2748 จำนวนผู้เข้าชม |
ดร มฤษฎ์ แก้วจินดา (Ph.D)
นักจิตวิทยาการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
นักจิตบำบัด EMDR Psychotherapy/ Brainspotting Psychotherapy
เป็นเรื่องธรรมชาติที่มนุษย์จะต้องเผชิญกับความรู้สึกเศร้าโศก ซึมเศร้า เสียใจ หรือรู้สึกแย่บ้างในบางเวลา แต่ก็จะค่อยๆดีขึ้นได้เอง
อย่างไรก็ตามหากอาการเหล่านั้นอยู่นานเป็นหลายสัปดาห์ หลายเดือน หรือนานนับปีโดยไม่สามารถเอาชนะอาการเหล่านั้นได้ อาจไม่ใช่เรื่องปกติอาการแบบนี้อาจเป็นสัญญาณปัญหาของโรคซึมเศร้าได้
โรคซึมเศร้านั้นเกิดได้ทั้งกับเด็กและผู้ใหญ่ โดยเฉพาะวัยรุ่นผู้ปกครองควรหมั่นสังเกตอาการและพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป
ควรหมั่นพูดคุยสอบถามความชีวิตความเป็นอยู่ ควรมีการสื่อสารเพื่อสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับลูกวัยรุ่น
โรคซึมเศร้าในวัยรุ่นมักส่งผลเสียด้านการควบคุมอารมณ์ และส่งผล กระทบต่อการดำเนินชีวิต การใช้ชีวิตให้เป็นปกติสุขเป็นไปได้ยาก
โรคซึมเศร้ายังส่งผลต่อการเรียน การนอนหลับพักผ่อน การกินที่เป็นปกติ หรือทัศนคติการใช้ชีวิต โดยเฉพาะส่งผลลบต่อพลังงานในการทำกิจกรรมต่างๆ ซึ่งเป็นอุปสรรค์ต่อการทำสิ่งที่เคยชอบมาก่อนหรือสิ่งที่เคยรักและเพลิดเพลินที่เคยอยากทำ
โรคซึมเศร้าในวัยรุ่นเกิดจากหลายสาเหตุ
เช่นการรับรู้กับสิ่งแวดล้อมรอบข้างที่เกิดขึ้น การมองตัวเอง หรือความรู้สึกที่มีเกี่ยวกับตัวเอง หากมีทัศนคดิที่เป็นลบกับตัวเองหรือคนอื่นจะทำให้อยากแยกตัวออกจากสังคม
คนที่เผชิญกับภาวะซึมเศร้ามักจะมีความรู้สึกโดดเดี่ยว เหมือนไม่มีใครเข้าใจตนเอง มักรู้สึกแย่กับตัวเอง บ่อยครั้งชอบโทษตัวเอง และเกิดความไม่เห็นคุณค่าในตัวเอง
ผู้ปกครองและคนรอบข้างควรหมั่นสังเกตการพูดสื่อสารหรือพฤติกรรมเหล่านี้และควรให้กำลังใจ รักและเอาใจใส่ดูแลด้วยการสร้างสภาพแวดล้อมที่มีทัศนคติด้านบวกต่อการใช้ชีวิตให้กับลูก
โรคซึมเศร้าในวัยรุ่นมักเกิดขึ้นจากจุดเล็กๆ และขยายใหญ่เพิ่มขึ้นโดยที่เจ้าตัวอาจไม่ทันสังเกต ดังนั้นผู้ปกครองจึงควรหมั่นดูแลสุขภาพร่างกายและจิตใจของลูกวัยรุ่นให้ดีและเป็นปกติอยู่เสมอ
โรคซึมเศร้าในวัยรุ่นจะดีขึ้นได้หากได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างถูกวิธี
เมื่อรู้ตัวว่าอาจเกิดภาวะซึมเศร้ากับตัวเองควรทำดังนี้
ผู้ปกครองควรช่วยเหลือลูกวัยรุ่นอย่างไร?
โรคซึมเศร้าในวัยรุ่นเป็นปัญหาใหญ่ที่ส่งกระทบต่อการใช้ชีวิต จากสถิติพบว่า 1 ใน 5 ของวัยรุ่นมักทุกข์ทรมานจากโรคซึมเศร้าโดยไม่ได้รับการช่วยเหลือ
โรคซึมเศร้าในวัยรุ่นเป็นปัญหาที่มากกว่าปัญหาด้านอารมณ์ที่ หงุดหงิด ฉุนเฉียว รุนแรง หรือเศร้าโศรกเสียใจโดยทั่วๆไป
แต่ภาวะซึมเศร้าเป็นปัญหาด้านสุขภาพจิตที่ส่งผลกระทบที่ค่อนข้างรุนแรงต่อการใช้ชีวิตในทุกลักษณะ ความรักและความช่วยเหลือจากพ่อ แม่ ผู้ปกครองสามารถช่วยให้ชีวิตลูกกลับมาดีดังเดิมได้ และควรสังเกตอาการ หรือสัญญาณที่บ่งบอกภาวะของโรคซึมเศร้า
โรคซึมเศร้าในวัยรุ่นไม่ใช่แค่เพียงปัญหาด้านการมีอารมณ์แปรปรวน ผลกระทบด้านลบที่เป็นมากกว่านั้นคือ โรคซึมเศร้า มีภาวะเสียใจ สิ้นหวังและคิดจะจบชีวิตที่ทุกข์ทรมานด้วยการฆ่าตัวตาย โรคซึมเศร้สส่งผลต่อการใช้ชีวิต ส่งผลต่อความคิดและทัศนคติต่อตัวเอง
โรคซึมเศร้าทำลายความมั่นใจและความหวังในการต่อสู้ดำเนินชีวิตและมักส่งผลเสียด้านบุคคลิคภาพ
ผู้ปกครองควรหมั่นสังเกตพฤติกรรมต่อต้าน หรือการกระทำที่ไม่ส่งผลดีต่อสุขภาพ หรือพยายามทำบางอย่างเพื่อให้หลุดพ้นจากความทุกข์ทรมานใจ เช่น
หากลูกวัยรุ่นมีพฤติกรรมดังที่กล่าวมาควรได้รับการช่วยเหลือจากผู้ใหญ่โดยทันที นอกจากนี้ควรหมั่นสังเกตสัญญาณอาการของโรคซึมเศร้าจากพฤติกรรมเหล่านี้เช่นกัน เช่น พฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง ส่วนใหญ่พฤติกรรมรุนแรงในวัยรุ่นชาย มักมีสาเหตุจากการเคยตกเป็นเหยื่อของการกระทำอันรุนแรงมาก่อน
รวมถึงพฤติกรรมดังต่อไปนี้ที่ผู้ปกครองควรให้ความใส่ใจเป็นพิเศษ และให้การช่วยเหลือในทันที เช่น มีปัญหาพฤติกรรมการกิน และการนอนที่ผิดปกติ อย่างเช่นนอนทั้งวัน หรือ นอนไม่หลับ หรือ กินเยอะและกินน้อยจนผิดปกติ
ปัญหาโรคซึมเศร้าในวัยรุ่นอาจมีเหตุและปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้เกิดปัจจัยเสี่ยง ดังนั้นผู้ปกครองควรให้ความใส่ใจทั้งในเรื่องของสภาพร่างกายการเปลี่ยงแปลงของฮอร์โมนในวัยที่จะเริ่มเปลี่ยนแปลงไปเป็นผู้ใหญ่
และสภาพทางจิตใจปัญหาสังคมทั้งที่โรงเรียนและที่บ้าน การพูดคุยสื่อสารกันในครอบครัวเมื่อลูกเริ่มก้าวเข้าสู่วัยรุ่นในเรื่องของความปลอดภัยในการใช้ชีวิต เช่น การป้องกันอันตรายต่างๆ ไม่ประมาท หรือการทำให้ตัวเองปลอดภัยหากต้องการมีเพศสัมพันธ์ หรือพิษภัยของการยุ่งเกี่ยวกับสารเสพติด และการเปลี่ยนแปลงด้านอารมณ์ และ พฤติกรรม ทัศนคติต่อการใช้ชีวิตอาจช่วยลูกป้องกันภาวะซึมเศร้าได้ในเบื้องต้น
อย่างไรก็ดีควรเชื่อในสัญชาติญาณของการเป็นพ่อ –แม่ หากมีความผิดปกติเกิดขึ้นกับลูกอย่าได้ละเลย หรือนิ่งเฉย ผู้ปกครองจะรู้จักลูกดีที่สุด ให้การช่วยเหลือ รับฟัง และช่วยลูกวัยรุ่นคิดหาทางวิธีทางออกในชีวิตเป็นสิ่งที่สำคัญมาก
หลายโปรแกรมและหลายหน่วยงานที่คอยช่วยเหลือผู้ปกครองที่มีลูกวัยรุ่น หมั่นหาข้อมูลและติดตามข่าวสารเพื่อการเลี้ยงลูกวัยรุ่นอย่างเข้าใจและห่างไกลจากโรคซึมเศร้า หากไม่มั่นใจในแนวทางการสื่อสารกับลูกวัยรุ่นหรือแนวทางในการจัดการกับปัญหาพฤติกรรมที่เกิดขึ้น ผู้ปกครองสามารถขอรับคำแนะนำจากนักจิตวิทยาผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กและวัยรุ่น
อ้างอิง
https://kidshealth.org/en/parents/adolescence.html#catbehavior
https://discoverymood.com/blog/is-your-teen-depressed/