จิตบำบัดEMDR กับ Stabilization เทคนิค จำเป็นอย่างไรในการรักษาโรคซึมเศร้า?

1545 จำนวนผู้เข้าชม  | 

จิตบำบัดEMDR กับ Stabilization เทคนิค จำเป็นอย่างไรในการรักษาโรคซึมเศร้า?

จิตบำบัด EMDR กับ Stabilization เทคนิค จำเป็นอย่างไรในการรักษาโรคซึมเศร้า?

ดร.มฤษฎ์ แก้วจินดา
Dr. Marid Kaewchinda (Ph.D)
นักจิตวิทยาการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
นักจิตบำบัด EMDR Psychotherapy/ Brainspotting Psychotherapy Practitioner



Stabilizationเทคนิคสำคัญอย่างไรต่อการทำจิตบำบัดEMDR เพื่อรักษาโรคซึมเศร้า

ในการทำจิตบำบัดEMDR เพื่อรักษาอาการบาดแผลทางใจหรือTrauma ที่ทำให้เกิดภาวะ PTSD  โรคซึมเศร้า หรืออาการเจ็บป่วยด้านจิตใจอื่นๆ สิ่งที่สำคัญมากและขาดไม่ได้เลยคือการฝึกทักษะเบื้องต้นหรือเทคนิค stabilization

 
ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตบำบัดEMDR จะมีการถ่ายทอดเทคนิค Stabilization ให้กับผู้รับบำบัดก่อนเป็นอันดับแรกเพื่อให้พร้อมที่จะสามารถรับมือเมื่อถูกตัวกระตุ้นจากเหตุการณ์ในอดีต หรือจากปัจจัยภายนอกอื่นๆได้  การฝึกเทคนิคstabilization ช่วยให้การทำจิตบำบัดEMDR สามารถก้าวไปสู่ขั้นตอนต่อไปในการจัดการกับประเด็นปัญหา และสาเหตุที่เป็นต้นตอทำให้เกิดปมบาดแผลทางใจอย่างเช่นภาวะซึมเศร้าหรือความเจ็บป่วยทางใจในรูปแบบอื่นๆได้

ความเจ็บป่วยด้านจิตใจ ไม่ได้มีแค่โรคซึมเศร้า ความเครียด ความวิตกกังวล นอนไม่หลับหรือแพนิคแอคเทคเท่านั้น  แต่ยังมีอาการอื่นๆอีกมากมายที่เกิดจากความเจ็บป่วยทางจิตใจที่สะสมมาเป็นเวลานานและไม่ได้รับการแก้ไขจนลุกลามบานปลายกลายเป็นปัญหาด้านสุขภาพจิตที่รุนแรงในรูปแบบอื่นๆ เราสามารถนำเทคนิค stabilizationนี้ไปใช้เพื่อรับมือกับภาวะด้านจิตใจที่อาจหวนกลับมารบกวนความคิด ความรู้สึก และสร้างให้เกิดความเครียด ความวิตกังวลให้เราเรื่อยๆได้ อาการเจ็บป่วยทางจิตใจมักส่งผลกระทบต่ออาการแสดงออกทางกายในรูปแบบต่างๆ

การฝึกเทคนิคstabilization  จึงเป็นการเตรียมเราให้พร้อมก่อนที่จะเข้าสู่กระบวนทำจิตบำบัดEMDR ที่สามารถช่วยให้เราเผชิญหน้ากับการถูกรบกวนด้านจิตใจอีกครั้งได้เป็นอย่างดี จิตบำบัดแบบEMDR สามารถเข้าจัดการแก้ไขภาวะความเจ็บป่วยทางจิตใจให้เป็นปกติได้ โดยเฉพาะโรคซึมเศร้า หรือ panic attack อย่างไรก็ตามควรได้รับการฝึกฝนเทคนิคstabilizationในระดับดีเพียงพอในการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่กระบวนการทำบำบัดEMDR เสมอ กระบวกการในการทำงานของจิตบำบัดแบบ EMDR จะเจาะลึกถึงต้นตอสาเหตุที่ทำให้เกิดปมบาดแผลที่ส่งผลต่ออาการเจ็บป่วยด้านจิตใจและทำการแก้ไขปมปัญหาเหล่านั้น การทำงานลงลึกกับสมองในการจัดระบบการประมวลผลของความทรงจำอันเลวร้ายเป็นกระบวนการทางธรรมชาติในการเยี่ยวยาแบบจิตบำบัดEMDR

 
 

 

เทคนิคจิตบำบัด EMDR หรือกระบวนการในการทำEMDR Therapy นับว่าเป็นเครื่องมือที่ได้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพปลอดภัยมากที่สุดในระยะเวลาอันสั้นเมื่อเทียบกับการทำบำบัดแบบtalk-therapy หรือ กระบวนการปรึกษาแบบcounseling ทั่วไป

อย่างไรก็ตามการทำจิตบำบัดEMDR ต้องอาศัยความมุ่งมั่นตั้งใจและความต่อเนื่องสม่ำเสมอจนกว่าจะเห็นผลการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น จากข้อมูลอ้างอิงของสมาคมจิตวิทยาหรือ APA (American Psychological Association) มีการเก็บตัวอย่างและสำรวจพบว่าคนส่วนใหญ่ที่หายจากโรคซึมเศร้า วิตกกังวล และไบโพล่า มีการเข้ารับบำบัดด้วยจิตบำบัดแบบEMDR ต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 15-20 ครั้ง และเห็นผลถึงความเปลี่ยนแปลงที่แตกต่าง ผลลัพธ์ทางการเปลี่ยนแปลงทำให้ชีวิตดีขึ้นกลับมามีความสุขได้อีกครั้ง


 

EMDR Therapy มีการทำงานตรงกับสมองทั้งสองด้าน ทั้งซ้ายและขวา และกระบวนแบบจิตบำบัด EMDR ทำให้ความทรงจำที่เคยติดขัดส่งผลต่อความเจ็บป่วยได้ไหลลื่น ผลลัพธ์ทำให้หายจากอาการบาดแผลทางใจ วิตกกังวล นอนไม่หลับ panic attack อารมณ์ที่แปรปรวนกลับดีขึ้นเนื่องจากไม่ถูกรบกวนจากความทรงจำหรือประสบการณ์อันเจ็บปวดที่คอยหวนกลับมาทำร้ายจิตใจอีก การเข้ารักษาบำบัดด้วยEMDR อย่างต่อเนื่องจึงเป็นสิ่งที่สำคัญหากต้องการผลลัพธ์ที่น่าพอใจ

 EMDR Therapyมีกี่ขั้นตอน?

EMDR มีทั้งหมด 8 phrases

ขั้นเตรียมตัวประกอบไปด้วย

 1. เช็คประวัติและวางแผนการรักษา


2. เรียนรู้ฝึกฝน Stabilization เทคนิค

เริ่มเข้าสู่กระบวนการ

3.  การใช้เครื่องมือเทคนิคบำบัดใจ 

4.  การเข้าจัดการกับความทรงจำด้านลบ

5.  เทคนิคติดตั้งประสบการณ์ด้านบวก

6.  สำรวจและจัดการกับปมบาดแผลทางใจที่เป็นสาเหตุให้ร่างกายเจ็บป่วย

7.  การปิดประสบการณ์เลวร้ายที่ซ่อนอยู่ จัดเก็บประมวลผลทางสมองใหม่

8.  การประมวลผลเสร็จสมบรูณ์พร้อมเริ่มการบำบัดในประเด็นต่อไป

 

การจิตบำบัดEMDR ได้เข้าจัดการแก้ไขด้านความทรงจำอันเลวร้ายเพื่อให้ถูกลดความรุนแรงและสร้างการรับรู้ความทรงจำด้านบวกให้กับสมองทำให้เกิดความเข้มแข็งและพร้อมที่จะทำงานในประเด็นต่อไปตามเป้าหมายที่วางไว้

ปมบาดแผลทางใจ ที่อาจซ่อนอยู่ตามร่ายกายและอาการภาวะทางใจและความเครียดได้รับการช่วยเหลือแก้ไขให้สมบรูณ์และสงบลงและเกิดการประมวลผลใหม่ขึ้นโดยจะเกิดผลทางความคิดในสมองด้านบวกและประเด็นปัญหาถูกจัดเก็บโดยถูกต้องสมบรูณ์

EMDR เป็นการรักษาอาการทางจิตใจที่เกี่ยวโยงกับความเจ็บป่วยทางกายให้ดีขึ้น ปมบาดแผลทางใจที่ไม่ได้รับการรักษาให้หายอาจทำให้ร่างกายเจ็บป่วยเรื้อรังเป็นภาวะความเจ็บปวดที่ซ่อนอยู่ตามร่ายกาย เมื่ออาการภาวะทางจิตใจ หรือความเครียดได้รับการช่วยเหลือแก้ไขให้จัดเก็บอย่างสมบรูณ์และมีความสงบในจิตใจ สมองจะเกิดการประมวลผลใหม่ขึ้นโดยจะเกิดผลทางความคิดในสมองด้านบวกและไม่กลับมาสร้างความเจ็บปวดอีก 


หลังจากทำบำบัดด้วยEMDR ผู้เชี่ยวชาญจะแนะนำให้หาเวลาผ่อนคลาย ผู้เข้ารับการบำบัดควรให้ร่ายกายได้รับการพักผ่อนอย่างเต็มที่ เนื่องจากในกระบวนการทำจิตบำบัดEMDR นั้นร่ายกายอาจมีการตอบสนองแสดงปฎิกิริยาต่อปมบาดแผลที่อยู่ในใจและส่งผลต่อความเจ็บปวดต่อร่างกายในหลายๆจุด จิตบำบัดEMDR  เป็นการจัดการกับบาดแผลทางใจที่อาจส่งผลต่อการกระตุ้นการทำงานด้านร่ายกาย ความอ่อนไหวง่าย EMDR therapy จึงจัดเป็นการบำบัดแบบที่ส่งผลแสดงทางกาย หรือsomatic therapy

ดังนั้นเมื่อเสร็จกระบวนการรักษาในแต่ละครั้งควรให้ร่างกายได้รับการพักผ่อนและดูแลร่ายกายอย่างเต็มที่ด้วยการทำกิจกรรมตัวอย่างนี้


กิจกรรมผ่อนคลายหลังจบการบำบัดด้วยEMDR

 1.  ดื่มน้ำมากๆ

2.  นอนหลับพักผ่อนตามปกติ

3.  ดูหนัง ฟังเพลงหรืออาบน้ำ

4.  เพิ่มสติการรับรู้ห้กับประสาทสัมผัสทั้ง5 เช่น ดื่มน้ำเย็นและให้รับรู้ถึงการไหลผ่านลงไปที่คอ

5.  บริหารร่างกายเช่น โยคะ
 

เทคนิคที่ควรฝึกฝนหลังจบการทำ EMDR ทุกครั้งคืออะไร?

ในการทำEMDR Therapyผู้มารับบริการบำบัดจะได้เรียนรู้ทักษะและเทคนิคการทำ stabilization ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญมาก อย่างไรก็ตามหากเราเคยทำ counseling หรือเคยเข้ารับบริการด้านการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบtalk- therapy

ผู้เชี่ยวชาญอาจสอนเทคนิคที่เรียกว่า grounding   ซึ่งจัดอยู่ในหมวดเทคนิคด้านการฝึกฝนสมาธิความสงบทางจิตใจในกลุ่มเดียวกัน ทั้ง stabilization และ grounding  เป็นเทคนิคทางจิตวิทยาที่ใช้เมื่อเกิดภัยความรู้สึกเครียด วิตกกังวล แพนิค หรืออาการอื่นๆที่อาจเกิดจากการถูกรบกวน การนำเทคนิคเหล่านี้ไปใช้ก็เพื่อช่วยเราให้สามารถดึงสติกลับมาจดจ่ออยู่กับปัจจุบัน ไม่ให้จิตใจ และความคิดล่องลอยหรือฟุ้งซ่าน และผลสำรวจพบว่า เทคนิค grounding  และ เทคนิคstabilization ส่งผลดีต่อการทำจิตบำบัด EMDR  และช่วยให้ได้ผลลัพธ์ที่ไวขึ้น

หากผู้รับการบำบัดด้วยจิตบำบัดแบบEMDR หมั่นฝึกฝนเทคนิคgrounding และ stabilization ที่เหมาะกับตัวเองเป็นประจำจะสามารถช่วยลดภาวะอาการแพนิค เครียด วิตกกังวล ซึมเศร้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากฝึกจนชำนาญจะช่วยลดภาวะซึมเศร้าให้หายเป็นปกติได้โดยไม่ต้องพึ่งยา และเทคนิคstabilization และ grounding นี้ยังสามารถช่วยจัดการกับอาการภาวะทางจิตใจที่ไม่พึงประสงค์ต่างๆที่ส่งผลแสดงออกเป็นความเจ็บปวดด้านร่างกายได้ เช่นภาวะนอนอนไม่หลับ ใจสั่น เหงื่อแตกพล่าน กลัวตาย หรือมีความคิดทำร้ายตัวเองให้ทุเลาและค่อยๆดีขึ้นจนหายเป็นปกติได้


การเรียนรู้เทคนิค stabilization และ grounding ก็เพื่อการจัดการกับภาวะอาการทางจิตใจที่ถูกรบกวนจากปมบาดแผลทางใจ ประสบการณ์ชีวิตด้านลบต่างๆจนเกิดเป็นความผิดปกติที่แสดงออกทางกาย และมักเกิดขึ้นโดยไม่มีสัญญาณแจ้งเตือน ส่วนใหญ่เกิดขึ้นโดยกะทันหัน เช่น แพนิคแอคเทค (panic attack) วิตกกังวล เครียด ซึมเศร้า (depression) นอนไม่หลับ มีความคิดลบ ความทรงจำอันเลวร้ายย้อมกลับมาในหัว(flashback) กลัวบางสิ่งบางอย่าง (phobia)  มีความคิดทำร้ายตัวเอง อยากฆ่าตัวตาย หรือ อาการด้านจิตเวชอื่นๆที่ทำให้ร่ายกายเจ็บป่วยเรื้อรังหาและสาเหตุไม่พบ Stabilization เทคนิค และ grounding เทคนิค สามารถช่วยเราให้เกิดการรับรู้อยู่กับปัจจบันโดยไม่หลงไปในอดีตที่กลับไปแก้ไขไม่ได้ และไม่เป็นโรควิตกกังวลไปในอนาคตที่ยังไม่เกิดขึ้น ทำให้เรามีสติมีความสงบอยู่กับปัจจุบันไม่ฟุ้งซ่าน

3 เทคนิค stabilizationที่ใช้ในจิตบำบัดEMDR ส่วนใหญ่มีดังนี้?

1.  Butterfly Hug

เป็นเทคนิคที่ช่วยให้เกิดการกระตุ้นการทำงานของสมอง2ด้านเพื่อใช้ในการลดผลกระทบด้านความวิตกกังวล ความเครียด และจัดการกับความคิดลบ

2.  Visual Grounding    

ช่วยด้านอารมณ์ที่ตึงเครียด ความคิด ความรู้สึก ประสบการณ์ที่เจอมา เน้นประสาทสัมผัสทั้ง 5 การรับรู้ทางกาย การฝึกการหายใจ และการสร้างสถานที่ปลอดภัย

3.  Coherent Breathing


การฝึกหายใจที่เชื่อมต่อระหว่างการทำงานของสมองและหัวใจ การจะควบคุมการจังหวะการเต้นของหัวใจได้ต้องควบคุมสมองให้ได้ก่อน

 
 


นอกจากเทคนิค stabilization และ grounding อื่นๆที่ผู้เชี่ยวชาญอาจใช้ร่วมด้วยมีดังนี้

 1. ฝึกถอนหายใจ (Physiological Sighing)  

ช่วยให้ร่างกายได้ลดความดันเลือดที่จะเข้าสู่หัวใจทำให้อาการวิตกกังวล และเครียดลดลง วิธีฝึกคือให้กำหนดลมหายใจเข้า-ออก ครั้งละ2 วินาที 6 เซ็ต

2.  ฝึกตะโกนไร้เสียง (Silent yelling)

เป็นการทำให้สมองลองเปลี่ยนโฟกัสไปใช้อวัยวะส่วนอื่นแทนเมื่อเจอตัวกระตุ้นเช่น ให้ทำหน้าตะโกนแต่ไม่มีเสียงออกมาแต่ให้ไปแสดงการเคลื่อนไหวที่ท้องแทน
 
3.  เดินทำสมาธิ (Mindfulness walk)

ช่วยให้เกิดการรับรู้ถึงระบบประสาทสัมผัสทั้งหมดในขณะเดิน ฟังเสียง มองเห็น รับรู้สัมผัส เพื่อลดความเครียด และความวิตกกังวลภายในใจ
 

4. หายใจนับสายรุ้ง (Rainbow breathing)

เป็นการช่วยเพิ่มออกซิเจนให้สมองและร่างกาย เพื่อช่วยลดภาวะความเครียด วิตกกังวล โดยใช้การฝึกหายใจให้เข้าไปให้ลึกถึงอก กระบังลม ท้อง และหายใจออกทางปากโดยจินตนาการให้การหายใจเพิ่มขึ้นตามสีของสายรุ้งจนครบและทำซ้ำอีกจินตนาการหายใจออกโดยสีสายรุ้งค่อยๆหายไปจนครบหมดทุกสี ช่วยให้สมองมีการรับรู้แบบมีสติและสมองมีจุดโฟกัสมากขึ้น หากไม่สามารถจินตนาการได้ให้วาดภาพรุ้งในกระดาษแทนได้

5.  สร้างจินตนาการ (Daydream)

เป็นการกระตุ้นสมองให้นำความทรงจำหรือจิตนาการด้านบวกกลับมาเพราะบางครั้งการดำเนินชีวิตถูกปกคลุมไปด้วยความเครียดที่เป็นมลพิษและการตอบสนองมักเป็นด้านลบจึงต้องได้รับการกระตุ้นประสบการณ์

เทคนิคStabilization และ Grounding  สำคัญอย่างไรต่อการทำจิตบำบัด EMDR

Stabilization และ Grounding คือการฝึกฝนเทคนิคด้านจิตวิทยาเพื่อให้ดึงจิตใจของตัวเองออกมาจากภาวะความทรงจำอันเลวร้าย หรือ ทรงจำด้านลบที่ไม่พึงประสงค์

Stabilization และ grounding techniques สามารถช่วยให้เราโฟกัสอยู่กับปัจจุบัน โดยดึงความสนใจเราออกไปจากความคิดฟุ้งซ่านที่เราหวนนึกถึงแล้วทำให้ส่งผลต่อความวิตกกังวลในจิตใจ รวมถึงอาจไปกระตุ้นอารมณ์ความรู้สึกด้านลบให้กลับมาอยู่กับช่วงเวลาในปัจจุบัน

เทคนิค Stabilization และ Grounding มีประโยชน์อย่างไรบ้าง?

การทำเทคนิคstabilization และ grounding ก็เพื่อให้เรามีพื้นที่ในการพักใจกับความรู้สึกในเหตุการณ์ที่สร้างความไม่ปกติด้านจิตใจและช่วยลดภาวะอาการต่างๆดังต่อไปนี้
  • ช่วยลดความวิตกกังวล (Anxiety)
  • ทำให้มีสุขภาพใจที่แข็งแรง( well-being)
  • ลดความเครียด (Stress)
  • ช่วยอาการภาวะโรคซึมเศร้า (Depression)
  • ช่วยด้านอารมณ์ (Mood)
  • ช่วยลดปมบาดแผลทางใจ( PTSD)
  • ช่วยรักษาโรคไม่เชื่อมโยงกับตัวเอง (dissociation)


สามารถสรุปสั้นๆได้ว่าเทคนิค stabilization และ grounding  ในการทำจิตบำบัด EMDR จะโฟกัสอยู่3 ระดับคือ

1.       สงบด้านร่างกาย Physical stabilization

2.       สงบด้านจิตใจ Mental stabilization

3.       ผ่อนคลาย Soothing stabilization
 
การทำเทคนิค stabilization และ grounding  มีความยาก ง่ายต่างกัน และความถนัดหรือเหมาะที่แตกต่างกันไปในแต่ละคน ดังนั้นเมื่อเลือกเทคนิคที่เหมาะสมกับตัวเองได้แล้วควรหมั่นฝึกฝนทุกวันเพื่อให้เกิดความชำนาญในการนำไปใช้ให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดในกระบวนการบำบัดจิตใจแบบ EMDR และเอาไว้รับมือกับภัยอันตรายที่มีจากภาวะด้านจิตใจที่ไม่พึงประสงค์ได้

นอกจากนี้เทคนิค stabilization และ grounding  ยังมีประโยชน์สำหรับบุคคลทั่วไปหากนำไปใช้ก็สามารถเกิดประโยชน์แก่ตัวเองได้เช่นกัน หมั่นฝึกฝนสมาธิ ความสงบ การควบคุมสติ และฝึกลมหายใจเข้า-ออก  มีการรับรู้ถึงประสาทสัมผัสและสิ่งรอบตัวอยู่กับปัจจุบัน ไม่คิดลบหรือคิดฟุ้งซ่านก็จะทำให้สุขภาพจิตใจมีความสงบเป็นปกติสุขได้

 

 

 

 
 

อ้างอิง

https://emdrhealing.com/3-simple-emdr-exercises/

https://archhealthcare.uk/wp-content/uploads/2022/06/Homeless-Health-Conference-22-Stabilisation-Grounding-Techniques-Dr-G-Schnitzer-Mental-Health-Homeless-Team-.pdf

www.youniversetherapy.com/post/requirements-prior-to-trauma-processing-in-emdr-therapy

https://catalystcenterllc.com/self-care-series-self-care-post-emdr/

https://www.healthline.com/health/grounding-techniques#physical-techniques

The Integration of EMDR With the Trauma Resiliency Model

https://www.psychologytoday.com/us/blog/building-resiliency-to-trauma/202307/the-integration-of-emdr-with-the-trauma-resiliency-model

https://www.psychologytoday.com/us/blog/building-resiliency-to-trauma/202307/integration-of-trauma-resiliency-model-skills

https://www.healthline.com/health/grounding-techniques#soothing-techniques

https://www.mind.org.uk/information-support/types-of-mental-health-problems/dissociation-and-dissociative-disorders/coping-with-dissociation/#:~:text=Grounding%20techniques%20can%20help%20you,Breathing%20slowly%20while%20counting

https://www.today.com/health/mind-body/butterfly-hug-rainbow-breathing-relieve-stress-anxiety-rcna24055

https://www.bokettocenter.com/blog/2020/7/15/grounding-tools-for-managing-trauma-triggers

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้