3721 จำนวนผู้เข้าชม |
Narcissistic gaslighting คืออะไร?
ดร.มฤษฎ์ แก้วจินดา (Ph.D.)
นักจิตวิทยาการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
EMDR Psychotherapy Supervisor and Brainspotting Psychotherapy Practictioner
ทำความเข้าใจระหว่าง Narcissistic และ Gaslighting
Narcissistic หรือ Narcissistic Personality Disorder (NPD) รู้จักกันในอาการของโรคหลงตัวเอง NPD เป็นความผิดปกติด้านบุคลิกภาพ มักแสดงออกด้วยการให้ความสำคัญกับตนเองเป็นหลัก ต้องการความชื่นชมยกย่องและการยอมรับจากผู้อื่น โดยเฉพาะความต้องการความสนใจจากสังคมเป็นอย่างมาก ไม่แคร์ความรู้สึกคนอื่นหรือไม่เห็นอกเห็นใจผู้อื่น มีความมั่นใจสูงและรับไม่ได้กับคำวิพากวิจารณ์ใดๆ
ส่วน Gaslighting เป็นพฤติกรรมที่ผิดปกติในบุคคลที่ต้องการควบคุมจิตใจผู้อื่น อาจใช้เทคนิคการสร้าสถานการณ์ซ้ำๆ สร้างเรื่องขึ้นมาเพื่อหลอกให้เหยื่อหลงเชื่อเพื่อเปลี่ยนการรับรู้และบิดเบือนความเป็นจริง พฤติกรรมGaslighting บางครั้งมักกระทำโดยคนที่มีภาวะ NPD เพื่อต้องการควบคุม และมีอำนาจเหนือผู้อื่น อย่างไรก็ตามเราไม่สามารถเหมารวมได้ว่าคนที่เป็น NPD ทุกคนจะมีพฤติกรรม Gaslighting เช่นเดียวกันกับคนที่มีพฤติกรรม Gaslighting ทุกคนก็อาจไม่ถูกระบุได้ร้อยเปอร์เซนต์ว่าเป็นคนที่มีบุคลิกภาพบกพร่องอย่าง NPD เสมอไป
ทั้งนี้ทั้งนั้น หากเกิดเกิดพฤติกรรม Gaslighting ในสัมพันธภาพนับว่านั่นเป็นความสัมพันธ์ที่ไม่ดีหรือเป็นพิษ ควรต้องได้รับความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาในการออกจากสถานการณ์ดังกล่าว
การตกเป็นเหยื่อของบุคคลที่แสดงพฤติกรรม Gaslighting มักสร้างประสบการณ์ด้านลบในหลายด้าน ที่เห็นชัดเจนคือเหยื่อผู้ถูกกระทำอาจเกิดความสงสัยหรือมีคำถามในใจเกี่ยวกับความคิดของตัวเอง มีความระแวงในความเชื่อมั่นและความสามารถของตัวเอง ส่งผลต่อความมั่นใจ และในที่สุดอาจหลงเชื่อคิดไปว่าเป็นดังนั้นจริง หรือคิดว่าตัวเองกำลังป่วยทางจิตอยู่ และอาจมีความคิดว่าตนเองไม่มีความสามารถในการตัดสินใจ และอาจต้องอาศัยผู้อื่นมาช่วยเป็นผู้ชี้นำชีวิตของตนเองแทน
ลักษณะบุคลิกภาพของคนที่เป็น Narcissist เป็นอย่างไร?
Narcissistic มักมีลักษณะอย่างน้อย 5 ประการตามรายการด้านล่าง
1. หมกมุ่น
คลั่งไคล้ในอำนาจ และความสำเร็จ ความเป็นอัจฉริยะ หรือบางคนคลั่งไคล้ในความรัก
2. มีความหยิ่งพยอง
ในความสำคัญของตัวเอง เช่น ความสำเร็จของตัวเอง คาดหวังการว่าผู้อื่นต้องให้ความสำคัญ ชื่นชมโดยไม่มีที่ติ หรือมีใครอื่นมาเทียบได้
3. ต้องการการยอมรับ
และชื่นชมอย่างล้นหลามเกินจริง
4. ไม่สนใจความรู้สึกผู้อื่น
ไม่มีความเห็นอกเห็นใจ ไม่ใส่ใจต้องการหรือความจำเป็นของผู้อื่น
5. มีความเชื่อว่าตัวเองเป็นคนพิเศษ
และต้องการอยู่ในสังคมที่มีอภิสิทธิชนพิเศษเท่านั้น
6. ขี้อิจฉา
ไม่ยินดีกับความสำเร็จของผู้อื่นและมักคิดว่าผู้อื่นอิจฉาตน
7. ชอบแสดงพฤติกรรมว่าตนเองดีกว่า
เหนือกว่าผู้อื่น และมีทัศนคติดูถูก พูดจาดูหมิ่นผู้อื่น
8. ต้องการสิทธิพิเศษกว่าคนอื่นอยู่ตลอดเวลา
คิดว่าตนเองเป็นเจ้าของโลกใบนี้ และความคาดหวังการตอบสนองด้านความพึงพอใจที่เกินความเป็นจริง ไม่สมเหตุสมผล
9. มักถือเอาประโยชน์และความสำเร็จของผู้อื่นมาเป็นของตน
เอาเปรียบผู้อื่นเพื่อให้ตัวเองไปสู่ความสำเร็จ
พฤติกรรม Gaslighting เป็นอย่างไร?
Gaslighting เป็นการใช้ Psychological manipulation หรือ การชักจูง โน้มน้าวใจ
เป็นการควบคุมความคิดจิตใจคนอื่น gaslighting จะทำให้เหยื่อเกิดความระแวงสงสัยในตัวเอง ทำให้เหยื่อรู้สึกเหมือนตนเองขาดความสามารถด้านความคิด อาจสร้างเรื่องให้เหมือนว่าความทรงจำของเหยื่อผิดเพี้ยน รู้สึกสับสน ไม่แน่ใจ เป็นการกระทำโดยตั้งใจและจงใจจากอีกฝ่าย โดยมีการวางแผนเพื่อให้เหยื่อเกิดความสับสนในความคิด และไม่สามารถเชื่อใจในความคิดของตนเองได้
ประสบการณ์ Gaslighting หากโดนกระทำเป็นระยะเวลายาวนานจะทำให้เกิดความอ่อนแอด้านจิตใจ จนอาจเกิดเป็นโรควิตกกังวล ซึมเศร้า และมีปัญหาด้านความเชื่อมั่นตก จนรู้สึกว่าไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้ และก็จะเข้าสู่ขั้นตอนที่ Gaslighter ต้องการนั่นคือการควบคุม ชี้นำ ทำให้เหยื่ออยู่ภาวะต้องพึ่งพิง และรู้สึกเหมือนไม่สามารถทำอะไรด้วยตัวเอง ทำให้เหยื่อขาดความเชื่อมั่นและมักทำการแยกตัวเหยื่อออกจากสังคมครอบครัว เพื่อนฝูง คนที่เหยื่อรู้จักเพื่อตัดการเชื่อมต่อจากภายนอก
พฤติกรรม Gaslighting เป็นการทำร้ายจิตใจแบบค่อยเป็นค่อยไป บ่อยครั้งไม่แสดงออกอย่างชัดเจนจนเหยื่ออาจไม่ฉุกคิดหรือได้ทันรู้ตัวว่ากำลังตกเป็นเหยื่อของพฤติกรรม Gaslighting
เอาตัวรอดอย่างไรหากกำลังถูก Gaslighting?
Gaslighting เป็นรูปแบบของการทำร้ายด้านจิตใจ และสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกความสัมพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นกับชีวิตคู่ ชีวิตครอบครัว เพื่อนฝูง เจ้านาย หรือเพื่อนร่วมงาน สถานการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้เรารู้สึกสับสนและเคลือบแคลงสงสัยในตัวเองและสิ่งที่เรารับรู้ รวมทั้งความเชื่อที่เคยมี
หากเกิดความสงสังว่าเรื่องนี้จริงหรือเปล่า ถูกต้องหรือไม่ หากมีคำถามเหล่านี้เกิดขึ้นในใจให้สงสัยว่าเราอาจจะถูก Gaslighting อยู่ก็ได้ คำถามง่ายๆ เช่น
เนื่องด้วย Gaslighter มักขาดการตระหนักรู้ในสิ่งที่ตนเองทำลงไปและมักไม่แคร์ความรู้สึกของคนอื่น หรือไม่แม้รู้ตัวว่ากำลังคุกคาม และกำลังควบคุมผู้อื่นอยู่
ส่วนใหญ่พฤติกรรมเหล่านี้มักเป็นผลสืบเนื่องมาจากปัญหาในวัยเด็กด้านความสัมพันธ์ อย่างไรก็ตามหาก Gaslighting เกิดในสัมพันธภาพระหว่างคู่ชีวิตหรือชีวิตคู่ ควรรีบแก้ไขโดยด่วนและไม่ควรปล่อยทิ้งไว้หรือทำเฉยเพราะจะเป็นการเสริมพลังงานด้านลบให้เพิ่มมากขึ้นในการใช้ชีวิตคู่ร่วมกัน
2. สื่อสาร และลงมือปฏิบัติการ
เมื่อเราตระหนักถึงพฤติกรรมที่เป็นการทำร้ายจิตใจเราแล้ว เราควรมีการสื่อสารคุยกันอย่างตรงไปตรงมา ถึงผลกระทบของคู่ชีวิตที่เกิดขึ้นกับเรา หากเราเงียบไม่สื่อสารจะเป็นการสร้างเสริมแรงกระทำด้านลบต่อพฤติกรรมเหล่านั้นให้มีมากขึ้น
วิธีสื่อสารเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพกับคู่ชีวิตที่มีพฤติกรรม Gaslighting อาจทำได้ดังนี้
และระวังพฤติกรรมเมื่อเผชิญหน้ากับ Gaslighter
หากมีพฤติกรรมที่เป็นพิษ ส่งผลกระทบต่อคนรอบข้าง
เพื่อทำ counseling และทำจิตบำบัด
ความสัมพันธ์ที่เป็นพิษแบบ Gaslighting ที่ต้องการควบคุม และคอนโทรลอีกฝ่ายนั้นไม่เคยเป็นเรื่องที่ควรยอมรับได้ วิธีรับมือกับความสัมพันธ์แบบ Gasligting ที่ดีที่สุดคือต้องให้ผู้กระทำมองเห็นผลกระทบของพฤติกรรมของตัวเองและควรได้รับการรักษาด้านพฤติกรรมด้วยการไปพบกับผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาในการทำจิตบำบัด และรับแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างจริงจังในเชิงบวกและสร้างสรรค์โดยไม่มีอคติเอนเอียงเข้าข้างตัวเอง
อย่างไรก็ตามหากคู่ของเราไม่ยอมไปพบผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาเพื่อทำการบำบัด และยืนกรานว่าจะไม่ลองไป แม้คุณจะพยายามทุกวิถีทางเท่าไรก็ตาม ก็ควรต้องกลับมาทบทวนและพิจรณาถึงความสัมพันธ์ที่ผ่านมา และควรทำใจเพื่อปล่อยความสัมพันธ์เช่นนี้ไป เพราะมันอาจเป็นหนทางที่ดีกว่าในการเยี่ยวยาจิตใจที่บอบซ้ำของตัวเองเพื่อให้กลับมาแข็งแรงและเติบโตก้าวหน้าได้อีกครั้ง
อ้างอิง
https://www.talkspace.com/mental-health/conditions/articles/narcissistic-gas-lighting/
https://psychcentral.com/disorders/narcissist-gaslighting#:~:text=Narcissistic%20gaslighting%20is%20a%20form,sanity
https://happyproject.in/gaslighting-vs-brainwashing/
https://www.forbes.com/sites/traversmark/2022/09/24/a-psychologist-offers-3-strategies-to-stop-a-gaslighter-in-their-tracks/?sh=6b09a81a58c0