745 จำนวนผู้เข้าชม |
เอาตัวรอดอย่างไรหากตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงในครอบครัว
โดย ดร. มฤษฎ์ แก้วจินดา ( Ph.D.) นักจิตวิทยาการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
รู้หรือไม่ว่า?
ในประเทศไทยผู้หญิงตกเป็นเหยื่อการกระทำรุนแรงในครอบครัว สูงถึงร้อยละ 81% ในปี 2564
และปัญหาความรุนแรงในครอบครัวเป็นปัญหาใหญ่ระดับชาติเนื่องจากงานวิจัยชี้ให้เห็นว่าผู้หญิงที่เป็นเหยื่อของการกระทำรุนแรงในครอบครัวด้วยการทำร้ายร่างกายจากคู่สมรสมักมีผลกระทบด้านลบมากมายตามมา
จากงานวิจัยเผยให้เห็นว่า เด็กมักเป็นพยานรู้เห็นเหตุการณ์ความรุนแรงในครอบครัวซึ่งในระยะต่อมาทำให้เกิดความไม่ปกติด้านอารมณ์ และถูกทำร้ายด้านจิตใจซึ่งเมื่อโตขึ้นก็จะแสดงออกพฤติกรรมที่รุนแรงเช่นเดียวกันทำให้ไม่สามารถพัฒนาความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่นได้
การพยายามหนีออกจากสถานการณ์ความรุนแรงในครอบครัวอาจไม่ใช่เรื่องง่ายหากมีความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนเข้ามาเกี่ยวข้องเช่น มีลูกด้วยกัน อย่างไรก็ตามหากเราตั้งสติและค่อยๆหาวิธีที่จะช่วยให้เราสามารถก้าวออกมาอย่างปลอดภัยต้องทำได้อย่างแน่นอน
ให้ทำตามขั้นตอนดังนี้
1. ให้พยายามติดต่อคนที่เราไว้ใจได้ที่พร้อมจะช่วยเหลือเรา อย่าขาดการติดต่อกับพวกเขา
2. ติดต่อเจ้าหน้าที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในท้องที่
3. สอนให้ลูกๆรู้จักหาที่หลบภัย เช่นบ้านเพื่อน และสอนให้ขอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
4. เตรียมแผนการหนีอย่างรอบคอบ ไปพักกับใคร และจะไปที่ไหน
5. หากติดต่อตำรวจหรือเจ้าหน้าที่ช่วยเหลือไม่ได้พยายามเอาตัวเองออกจากสถานที่เดิมนั้นให้ได้ก่อนแล้วค่อยติดต่อกลับ
หากจะถามว่าความรุนแรงในครอบครัวที่เกิดขึ้นแล้วสร้างรอยแผลบาดลึกในใจให้เรานั้น เรายังสามารถกลับมาใช้ชีวิตอย่างปกติได้อีกหรือไม่ ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าการอยู่ด้วยกันและการทะเลาะเบาะแว้งกับเป็นเรื่องที่อาจเกิดขึ้นได้บ้าง
แต่การกระทำรุนแรงในครอบครัวคือการที่มีผู้กระทำความรุนแรงให้เกิดขึ้นกับคนในครอบครัว เพื่อที่ต้องการควบคุม หรือต้องการให้เป็นไปตามที่ตนเองต้องการและใช้ความรุนแรงเป็นเครื่องมือในการควบคุมจัดการ
การต้องการควบคุมทุกอย่างที่เกิดขึ้นในครอบครัว จึงต่างจากการขาดสติในการควบคุมตัวเองเวลาเมา หรือใช้สารเสพติดดังนั้นจึงต้องแยกประเด็นให้ออก
จากสถิติที่พบเห็นมักจะได้คำตอบว่า หลังเหตุการณ์อันเลวร้ายได้เกิดขึ้น ผู้ถูกกระทำส่วนใหญ่มักจะเลือกที่จะจบความสัมพันธ์และไม่ต้องการใช้ชีวิตร่วมกับผู้ที่ใช้ความรุนแรงทำร้ายตนหรือคนในครอบครัวที่ตนรักอีกต่อไป
ซึ่งแน่นอนไม่มีใครควรตกเป็นเหยื่อการกระทำอันรุนแรง โดยเฉพาะการกระทำอันรุนแรงจากคนรักในครอบครัวเดียวกัน และครอบครัวควรเป็นที่ปลอดภัยสำหรับสมาชิกทุกคน เหยื่อบางรายไม่กล้าพอที่จะตัดสินใจก้าวเดินออกจากจุดนั้นด้วยเหตุผลที่มากมายหลายหลาก หรือ
ชีวิตมักติดกับเงื่อนไขบางประการ เช่น ทนเพื่อลูก หรือเพื่อรอความพร้อมที่จะก้าวออกมาในวันหนึ่ง อย่างไรก็ตามบางกรณีมีความหวังว่าผู้กระทำจะเปลี่ยนพฤติกรรมไปในทางดีขึ้น และจะเลิกใช้การกระทำอันรุนแรงกับครอบครัวอันเป็นที่รัก เลิกทำลายข้าวของ หยุดทำร้ายร่างกายและจิตใจคนในครอบครัว
ซึ่งในความเป็นจริงพฤติกรรมรุนแรงในครอบครัวเหล่านี้สามารถแก้ไขได้จริงหรือไม่? และพฤติกรรมรุนแรงเหล่านี้สามารถทำให้หายได้จริงๆหรือ?
เรื่องนี้ Jenni Jacobsen, Licensed Clinical Social Worker ได้ให้เหตุผลว่า คนที่ใช้กำลังในการทำร้ายร่างกาย และจิตใจผู้อื่นเวลาโกรธหรือไม่พอใจ
เป็นผลมาจากการเลี้ยงดูในวัยเด็กของครอบครัว มีตัวแบบที่ทำพฤติกรรมรุนแรง การได้พบเห็นหรือ อยู่ในเหตุการณ์มีการกระทำการรุนแรงต่อกันเป็นประจำ หรือเคยตกเป็นเหยื่อมาก่อน การซึมซับพฤติกรรมรุนแรงก้าวร้าวจากผู้ปกครอง หรือจากคนที่เลี้ยงดูส่งผลทำให้ในที่สุดก็ซึมซับและ ยอมรับว่าการกระทำรุนแรงสามารถทำได้ จึงทำกับคนใกล้ชิดเพื่อให้ได้ในสิ่งที่ต้องการ
พฤติกรรมเหล่านี้ยากมากที่จะแก้ไข และหากต้องการแก้ไขพฤติกรรมความรุนแรงนี้ให้หมดไปในครอบครัวจริงๆต้องอาศัยความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาเข้ามาช่วยปรับพฤติกรรม และค้นลึกถึงรากฐานของสาเหตุที่สร้างให้เกิดพฤติกรรมรุนแรงก้าวร้าวนี้
นอกจากนั้นแล้วยังต้องได้รับความร่วมมืออย่างจริงจังจากผู้กระทำว่ามีความตั้งใจจริงที่จะไม่ใช้ความรุนแรงทำร้ายร่างกายและจิตใจคนในครอบครัวอันเป็นที่รักอีกต่อไป เพราะนี้ไม่ใช่การขาดสติแต่เป็นการใช้ความรุนแรงในการควบคุมเหยื่อเพื่อให้ได้ในสิ่งที่ตนต้องการ
3 วิธีป้องกันการกระทำรุนแรงในครอบครัว
1. หาความรู้
ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในครอบครัวนั้นไม่ใช่แค่การทำร้ายร่างกาย แต่ยังครอบคลุมไปถึงการทำร้ายทุกๆด้านรวมทั้งด้านจิตใจด้วย ควรหาความรู้ในทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกระทำรุนแรงในครอบครัว
2. ตระหนักรู้ถึงสัญญาณเตือน
หากคู่รักของเราเป็นคนรุนแรงชอบทำร้าย ตบตี มีอารมณ์แปรปรวน ก้าวร้าว หึงหวง บังคับให้เราแยกตัวจากสังคม และข่มขู่ด้วยการกระทำหรือพฤติกรรมที่รุนแรง
เราควรรู้ว่านี้พฤติกรรมแบบนี้ไม่ใช่เรื่องปกติ และอาจนำเราไปสู่สถานการณ์ที่อันตรายขึ้นได้ สัญญาเตือนภัยนี้กำลังบอกอะไรเราบางอย่างและแน่นอนว่าเราควรตระหนักถึงความไม่ปลอดภัยและควรแยกห่างโดยเร็ว
หากรู้สึกกลัวที่จะแยกมาอยู่เพียงลำพัง ควรหาเพื่อนมาอยู่ด้วยหรือกลับไปอยู่กลับครอบครัวชั่วคราว และมองหาวิธีการแก้ไขและหาทางออกอย่างถาวร
หากเราเป็นเพื่อนบ้าน และพบเห็นเหตุการณ์เพื่อนบ้านกำลังถูกทำร้ายจากคนในครอบครัวควรให้การช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนด้วยการติดต่อโทรหาตำรวจ หรืออาจหาข้ออ้างไปเคาะประตูบ้านเพื่อแกล้งไปขอยืมสิ่งของ ทั้งนี้ทั้งนั้นควรต้องดูทิศทางการป้องกันอันตรายให้กับตนเองไว้ด้วย
3. เรียกร้องสิทธิ์
อย่าเงียบ จงลุกขึ้นปกป้องตัวเอง และต้องเรียกร้องความยุติธรรมให้กับตัวเองหากพบว่าตัวเองอาจตกอยู่ในอันตรายพยายามหาคนคอยช่วยsupport อย่าดำเนินการคนเดียว และควรโทรแจ้งตำรวจไว้ก่อนทันทีเมื่อเกิดปัญหาจะได้ช่วยระงับเหตุได้ทัน
ความรุนแรงในครอบครัวมักรุนแรงมากเพิ่มขึ้นหากความสัมพันธ์แย่ลงเช่น ไม่สื่อสาร ไม่ใกล้ชิดสนินสนม มีปัญหากันในครอบครัว ความรุนแรงครอบคลุมไปถึงเรื่องการทำร้ายทางร่างกาย จิตใจ การล่วงละเมิดทางเพศ การก้าวก่ายด้านสังคมไม่ให้คบกับใคร เจอหน้าใคร ไม่อนุญาตให้มีสังคม ควบคุมด้านการเงิน ไม่ให้ความช่วยเหลือด้านการใช้จ่าย ทำลายจิต วิญญาความเชื่อ ไม่ให้ความเคารพในตัวตนของอีกฝ่าย
หากเรากำลังเผชิญหน้ากับความรุนแรงในครอบครัว ตกเป็นเหยื่อหรือ ถูกกระทำจากคนในบ้าน อาจเป็น พ่อ แม่ ผู้ปกครอง คนที่ดูแลเรา พ่อเลี้ยง แม่เลี้ยง ลุง ป้า น้า อา หรือ คู่ชีวิตของเราเองก็ตาม เราควรมีความเข้าใจในสัญญาณต่างๆ
เพราะผู้กระทำมักจะทำให้เหยื่อรู้สึกแย่ อ่อนแอ และกล่าวโทษ ตำหนิติเตียนและทำให้เหยื่อรู้สึกว่าสมควรได้รับโทษในที่สุดเหยื่อก็จะสมยอมกับการได้รับการลงโทษ
เราควรมีสติ และควรตระหนักรู้ว่าไม่มีใครควรได้รับการถูกกล่าวโทษ หรือ ตั้งเงื่อนไขเพื่อที่จะใช้ควบคุมหรือเพื่อกล่าวหาหรือใช้เป็นข้ออ้างเพื่อกลับมาทำร้ายร่างกายและจิตใจของอีกฝ่าย คนที่หวังดีกับเราจริงๆต้องไม่มีข้ออ้างหรือมีเงื่อนไขต่างๆเพื่อมาทำให้เราเจ็บปวด
หากสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นรีบพาตัวเองออกมาจากสถานการณ์ดังกล่าวโดยทันทีและเราควรทำความเข้าใจกับสัญญาณต่างๆที่กำลังทำให้เราตกเป็นเหยื่อดังนี้
สัญญาณเตือนที่กำลังบอกว่าเรากำลังตกเป็นเหยื่อความรุนแรง
หากสถานการณ์และสัญญาณเตือนเหล่านี้เกิดขึ้นกับเราจงอย่ารอช้าและรีบออกจากสถานการณ์นั้นโดยทันที
บ่อยครั้งที่เหยื่อไม่ยอมหนีไปจากคนที่ทำร้ายตน ก็มักเกิดจากหลายเหตุผล เช่น กลัวว่าถ้าหนี้ไปแล้วจะไม่ปลอดภัยจะไม่มีใครคอยช่วยเหลือ หรืออาจเจอกับสถานการที่เลวร้ายกว่าเดิมหากหนี้ไม่พ้น
หรือ ผู้กระทำมีการข่มขู่เรื่องความปลอดภัยของคนที่เหยื่อรักว่าหากหนี้ไปจะทำอันตรายพวกเขา หรือ ควบคุมการเงิน ควบคุมการคบหาเพื่อนการมีสังคม เหยื่อจึงไม่กล้าขอความช่วยเหลือใครเพราะกลัวพวกเขาตกอยู่ในอันตราย
ผู้กระทำอาจมีการให้สัญญาว่าจะปรับปรุงตัว หรือเหยื่อคิดว่าเขาทำไปเพราะเขาป่วยตนรักเขาจึงต้องอยู่เพื่อทำให้เขาดีขึ้น มีแต่ตนเท่านั้นที่จะช่วยคนผู้นี้ได้และหวังว่าความรักจะช่วยให้การถูกทำรุนแรงที่เกิดขึ้นจะดีขึ้นได้
หรือปัญหาเรื่องการเงินทำให้ไม่กล้าหนี้เพราะการหนี้ไปลี้ภัยต้องใช้เงิน หรือ เหตุผลว่า การทนอยู่เพื่อลูก เพราะการเลี้ยงลูกเพียงลำพังอาจลำบากกว่า
อย่างไรก็ตามเหตุผลที่กล่าวมาอาจทำให้เหยื่อไม่กล้าหนี้ และเหตุผลที่สำคัญที่ทำให้เหยื่อหมดพลังที่จะหนี้คือผู้กระทำมักจะทำให้เหยื่อรู้สึกแย่ต่อตัวเอง ไม่มีคุณค่า ไม่มีใครต้องการ และสมควรได้รับการกระทำเช่นนี้และไม่สมควรได้รับสิ่งดีๆกว่านี้ในชีวิต
ดังนั้นสัญญาณเตือนต่างๆที่เกิดขึ้นช่วยให้เราตั้งสติและตระหนักรู้ไม่ควรมองข้ามและควรนำตัวเองออกมาจากสถานการณ์ไม่ปลอดภัยเพื่อขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นให้ไวที่สุด
อ้างอิง
1. https://au.reachout.com/articles/domestic-violence-and-what-you-can-do-about-it
2. https://www.google.com/search?q=how+to+prevent+domestic+violence+in+the+family&rlz=1C1CHBF_enTH795TH795&sxsrf=AOaemvL5gV5APu6lyNu1E4ktkIY-5dmWqQ:1634879821264&source=lnms&tbm=isch&sa=X&ved=2ahUKEwjMpPz3od3zAhVEjdgFHcA7AbYQ_AUoAXoECAEQAw&biw=1536&bih=722&dpr=1.25#imgrc=r9MAKWyJFMfWtM&imgdii=fqPleggd9gFkxM
3.https://knowmore.fsu.edu/helping-healing/why-victims-stay/
4. https://www.marriage.com/advice/domestic-violence-and-abuse/can-a-relationship-be-saved-after-domestic-violence/#Why_is_domestic_violence_such_a_big_deal
5. https://www.healthline.com/health/coercive-control