EMDR Therapy อธิบายให้เข้าใจง่ายภายใน 3 นาที

8523 จำนวนผู้เข้าชม  | 

EMDR Therapy อธิบายให้เข้าใจง่ายภายใน 3 นาที

EMDR Therapy อธิบายให้เข้าใจง่ายภายใน 3 นาที

ดร.มฤษฎ์ แก้วจินดา (Ph.D)
Dr. Marid Kaewchinda 
นักจิตวิทยาการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
นักจิตบำบัด EMDR Psychotherapy/ Brainspotting Psychotherapy Practitioner



จิตบำบัดอีเอ็มดีอาร์คืออะไร?

EMDR Therapy หรือ Eye movement desensitization and reprocessing Therapy เป็นการทำจิตบำบัดด้วยเทคนิควิธีเฉพาะโดยการนำเอาวิธีการเคลื่อนไหวสายตาเข้ามาใช้เพื่อให้สมองจัดการกับความทรงจำที่ไม่พึงประสงค์จากอดีตที่ยังติดค้างอยู่ในความทรงจำให้ไหลเวียนออกไป

การทำจิตบำบัดแบบ EMDR ไม่เหมือนกับการบำบัดด้วยวิธีทั่วไปอื่น

EMDR Therapy เป็นการทำจิตบำบัด ถูกคิดค้นโดย Francine Shapiro ในปี ค.ศ. 1989 ซึ่งเป็นวิธีรักษาด้านจิตใจที่ได้ผลที่สุดและเป็นนวตกรรมใหม่ที่สุดในวงการจิตบำบัดเมื่อเทียบกับเทคนิควิธีอื่นที่เคยมีมา  และด้วยประสิทธิภาพอันน่าทึ่งในการรักษาจึงทำให้ EMDRเป็นเทคนิควิธีด้านจิตบำบัดที่แพร่หลายและถูกใช้ไปทั่วโลกในอย่างรวดเร็วในวงการจิตวิทยา




เทคนิควิธีการแบบจิตบำบัดEMDR จะไม่เน้นการพูดสนทนา ไม่เน้นเล่าหรือลงลึกในรายละเอียดของประสบการณ์อันเลวร้ายที่ได้ผ่านพบมา แต่จะเน้นไปที่การทำงานกับภายในของผู้เข้ารับบำบัดในเรื่องของอารมณ์ ความคิด จิตสำนึก พฤติกรรม ที่เป็นผลมาจากภาวะความเครียดและความกังวลจากเหตุการณ์และประสบการณ์อันเลวร้ายเหล่านั้น  

เทคนิคจิตบำบัดแบบ EMDR เน้นการทำงานตรงกับความทรงจำที่เป็นสาเหตุทำให้เกิด trauma หรือปมบาดแผลทางใจ กระบวนการเทคนิควิธีแบบEMDR จะทำให้สมองได้ปลดล็อคถูกจุด และถูกกระตุ้นให้เกิดการฟื้นฟูอย่างเป็นธรรมชาติ

 



ใครบ้างที่ต้องการจิตบำบัดแบบ EMDR?

จิตบำบัดแบบ EMDR สามารถช่วยด้านสุขภาพจิตในคนที่มีปัญหาให้กับคนในวงกว้าง ไม่ว่าจะเป็นเยาวชน วัยรุ่น ผู้ใหญ่ทุกระดับอายุ รวมทั้งเด็กด้วย

 



ทำไมต้องใช้การบำบัดด้วยเทคนิคจิตบำบัด  EMDR?

เนื่องจาก EMDR therapy ไม่จำเป็นต้องลงรายละเอียดเกี่ยวกับประเด็นที่ทำให้เกิดปมบาดแผล EMDR เน้นโฟกัสไปที่การปรับเปลี่ยนสภาวะทางอารมณ์ ความคิด พฤติกรรมที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากประสบการณ์เลวร้ายที่เคยเกิดขึ้น และการทำงานกับสมองเพื่อให้เกิดการฟื้นฟูจิตใจไปตามธรรมชาติ

การทำงานด้านจิตใจ กับสมอง ของเทคนิค EMDR จะแตกต่างกับวิธีอื่นๆ ตรงที่ ผู้เชี่ยวชาญด้าน EMDR Therapy เชื่อว่าสมองที่ทำหน้าที่เก็บรวบรวมความคิดความทรงจำ ความเชื่อและประสบการณ์ประกอบกันทำให้เกิดเป็นตัวเรา ตัวตนแท้จริงของเรา

 



ในขณะที่ จิตใจทำงานโดยอาศัยโครงสร้างการทำงานของสมองในการสร้างเครือข่าย เชื่อมโยง สื่อสารกับเซลล์ในระบบต่างๆ โดยเฉพาะอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับจิตใจคือการทำงานและการสื่อสารของเซลล์ด้านความทรงจำกับการรับรู้และประสาทสัมผัสต่างๆ การเชื่อมโยงสื่อสารของระบบประสาทและเซลล์มีความไวต่อการรับรู้ไม่ว่าจะเป็นการมองเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น รสชาติ สัมผัส ซึ่งล้วนเชื่อมโยงกับความทรงจำและสามารถนำความทรงจำเก่ากลับมาได้อีก

 



การทำงานของ EMDR Therapy ช่วยเรื่องความทรงจำอันเลวร้ายให้ดีขึ้นได้อย่างไร?

EMDR Therapy เป็นการทำงานด้วยหลัก Adaptive Information Processing (AIP model)  โดยหลักการนี้ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตบำบัด EMDR เชื่อว่าสมองเป็นที่รวบรวมความคิดและเป็นคลังความทรงจำ ทฤษฎี AIP ได้ถูกพัฒนาขึ้นโดย Francine Shapiro, Ph.D. นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน โดยเชื่อว่าสมองของเราแยกเก็บความทรงจำอันเลวร้ายกับความทรงจำที่ปกติด้วยวิธีการที่แตกต่างกัน

ถ้าเป็นความทรงจำปกติสมองจะมีการจัดเก็บอย่างราบลื่น มีการเชื่อมโยงกับเซลล์ประสาทอื่นๆ ทำให้เกิดการทำงานและการเก็บความทรงจำนั้นสมบรูณ์ แต่ในทางกลับกันหากเราเจอประสบการณ์ที่ไม่ดี ไม่พึงประสงค์ เหตุการณ์เลวร้าย สมองจะทำงานแบบไม่ต่อเนื่อง ไม่เชื่อมโยง ตัดขาดการติดต่อกับเซลล์อื่นๆ ทั้งด้านสัมผัสรับรู้ การมองเห็น การได้ยิน และความทรงจำจะถูกจัดเก็บที่ซ่อนอยู่ภายในสมองส่วนลึกและไม่เปิดโอกาสให้การทำงานของระบบประสาทได้มีการซ่อมแซมและรักษาเยียวยา

 



การที่ระบบเซลล์ทำงานไม่เชื่อมโยงจึงมีผลทำให้ไม่มีการสื่อสารไปยังเซลล์ประสาทเพื่อส่งสัญญาณแจ้งข้อมูลว่าความอันตรายที่เกิดขึ้นนั้นได้จบลงแล้ว จึงทำให้สมองและข้อมูลความทรงจำถูกจัดเก็บไม่สมบรูณ์ เกิดเป็นปมบาดแผลทางไม่ได้รับการรักษาเยียวยา และเมื่อไรก็ตามที่เกิด เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้สัมผัส เหตุการณ์คล้ายเดิมเซลล์ที่ไม่มีการเชื่อมต่อกับความทรงจำที่จัดเก็บไม่สมบรูณ์จะพร้อมตอบสนองกับการถูกกระตุ้นจากความทรงจำที่เป็นปมบาดแผลที่ได้ถูกจัดเก็บไว้ในสมองส่วนลึกอยู่แล้ว จึงมักส่งผลทำให้เรารู้สึกกลัว กังวล ทุกข์ใจ โกรธ หรือ แพนิค

ทั้งหมดนี้เรียกว่าภาวะ post-traumatic stress disorder (PTSD) เป็นปมบาดแผลทางใจที่ทำให้เราเกิดมีอาการเห็นภาพเหตุการณ์เลวร้ายเดิมย้อนกลับขึ้นมาในความทรงจำอย่างควบคุมไม่ได้ (flashback)

 



EMDR Therapy จัดการซ่อมแซมและจัดเก็บความทรงจำให้ถูกระเบียบได้อย่างไร?

เมื่อเริ่มกระบวนการ EMDR Therapy จะมีขั้นตอนการเข้าถึงเหตุการณ์อันเลวร้าย ไม่พึงประสงค์เหล่านั้นในเทคนิควิธีเฉพาะของEMDR โดยใช้การเคลื่อนไหวสายตาเข้าร่วมเพื่อช่วยการทำงานของสมองให้จัดการกับความทรงจำให้ไว้ขึ้น

แต่อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าในช่วงแรกๆ ความทรงจำอันเจ็บปวดจะทำให้ยากต่อการทนทานหรือรับไหวแต่อย่างน้อยการทำให้สมองได้ปลดล็อคจากเทคนิค EMDR จะช่วยให้เราสามารถรับมือจัดการอารมณ์และความรู้สึกอ่อนไหว หรือรุนแรงได้

 

ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาใช้ EMDR Therapy บำบัดอาการใดบ้าง?

โดยทั่วไปการรักษาด้วย EMDR ได้ผลที่มีประสิทธิภาพโดยตรงกับการรักษาปมบาดแผลทางใจ (PTSD) แต่เมื่อได้บำบัดผู้เชี่ยวชาญกลับพบว่ามีอาการอื่นๆอีกมากมายที่ดีขึ้นหลังทำบำบัดด้วยจิตบำบัด EMDR เช่น

  • Anxiety disorders ภาวะวิตกกังวล โรคตื่นตระหนก หวาดกลัวบางสิ่งบางอย่าง โรคกลัวสังคม หรือกลัวบางสิ่ง
  • Depressive disorders ภาวะโรคซึมเศร้า ซึมเศร้าเรื้อรัง ความเจ็บป่วยทางร่างกายที่เป็นผลมาจากภาวะซึมเศร้า
  • Dissociative disorders ภาวะไม่เชื่อมโยงกับตัวเองหรือโรคหลายบุคลิกภาพ ไม่เชื่อมโยงกับความเป็นจริง สับสนในตัวตนของตนเอง หรือมีอาการความจำขาดหาย จำอดีตไม่ได้ ความคิดไม่เป็นระบบ (Amnesia)
  • Eating disorders โรคเกี่ยวกับการกินผิดปกติ มากเกินไปหรือน้อยไปจนเกินพอดี
  • Gender dysphoria ภาวะสับสนทางเพศสภาพ
  • Obsessive-compulsive disorders โรคย้ำคิดย้ำทำ ที่การจัดเก็บความทรงจำอันเลวร้ายนี้สมองมักจะจัด body dysmorphic disorder เป็นภาวะที่เกี่ยวกับไม่ชอบรูปร่างตัวเอง มีความคิดลบเกี่ยวกับรูปลักษณ์ตัวเองอยู่ตลอดเวลา ซึ่งอาจเสี่ยงต่อการทำร้ายร่างกายตัวเองหรือฆ่าตัวตายได้ และ Hoarding disorder คืออาการสะสมของทุกอย่าง ไม่กล้าทิ้ง ถ้าต้องทิ้งจะเกิดความเครียด
  • Personality disorders ภาวะบุคลิกภาพบกพร่อง เช่น โรคอารมณ์รุนแรง ควบคุมความโกรธตัวเองไม่ได้ โรคหลีกหนีสังคม โรคต่อต้านสังคม เป็นต้น
  • Trauma disorders โรคที่เกิดจากปมบาดแผลทางใจ เช่น โรคเครียดจัด รุนแรง โรค PTSD และโรคการปรับตัว เป็นต้น

 




 

จิตบำบัด EMDR จะนำสมองเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูด้านจิตใจด้วยการทำงานกับความทรงจำและภาวะด้านอารมณ์ด้วยการใช้เทคนิคที่ฝึกฝนเพื่อให้สภาพจิตใจได้เกิดความแข็งแรงเพิ่มความทนทาน และไม่ถูกกระตุ้นได้ง่าย

เทคนิควิธีด้านจิตบำบัด EMDR เป็นกระบวนการเร่งให้สมองด้านความคิดและความทรงจำได้รับการเยียวยาฟื้นฟูให้กลับสู่ปกติอย่างรวดเร็วโดยอาศัยการฟื้นฟูของสมอง หากความเครียด ความทุกข์ โรคซึมเศร้า หรือปัญหาด้านสุขภาพจิตที่เป็นมายาวนานเรื้อรังและไม่ดีขึ้น อยากให้ลองทำจิตบำบัดด้วย EMDR Therapy เพื่อให้สมองและจิตใจได้รับการฟื้นฟูและเยียวยาด้วยวิธีธรรมชาติอย่างถาวร

 

อ้างอิง

https://my.clevelandclinic.org/health/treatments

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้