จิตบำบัด EMDR ช่วยบำบัด Obsessive Compulsive Disorder (OCD) อย่างไร?

79 จำนวนผู้เข้าชม  | 

จิตบำบัด EMDR ช่วยบำบัด Obsessive Compulsive Disorder (OCD) อย่างไร?


ดร.มฤษฎ์ แก้วจินดา (Ph.D.)
นักจิตวิทยาการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
EMDR Psychotherapy Supervisor and Brainspotting Psychotherapy Practictioner



OCD คืออะไร?

หากเราเคยเผชิญกับภาวะทำอะไรซ้ำๆ เดิมๆ อยู่หลายครั้ง หรือคิดกังวล วิกตกกังวล กลัวเกี่ยวกับสิ่งใดบางอย่างที่ไม่ดีที่อาจเกิดขึ้นซึ่งอาจจะไม่เกิดขึ้นหรืออาจเป็นไปไม่ได้ด้วยซ้ำ หรือบ่อยครั้งที่เราต้องเช็คอะไรบ่อยๆ เช็คแล้วเช็คอีก เพื่อให้เกิดความแน่ใจว่ามันโอเคแล้ว

หรือบางครั้งเรามักหลีกเลี่ยงสถานที่บางที่ เช่น ไม่เดินตามรอยแตกของถนนฟุตบาท มีพฤติกรรมที่เป็นรูปแบบซ้ำๆ เช่น วางจัดเรียงของต้องเป็นลำดับเท่านั้น เลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้เราเป็นกังวลจนเป็นวิตกจริต อาการเหล่านี้อาจเข้าค่ายภาวะ OCD และอาจถึงเวลาที่ต้องไปพบผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาเพื่อให้ช่วยแก้ไขอาการเหล่านี้

 

OCD เป็นลักษณะของภาวะวิตกกังวลที่ผิดปกติ หรือ anxiety disorder ต่างกันที่ OCD มีการทำพฤติกรรมแสดงออกที่ซ้ำๆ ย้ำๆ วนเวียนไปมา ทำแล้วทำอีก

OCD เกี่ยวข้องกับภาวะความผิกปกติด้านความคิด ความกลัวในประสบการณ์บางอย่างและความคิดนั้นเกิดขึ้นส่งผลต่อจิตใจมาอย่างยาวนาน ความคิดวิตกกังวลความกลัวที่ไม่พึงประสงค์มักเกิดขึ้นวนเวียนอยู่ในหัวและสมองไม่สามารถควบคุมความคิดนั้นได้ จึงส่งผลให้เกิดการคิดวนเวียนซ้ำเดิม และส่งผลต่อพฤติกรรมที่ทำซ้ำเดิมๆ ทำซ้ำแล้วซ้ำอีก

 

OCD หรือภาวะย้ำคิดย้ำทำมักส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต ทำให้การใช้ชีวิตประจำวันถูกรบกวนบ่อยและไม่มีความสุข ผลกระทบจาก OCD มักมีอาการและภาวะที่มีความคิดกังวลคอยแทรกขึ้นมารบกวนสมองอยู่เสมอ บ่อยครั้งมีความคิดย้ำๆ ซ้ำๆ ส่งผลต่อพฤติกรรมเช็คแล้ว ทำแล้ว เสร็จแล้ว และกลับไปทำซ้ำเดิมอีกเพื่อให้แน่ใจว่าทำแล้วแน่ๆ เป็นการที่ร่างกายตอบสนองต่อภาวะความวิตกกังวลที่มีอยู่ แต่นั้นไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาและจะกลับไปทำซ้ำเดิมอีกวนไปมา



OCD อาจพบได้หลากหลายอาการในวัยผู้ใหญ่ เช่นบางคนของทุกอย่างต้องแบ่งเป็นครึ่งเท่าๆ กัน หรือทุกอย่างต้องจัดเรียงอย่างเป็นลำดับ ผิดลำดับไม่ได้ บางคนมีความซับซ้อนในพฤติกรรม หรือการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การล้างมือ ล้างแล้วล้างอีกเป็นสิบรอบ หรือการเช็คการล็อคประตูเป็นสิบๆครั้งกับประตูบานเดิม มีความเชื่อหรือความคิดแปลก เช่น ไม่เดินบนพื้นถนนที่มีรอยแตกเพราะจะเกิดความโชคร้าย

อย่างไรก็ตามในปัจจุบันพัฒนาการทางการรักษาภาวะย้ำคิดย้ำทำมีความก้าวหน้าและสามารถที่จะบำบัดผู้มีภาวะ OCD ให้หายได้ และมีทางเลือกหลากหลายวิธีมากขึ้น แต่ก็อยู่กับเราว่าจะเลือกรักษาและบำบัดด้วยวิธีไหนที่เหมาะที่สุด


จิตบำบัด EMDR กับการรักษาโรค OCD 

อาการของ OCD นั้นส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันมากมาย ซึ่งไม่ว่าผู้มีภาวะ OCD จะตระหนักถึงหรือไม่ก็ตามแต่ OCD มักเกี่ยวข้องและเชื่อมโยงกับปมประสบการณ์ด้านลบในอดีต

EMDR Therapy ช่วยรักษาภาวะอาการ OCD ได้อย่างไร?

อาการย้ำคิดย้ำทำมักเป็นผลมากจากความคิดที่โผล่ขึ้นมารบกวน เป็นความคิดวิตกกังวลที่มักส่งผลทำให้เครียด หวาดกลัวอย่างต่อเนื่องซ้ำๆ และเป็นบ่อยๆ การบำบัดด้วยจิตบำบัด EMDR อย่างต่อเนื่องจะสามารถช่วยลดอาการสาเหตุที่ทำให้เกิด OCD ได้

EMDR Therapy จะเข้าทำงานตรงกับต้นตอสาเหตุของความทรงจำที่เป็นปัญหา และช่วยลดความเครียดจากประสบการณ์อันไม่พึงประสงค์ที่เคยผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นปมการถูกทำร้าย ถูกล่วงละเมิด ประสบการณ์ที่ส่งผลต่อความกลัววิตกกังวล ที่มักเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดความคิดที่ไม่เป็นปกติโผล่ขึ้นมาและคอยตามรบกวน

EMDR therapy เป็นการบำบัดที่ได้รับการยอมรับถึงประสิทธิภาพ และมีงานวิจัยสนับสนุนมากมาย จิตบำบัดแบบ EMDR แตกต่างจากการทำจิตบำบัดอย่างอื่น ด้วยวิธีการของ EMDR จะเข้าถึงการทำงานด้านสมองส่วนลึก จิตบำบัดแบบ EMDRจะโฟกัสที่ความคิด พฤติกรรม และสมองส่วนที่ทำการควบคุมอารมณ์ซึ่งเป็นผลกระทบจากปมบาดแผลทางใจในอดีต

EMDR Therapy สามารถช่วยบำบัด OCD ได้ด้วยวิธีการเข้าถึงความกลัว หรือ ความทรงจำเก่าที่ถูกเก็บซ่อนไว้ในสมอง และนำกลับออกมาเพื่อเผชิญหน้าอีกครั้ง ในระหว่างนี้อาจพบว่าสัมผัสทางร่ายกายอาจถูกกระตุ้นจากการเชื่อมโยงของสมองกับความทรงจำในอดีต

อย่างไรก็ตาม EMDR therapy สามารถช่วยให้เราเข้าถึงเครื่องมือในการจัดการควบคุมพฤติกรรมและอารมณ์ที่เป็นผลมาจากาการตอบสนองของปมความทรงจำที่ค้างในใจได้และ สามารถช่วยให้เราควบคุมสถานการณ์ที่เกิดจากการถูกกระตุ้นได้ดีขึ้น ช่วยให้เรารับมือกับการตอบสนองทางร่ายกายเมื่อได้รับการช่วยเหลือและทำบำบัดโดยผู้เชี่ยวชาญด้านEMDR Therapy ที่ได้อบรมและฝึกปฎิบัติมาเป็นอย่างดีเท่านั้น

 

คนส่วนใหญ่ที่ทุกข์ทรมานจาก OCD ได้ประโยชน์จากการทำจิตบำบัดด้วย EMDR  โดยดูจากผลงานวิจัยที่เผยให้เห็นว่า ความมีประสิทธิภาพของ EMDR therapy สามารถช่วยลดอาการผลกระทบที่เกิดจาก OCD ได้ถึง 80% ในคนที่ทนทรมานกับความวิตกกังวล หรือ ต้องเผชิญกับความกลัวอยู่ตลอดเวลา รวมทั้งบำบัดเยียวยาอาการวิตกกังวลขั้นรุนแรงได้ด้วย

จากการศึกษาของทีมนักวิจัยเผยให้เห็นว่า EMDR therapy สามารถช่วยให้ภาวะอาการของโรคOCD ในผู้ที่มาบำบัดที่และผู้เข้ารับบริการยังไม่เคยได้รับการบำบัดมาก่อนเลยด้วยวิธีอื่น EMDR Therapy สามารถช่วยลดภาวะ ความวิตกกังวลและอาการต่างๆของโรคOCD ได้เป็นอย่างดี



จิตบำบัดแบบ EMDR สามารถช่วยให้คนที่มีปัญหาจาก OCD สามารถชี้ชัดถึงปัญหาและความท้าทายที่เป็นอุปสรรคต่อความคิด ความเชื่อที่ส่งผลต่อพฤติกรรมของผู้ป่วย OCD ได้

บ่อยครั้งที่ผลการศึกษาพบว่าความผิดปกติเกี่ยวกับ OCD มักเป็นผลมาจากความคิดด้านลบ บิดเบือน หรือ ความคิดที่มักถูกรบกวนอยู่ตลอดเวลา จิตบำบัดแบบ EMDR สามารถช่วยจัดการกับความคิดที่เป็นปัญหาและช่วยจัดระเบียบด้านความคิดที่ซับซ้อนให้สามารถกลับมาทำงานได้อย่างเป็นปกติ เป็นการช่วยลดความคิดที่ไม่เป็นปกติและอาการคิดวนคิดซ้ำ ทำพฤติกรรมซ้ำๆ วนๆ ที่เกิดจากความคิดที่จัดการแก้ไขไม่ได้ให้สามารถจัดการได้



จิตบำบัดแบบ EMDR สามารถช่วยให้คนที่เผชิญกับภาวะ OCD สามารถเรียนรู้ทักษะใหม่ในการจัดการกับปัญหาด้านภาวะทางจิต ซึ่งส่วนใหญ่คนที่มีภาวะ OCD มักจะโฟกัสไปที่พฤติกรรมความผิดปกติจนทำให้ลืมที่จะใช้ชีวิตปกติในปัจจุบัน และมักหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้ตัวเองเพลิดเพลินสนุกสนาน บางครั้งอาจแยกตัวและอยู่แบบโดดเดี่ยว ด้วยกระบวนการบำบัดแบบEMDR สามารถช่วยให้ภาวะ OCD กลับมาเชื่อมโยงและเชื่อมต่อกับการใช้ชีวิตและหาวิถีทางใหม่ๆ ในการนำชีวิตกลับมามีความสนุกสนานเพลิดเพลินได้อีกครั้ง

หากเคยรักษา OCD ด้วยวิธีอื่นแล้วไม่ได้ผลอาจถึงเวลาต้องลองเปลี่ยนเทคนิควิธี หากสนใจเกี่ยวกับ EMDR Therapy เพิ่มเติมสามารถสอบถามเจ้าหน้าที่ของ Better Mind Mental Health Service หรืออ่านบทความเพิ่มเติมอื่นๆ เกี่ยวกับจิตบำบัดแบบ EMDR ได้ที่ blog ของเวปไซต์

 

 

อ้างอิง

https://tobybarrontherapy.com/blog/emdr-for-ocd/#:~:text=benefit%20from%20EMDR.-,EMDR%20has%20been%20shown%20to%20be%20an%20effective%20treatment%20for,your%20anxiety%20and%20OCD%20symptoms.

https://psychcentral.com/ocd/emdr-for-ocd#recap

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้