้างและคนในครอบครัว และปัญหาทางจิตเวชต่างๆ อีกมากมาย

3. แนวโน้มมีปัญหาระยะยาวเพิ่มขึ้นเรื้อรังในอนาคต

ปมบาดแผลทางใจมักทิ้งร่องรอยความเจ็บปวดที่เห็นอย่างชัดเจนหากปล่อยไว้ไม่รักษาให้หายเป็นปกติ นอกจากจะส่งผลทำให้เกิดภาวะทางด้านร่างกายที่ไม่แข็งแรงแล้วยังทำให้ประสิทธิภาพในการจัดการกับปัญหาในชีวิตประจำวันมีปัญหา โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาด้านอารมณ์และการควบคุมพฤติกรรมเวลาเจอสิ่งกระตุ้นรบกวน ซึ่งมีแนวโน้มก่อให้เกิดความรุนแรงและเลวร้าย บาดแผลทางใจที่ไม่ได้รับการรักษา มักส่งผลต่อปัญหาบุคคลิคภาพทำให้เกิดความบกพร่องไม่ปกติ รวมทั้งความคิดและทัศนคติที่มีแนวโน้มไปในเชิงลบและมักส่งผลเสียต่อตัวเองและผู้อื่น

การมาพบผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาช่วยอะไรได้บ้าง?

ผู้เชี่ยวชาญมีความรู้ความสามารถในการใช้กระบวนการด้านการรักษาเยียวยาบาดแผลทางจิตใจที่ช่วยให้ระดับความรุนแรงลดลง การบำบัดรักษาปัญหาอาการทางจิตใจได้รับการช่วยเหลืออย่างถูกต้องเหมาะสม นักจิตวิทยาผู้เชี่ยวชาญมีเทคนิควิธีที่ถูกต้อง และทำการช่วยเหลือด้วยเทคนิคการให้การปรึกษา หรือทำจิตบำบัด เช่น EMDR, Brainspotting, CBT, Satir therapy และเทคนิคอื่นๆ โดยคำนึงถึงความเหมาะสมในแต่ละบุคคล  

 

การเยียวยาบาดแผลทางใจ (Trauma) ต้องใช้ระยะเวลานานแค่ไหน?

การจัดการกับปมบาดแผลทางใจมีหลายระดับขึ้นอยู่กับธรรมชาติของแต่ละคนและความรุนแรงของแต่ละปัญหา การเยียวยาบาดแผลภายใจจิตใจนั้นเป็นเรื่องซับซ้อนและแตกต่างกันในแต่ละบุคคล เวลาที่ใช้ในการเยียวยาไม่เหมือนกันและไม่สามารถระบุเวลาที่ชัดเจนได้ เมื่อไรก็ตามที่จิตใจของเราได้รับการเยียวยารักษาจนกลับมาเป็นปกติแล้วเราสามารถรับรู้ได้ถึงปฎิกิริยาและทักษะในการจัดการปัญหาด้านอารมณ์ที่มีประสิทธิภาพของตัวเองได้มากขึ้น รู้สึกมีความสมบรูณ์ด้านร่างกายและจิตใจมากขึ้น มีพลังและกำลังใจในการทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตโดยไม่รู้สึกเจ็บปวดทุกข์ทรมานและไม่รู้สึกว่าบาดแผลทางใจในอดีตมารบกวนใจเราได้อีกต่อไป นอกจากนั้นเราจะรู้สึกถึงความสงบ ปล่อยวาง และไม่ยึดติดกับความทรงจำเก่าในอดีตที่คอยสร้างให้เกิดความเจ็บปวดในปัจจุบัน เราจะมีความคาดหวังและมุ่งมั่นที่จะมองไปข้างหน้า

เมื่อการเยียวยาได้เกิดขึ้นในจิตใจจะทำให้เราสามารถฟื้นคืนสภาวะทางจิตใจให้กลับมาเป็นปกติได้และอาจเห็นสัญญาณที่ดีที่ทำให้จิตใจมีความสุขสงบได้จากสัญญาณดังนี้

สัญญาณที่บ่งบอกว่าการบาดแผลทางใจได้รับการเยียวยาจนดีขึ้นแล้วอาจสังเกตได้ดังต่อไปนี้

1. มีทักษะการควบคุมอารมณ์ที่ดีขึ้น – เมื่อเราเจอการกระตุ้นให้หวนนึกถึงความเจ็บปวดในอดีตเราสามารถรับรู้เข้าใจและจัดการกับอารมณ์ต่างๆ เหล่านั้นได้ เรารู้เท่าทันอารมณ์ตัวเองและรู้ถึงสาเหตุที่อารมณ์ถูกรบกวน

2. รู้จักวางขอบเขต - เรามีทักษะการรักษาระห่างในขณะเดียวกับก็สามารถที่จะรักษาสัมพันธภาพกับคนรอบข้างได้อย่างดีโดยไม่ปล่อยให้ตัวเองตกอยู่สถานการณ์ที่โดนเอาเปรียบหรือโดนทำร้ายจิตใจ

3. กล้าเผชิญหน้า - เราไม่หลบหน้าจากสถานการณ์หรือผู้คนที่ทำให้เราย้อนคิดถึงความเจ็บปวดในอดีต

4. ไม่ขี้ระแวงจนเกินไป - เรามีการพัฒนาในเรื่องความเชื่อใจตัวเองและผู้อื่น ไม่ระแวดระวังหรือหวาดระแวงจนเสียงาน

5. มีทักษะด้านสัมพันธภาพกับผู้อื่นมากขึ้น - สามารถรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับครอบครัวและเพื่อฝูงได้ดีขึ้น

6. ความเจ็บปวดเรื้อรังทางร่างกายลดลง - อาการทางร่างกายบางอย่างเช่น เจ็บปวดง่ายตามเนื้อตัว ระบบย่อยอาหารมีปัญหา อาการนอนไม่หลับและปัญหาด้านร่างกายอื่นๆ ค่อยๆ ดีขึ้น

7. ฝักใฝ่ความสงบ - เมื่อเราได้สัมผัสกับความนิ่ง มีสติ ทำใจยอมรับปล่อยวางเราจะสามารถพบกับความหมายของชีวิตและความสงบอีกครั้ง

8 มีมุมมองทางความคิดที่เปลี่ยนไป - เมื่อจิตใจได้รับการเยียวยาเราจะมองเห็นว่าบาดแผลทางใจในอดีตไม่ใช่ตัวชี้วัดความเป็นตัวตนของเราในปัจจุบันแต่เป็นเพียงแค่เรื่องราวตอนหนึ่งของชีวิตเราเท่านั้นเอง

9. มองความก้าวหน้าในอนาคตเป็นหลัก - การกลับมามีสติหลังได้จิตใจได้เยียวยาบาดแผลทำให้เรามองหาวิธีและโฟกัสการก้าวไปข้างหน้ามากกว่าการจมอยู่กับอดีต

 



ปมบาดแผลทางใจนานแค่ไหนกว่าจะรักษาหาย?

อย่างไรก็ตามหากประสบการณ์อันเลวร้ายที่เคยเกิดขึ้นสร้างความเครียดและการใช้ชีวิตที่ยากลำบากและไม่สามารถฟื้นคืนหรือดีขึ้นได้เป็นเวลาหลายเดือน ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้และควรรีบไปพบผู้เชี่ยวชาญเพื่อดำเนินการขั้นตอนกระบวนการทำจิตบำบัด ปมบาดแผลทางใจ (Trauma) หากปล่อยทิ้งไว้ย่อมส่งผลเสียต่อทั้งร่างกายและจิตใจที่เรื้อรัง ปัจจุบันมีเครื่องมือที่รักษาบาดแผลทางใจที่มีประสิทธิภาพและได้ผลลัพธ์ที่ดีในระยะเวลาอันสั้นเมื่อเทียบกับการรักษาในแบบเดิมๆ คือ EMDR และBrainspotting therapy สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากข้อมูลทางเวปไซต์ที่เกี่ยวข้อง คลิก EMDR, Brainspotting

เมื่อไรที่ควรมองหาความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยา?

เมื่อไรก็ตามที่ปมบาดแผลทางใจส่งผลต่อสุขภาวะทางจิตใจ เริ่มมีความคิดลบ ความสัมพันธเริ่มมีปัญหา การใช้ชีวิตถูกรบกวนด้วยอารมณ์ความรู้สึกที่แปรปรวนไม่ปกติ เช่น เผชิญกับความรู้สึกเศร้าเป็นระยะเวลานานเกิน 2 สัปดาห์ มีความเครียด วิตกกังวล มีภาวะหมดหวัง สิ้นหวัง มีปัญหาด้านการนอน เบื่ออาหาร มีความเครียดและไม่สามารถจัดการกับมันได้ เหล่านี้ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ควรรีบมาพบนักจิตวิทยาผู้เชี่ยวชาญ



 

สัญญาณที่บอกว่าควรมองหาความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ

1. อารมณ์ไม่ปกติ - มีความเศร้ารุนแรง มีความวิตกกังวล โกรธ หรือภาวะด้านอารมณ์อื่นๆ ที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน

2. พฤติกรรมเปลี่ยนไป - ลักษณะการนอน การกิน หรือการเข้าหาสังคม ไม่เหมือนเดิมแย่ลง

3. จัดการกับความเครียดไม่ได้ - มีปัญหาในการควบคุมจัดการกับความเครียด มีการตอบสนองกับความเครียดและอารมณ์ต่างๆ ในทางลบ

4. มีความคิดลบ - มีความคิดลบกับตัวเองและผู้อื่น หรือสถานการณ์ต่างๆ มักมองว่าทุกอย่างมักจะมีแต่สิ่งร้ายและสิ้นหวังกับทุกสิ่ง

5. มีพฤติกรรมการเสพติดและไม่รักษาสุขภาพ - มีการใช้ยาเสพติด ติดสุรา หรือสารอื่นๆ

6. ปัญหาด้านความสัมพันธ์ - มีปัญหาทะเลาะเบาะแว้งบ่อยๆ สัมพันธภาพกับคนรักมักไม่เชื่อมต่อกัน

7. ผลเสียต่อชีวิตประจำวัน - ปัญหาด้านสุขภาพจิตส่งผลกระทบกับการทำงานการเรียน หรือแม้แต่การทำกิจกรรมที่ชอบ

 

การรักษาบาดแผลทางใจเป็นเรื่องซับซ้อนและมักเกี่ยวข้องกับหลากหลายปัจจัยในการสนับสนุนเพื่อช่วยให้การฟื้นฟูด้านจิตใจมีประสิทธิภาพที่ดีขึ้นอย่างรวดเร็ว มีทั้งปัจจัยภายนอกและภายในที่ไม่ควรมองข้าม ไม่มีการรักษาใดที่จะหายได้ภายในครั้งเดียวดังนั้นควรพิจรณาปัจจัยต่างๆดังต่อไปนี้เพื่อให้เห็นภาพและมองสถานการณ์จากความเป็นจริง

1. ระยะเวลา - การเยียวยาบาดแผลทางใจนั้นใช้เวลาและควรมาบำบัดอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอจนกว่าจะหายดี ดังนั้นจึงควรอดทนกับกระบวนการขั้นตอนและฉลองให้ตัวเองเมื่อพบความก้าวหน้า

2. เทคนิคที่ใช้ - ความแตกต่างเฉพาะบุคคลทำให้วิธีการบำบัดและเทคนิคการรักษาเยียวยาของแต่ละคนอาจไม่เหมือนกัน เทคนิคที่ใช้ในการช่วยเหลือสนับสนุนด้านจิตใจจากผู้เชี่ยวชาญจึงแตกต่างกัน อย่างไรก็ตามผู้เชี่ยวชาญจะให้ความรู้เกี่ยวกับtrauma-informed care เบื้องต้นก่อนเพื่อให้เราไดทำความเข้าใจในกระบวนการต่างๆ เช่น EMDR, CBT, Brainspotting เป็นต้น และเทคนิคในการนำไปใช้เพื่อลดภาวะการเกิดบาดแผลทางใจและอาการผิดปกติต่างๆ หลังเสร็จชั่วโมงการบำบัด

3. การดูแลตัวเอง - หมั่นดูแลใส่ใจตัวเองให้มีสุขภาพกายและใจให้ดีอยู่เสมอ ออกกำลังกายเพื่อสร้างความสมดุลด้านร่างกายและจิตใจ ทานอาหารที่ดี และนอนหลับให้เพียงพอ

4. ความเข้าใจด้านอารมณ์ - รู้เท่าทันอารมณ์ตัวเอง จัดการด้านอารมณ์ตัวเองได้ เช่น โกรธ เครียด กลัว วิตกกังวล เหล่านี้เป็นกุญแจสำคัญในการฟื้นฟูด้านจิตใจ รู้จักให้อภัยตัวเอง ตระหนักรู้ในปัจจัยที่ทำให้ตัวเองติดขัดไม่สามารถไปต่อได้ ให้เวลาตัวเองหยุดพัก อาจถอยกลับไปตั้งหลักและค่อยไปต่อ

5. วิธีผ่อนคลาย - นอกจากการออกกำลังกายเพื่อให้ระดับฮอร์โมนกลับมาสมดุลย์และช่วยให้ร่างกายหลั่งสารเอนโดฟีนสารแห่งความสุขเพิ่มขึ้นแล้ว การเลือกวิธีผ่อนคลาย เช่น ฟังเพลง ดนตรี การเขียนหนังสือ หรือกิจกรรมสร้างสรรค์ต่างๆ ก็เป็นปัจจัยสำคัญในการผ่อนคลายใจ

6. เทคนิคที่ใช้รับมือ - การฝึก Grounding เทคนิค เป็นการฝึกเทคนิคที่ใช้สำหรับรับมือกับภาวะทางจิตใจที่มีอาการไม่ปกติ เป็นการจัดการกับภาวะวิตกกังวล ภาพเหตุการณ์เก่าย้อนมาหลอกหลอน (Flashbacks) ให้กลับมาโฟกัสอยู่กับปัจจุบัน

7. พัฒนาทักษะด้านการฟื้นฟูจิตใจ (Resilience) - เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งต่อการฟื้นฟูสภาวะทางจิตใจ ควรพัฒนาทักษะด้านการฟื้นฟูจิตใจให้มีความแข็งแกร่งและทนทานต่อการเผชิญกับภาวะไม่พึงประสงค์และความท้าทายในชีวิตได้อย่างมีกลยุทธ เทคนิควิธีและมีเกราะในการป้องกันจิตใจตัวเองไม่ให้ถูกทำร้าย

บาดแผลทางใจเป็นประสบการณ์ในชีวิตที่คนเราทุกคนต้องเจอ และการเยียวยาบาดแผลทางใจเป็นเรื่องที่ซับซ้อนแต่ในปัจจุบันวิวัฒนาการด้านความรู้เกี่ยวกับภาวะสุขภาพจิต (Mental health care) ได้พัฒนาไปอย่างมาก มีเครื่องมือทางจิตวิทยาและเทคนิตต่างๆ มากมายที่ช่วยในการฟื้นฟูสภาวะทางจิตใจให้กลับมาเป็นปกติ รวมทั้งการเข้าถึงบริการทางด้านสุขภาพจิตก็รวดเร็วและทันสมัยกว่ายุคก่อน ดังนั้นหากมีปัญหาด้านสุขภาวะทางจิตใจไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ ควรนัดหมายและมาพบผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการบำบัดด้านจิตใจให้กลับมามีชีวิตที่มีความสุขต่อไป

 

 

อ้างอิง

https://www.verywellmind.com/10-ways-to-heal-from-trauma-5206940#:~:text=Exercise%20has%20been%20shown%20to,feel%2Dgood%20chemicals%20like%20endorphins.
https://www.betterhealth.vic.gov.au/health/conditionsandtreatments/trauma-reaction-and-recovery
https://insightspsychology.org/psychology-of-healing-brain-recovery/

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้