1125 จำนวนผู้เข้าชม |
ดร.มฤษฎ์ แก้วจินดา (Ph.D)
Dr. Marid Kaewchinda
นักจิตวิทยาการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
นักจิตบำบัด EMDR Psychotherapy/ Brainspotting Psychotherapy Practitioner
Emotional validation
คือการที่ปัญหาถูกรับฟังอย่างเข้าใจ เวลามีอุปสรรค์ เจอความยากลำบาก ไม่สบายใจ ทุกข์ใจ และสามารถระบายความทุกข์ที่มีกับใครสักคน หรือคู่ชีวิตของตนหรือคนสนิทใกล้ชิดที่ไว้ใจได้เกี่ยวกับประสบการณ์ที่ไม่ดีที่ได้พบเจอ การได้บอกเล่าถึงความรู้สึกนึกคิดและมีคนรับฟัง ถึงแม้จะเป็นประสบการณ์ด้านลบ หรือความคิดด้านลบก็ตาม และใครคนนั้นยอมรับฟังอย่างตั้งใจ เข้าใจ เห็นใจ โดยไม่ตัดสิน ไม่ต่อว่า ดุด่า หรือดูถูกดูแคลน แม้จะมีความคิดเห็นขัดแย้งอยู่ในใจก็ตาม
จะเกิดอะไรขึ้นหากชีวิตคู่ขาด Emotional Validation?
หากชีวิตคู่ขาด Emotional validation หรือเสียงของอีกฝ่ายไม่ได้ถูกรับฟัง หรือถูกได้ยินจะทำให้เกิดความรู้สึกถูกทอดทิ้ง โดดเดี่ยว ทำให้สัมพันธภาพบ่อยครั้งขาดความเข้าใจ ส่งผลให้เกิดการไม่ยอมรับอีกฝ่าย และมักสร้างให้เกิดอารมณ์หงุดหงิด ซึ่งต่อมาทำให้สะสมเป็นความขัดแย้งได้
Emotion validation ถ้าเปรียบเทียบไปก็จะเหมือนกับ เวลาที่มีความทุกข์ ไม่สบายใจแล้วอยากแชร์ให้คนที่ใกล้ชิดสนินสนมและไว้ใจที่สุดในชีวิตฟัง ก็คือคู่ชีวิตนั่นเอง เพื่อให้อีกฝ่ายทำหน้าที่รับฟัง เห็นอกเห็นใจ อาจไม่จำเป็นต้องเข้าใจในทุกปัญหาหรือรายละเอียดแต่แค่รับฟังและให้กำลังใจเป็นคำพูดปลอบโยนบ้าง อย่างไรก็ตามหากความทุกข์ใจหรือปัญหาของอีกฝ่ายไม่ได้รับการรับฟัง ก็จะเปรียบเหมือนคนกำลังจะตกเหว แล้วไม่ได้รับความช่วยเหลือจากคนที่ไว้ใจที่สุดในชีวิต ซึ่งเป็นการทำลายสัมพันธภาพชีวิตคู่ลงอย่างย่อยยับและหลังจากนั้นความทุกข์เศร้า เสียใจก็จะเปลี่ยนกลายเป็นความโกรธเกลียด และเกิดเป็นการไม่ยอมรับและต่อต้านอีกฝ่ายในเวลาต่อมา
หากภาวะด้านอารมณ์หรือประสบการณ์ด้านลบ และความรู้สึกนึกคิดที่อึดอัดนั้นไม่ได้รับการรับฟัง หรือถูกปฎิเสธ ไม่มีใครสนใจหรือไม่แคร์ความรู้สึกก็จะสร้างให้อีกฝ่ายเกิดความเจ็บปวดและความผิดหวัง ซึ่งส่งผลทำให้เกิดภาวะแยกตัวออกจากกัน เนื่องจากรู้สึกว่าตนไม่มีคุณค่า ไม่มีความสำคัญ บางครั้งรู้สึกเสียหน้าและอับอายในการแชร์ความรู้สึกที่อ่อนแอที่สุดของตนให้คนที่ไว้ใจแต่ไม่ได้รับการรับฟัง
สภาวะแบบนี้เรียกว่า emotional invalidation เป็นการไม่ได้รับความสนใจในความรู้สึกนึกคิด ซึ่งถือว่าเป็นการทำร้ายด้านจิตใจอย่างร้ายแรง และถือว่าเป็นพิษต่อความสัมพันธ์เป็นอย่างยิ่ง emotional invalidation เป็นลักษณะหนึ่งของการถูกกระทำด้านจิตใจและเมื่อเวลาผ่านไปจะเกิดเป็นปมที่ค้างในใจทำให้ผู้ถูกกระทำรู้สึกว่าตัวเองถูกด้อยค่า ไม่มีความสำคัญ และในที่สุดอาจจะมองหาการยอมรับในรูปแบบอื่นๆจากภายนอกเพื่อเป็นการชดเชยหรือพิสูจน์ความมีคุณค่าของตนเอง
Emotional validation ดีกับการใช้ชีวิตคู่อย่างไร?
ในทางกลับกันหากการใช้ชีวิตคู่มีการตระหนักและให้ความสำคัญกับ Emotional validation ก็เป็นการเพิ่มประสบการณ์ด้านบวกให้กับชีวิตคู่ ช่วยเสริมสร้างความเชื่อใจและความเชื่อมั่น เป็นการสานสัมพันธภาพด้านความผูกพันให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น และเป็นการเพิ่มความมั่นใจให้ชีวิตคู่ในการฝ่าฟันอุปสรรคร่วมกันให้ผ่านพ้นไปให้ได้หากเจอสถานการณ์เลวร้ายเกิดขึ้นในรูปแบบต่างๆและที่สำคัญเป็นการลดโอกาสในการสร้างความขัดแย้งที่อาจจะเกิดขึ้นในสัมพันธภาพชีวิตคู่ได้อีกด้วย
Emotional validation มีความสำคัญและถือเป็นทักษะที่ช่วยพัฒนาด้านความสัมพันธไม่ใช่แค่ในการดำเนินชีวิตคู่เท่านั้นแต่ยังเป็นทักษะที่ส่งผลดีต่อสัมพันธภาพในรูปแบบอื่นๆด้วย ทั้งสัมพันธภาพกับลูกๆ เพื่อนๆ และคนใกล้ชิดอื่นๆ การฝึกฝนทักษะนี้เป็นการฝึกฝนทักษะด้านการสื่อสารที่สร้างความเข้าใจ มีความเห็นอกเห็นใจและฝึกการยอมรับ และควรได้รับการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ ด้วยเทคนิควิธีดังต่อไปนี้
ฝึกทักษะ Emotional Validation ด้วยเทคนิคดังนี้
1. ตระหนักรู้ว่าอีกฝ่ายมีอารมณ์ และความรู้สึกอย่างไร
บางครั้งอาจต้องใช้การฟังอย่างตั้งใจและค้นหาคำตอบให้ได้ว่าอีกฝ่ายมีความรู้อย่างไรที่แท้จริงในกรณีที่อีกฝ่ายยังสับสนกับตัวเอง ไม่รู้ว่าตัวเองมีความรู้สึกอะไรกันแน่ และเพื่อเป็นการติดตามรวมทั้งเปิดการเข้าถึงประสบการณ์ของอีกฝ่ายด้วย
2. ซักถาม
ฝึกฝนความใส่ใจและอยากเรียนรู้เรื่องของอีกฝ่าย อาจสอบถามให้ลึกขึ้นเพื่อเข้าใจในสถานการณ์ของอีกฝ่ายและเข้าถึงสถานการณ์ที่อีกฝ่ายได้เผชิญมา
3. สัมผัสและรับรู้ถึงความรู้สึกของอีกฝ่าย
ฝึกการสังเกตจากภาษาทางกายและใช้ประสบการณ์ตัวเองร่วมด้วยในการเข้าถึงความรู้สึกข้างใจที่อีกฝ่ายได้ประสบมา และระวังคำพูดให้มาก ควรพูดให้อ่อนโยน ใช้การสื่อสารแบบที่แสดงออกถึงว่าเราเข้าใจว่าคู่ของเราไปเจอกับอะไรมาและมันหนักหนาสาหัสมากขนาดไหน รับรู้และเข้าถึงความรู้สึกนั้นให้เหมือนมันเกิดขึ้นกับเราเอง
และให้ระวังไม่ควรใช้คำพูดเหล่านี้
· เธออ่อนไหวง่ายเกินไป
· เธอไม่จำเป็นต้องแก้ปัญหาได้ทุกอย่างหรอก
· แบบนี้สถานการณ์น่าจะแย่งลง
· ฉันไม่เห็นว่ามันจะเป็นปัญหาเลย
· ไม่ต้องกังวลไปหรอกเดี๋ยวมันก็ดีขึ้น
· เธอก็ชอบเอาตัวไปอยู่ในสถานการณ์แบบนี้ตลอด
· ร้องไห้ก็ไม่ได้ช่วยอะไร มันเกิดซ้ำเดิมอีกแล้ว
4. ให้การคอนเฟริม
แสดงการยืนยันที่พิสูจน์มาแล้วว่าประสบการณ์นี้หรือความรู้สึกนี้เลวร้ายรุนแรงและส่งผลกระทบด้านจิตใจต่อคนที่เรารักจริงๆ ซึ่งเราสัมผัสถึงผลกระทบนี้ได้ด้วยเช่นกัน
ท้ายสุดคือการฝึกฝนทักษะการรับฟังอย่างเข้าใจ เข้าถึงความรู้สึก เห็นอกเห็นใจ และรับรู้ว่าสิ่งที่คนรักได้เผชิญมาส่งกระทบต่อความรู้สึกนึกคิดจากประสบการณ์ที่เขาถ่ายทอด และหมั่นคอยให้การช่วยเหลือsupport ด้านจิตใจโดยไม่ต้องพยายามเสนอแนะวิธีใดของเราเพื่อคาดหวังให้เขาต้องปฎิบัติตาม แค่รับฟังคอยเป็นกำลังใจก็จะช่วยทำให้ความสัมพันธในชีวิตคู่เจริญเติบโต และมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นหลังผ่านอุปสรรค์และความทุกข์ใจก็จะช่วยทำให้สัมพันธภาพแข็งแกร่งขึ้น
หากรู้สึกว่าการผ่านอุปสรรคความทุกข์ใจ หรือสัมพันธภาพในชีวิตคู่อาจต้องได้รับการช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญก็ควรรีบมาพบนักจิตวิทยา ไม่ควรรอช้าหรือปล่อยปัญหาจนสายเกินไป
อ้างอิง
sapsychotherapy.com/how-does-emotional-validation-affect-us/
https://coloradocouples.com/what-is-validation-why-is-it-important-to-my-relationship-and-how-do-i-do-it/#:~:text=Emotional%20validation%20is%20critical%20in,misunderstood%2C%20rejected%2C%20and%20frustrated.
https://calmerry.com/blog/emotions/the-power-of-emotional-validation-why-we-need-it-and-how-to-practice-it/
https://calmerry.com/blog/emotions/the-power-of-emotional-validation-why-we-need-it-and-how-to-practice-it/