รับมือกับพฤติกรรม passive-aggressive อย่างไรให้ได้ผล

8034 จำนวนผู้เข้าชม  | 

 รับมือกับพฤติกรรม passive-aggressive อย่างไรให้ได้ผล

รับมือกับพฤติกรรม

passive-aggressive

อย่างไรให้ได้ผล

 

ดร.มฤษฎ์ แก้วจินดา

นักจิตวิทยาการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ และนักจิตบำบัด

Certified EMDR and Brainspotting Therapy

 

Passive- aggressive behaviors

เป็นพฤติกรรมที่เป็นผลมาจากความโกรธแต่ไม่แสดงออกมาตรงๆ หรือ เรียกว่า indirectly aggressive มักมีสาเหตุมากจากพื้นฐานทางครอบครัวการเลี้ยงดู สาเหตุจากตัวบุคคล หรือปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ

 

บ่อยครั้งคนพวกนี้มักจะทำพฤติกรรมดื้อด้าน ไม่รู้ร้อนรู้หนาว ทำความเสียหายให้ผู้อื่น หรือเพื่อนร่วมงานด้วยการแสแสร้ง สร้างเรื่องดราม่าละเลยความรับในผิดชอบทำให้เกิดงานความล้าช้า เวลาที่คนประเภทนี้ไม่สบอารมณ์หงุดหงิดหรือ ไม่พอใจจะไม่แสดงออกแต่เก็บไว้ภายใน การแสดงออกแบบนิ่งเฉยแต่ในใจกำลังต่อต้านอยู่ อาจจะเงียบไปเวลาที่มีการแสดงความคิดเห็นที่ตนไม่พอใจ หรือพูดเลี่ยงไม่พูดตรงๆในสิ่งที่ไม่อยากทำ หรือหาข้ออ้างที่จะหลบเลี่ยงที่จะสื่อสารในสิ่งที่ตนไม่ชอบหรือรับปากว่าจะทำแต่พอถึงเวลากลับทิ้งไปเฉยๆ

ลักษณะของคนที่เป็น passive-aggressiveเวลาโกรธมักจะเงียบและไม่สื่อสาร ปฎิเสธความรู้สึกที่แท้จริงและปิดกั้นการสื่อสารในเรื่องที่จะทำให้เกิดความขัดแย้งหรือเป็นภัยต่อตนเอง ไม่พูดคุยในประเด็นที่ตนเองไม่พอใจให้กระจ่างให้ผู้อื่นเข้าใจ

หากต้องรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายแต่ไม่อยากทำ ก็ไม่คิดที่จะบอกเหตุผลของตนแต่ทำให้งานล่าช้าหรือถ่วงเวลาให้ยาวนานไปเรื่อยๆจนทำให้งานเกิดความเสียหายเพื่อเป็นการเอาคืนกับคนที่สั่งงาน พฤติกรรมpassive-aggressiveนี้เกิดขึ้นบ่อยๆ และมักพบเห็นได้ทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นสัมพันธภาพในครอบครัว คู่รัก หรือในที่ทำงาน

สาเหตุที่ทำให้เกิดพฤติกรรม passive-aggressive


1. การเลี้ยงดู
หากเติบโตมาในสิ่งแวดล้อมที่ไม่อนุญาตให้คนในครอบครัวสามารถแสดงออกด้านอารมณ์หรือเปิดเผยความรู้สึกนึกคิดได้อย่างเสรี จะส่งผลเสียต่อการระบายออกด้านอารมณ์ทำให้ต้องเก็บความโกรธและความไม่พอใจเอาไว้

2. สถานการณ์แวดล้อม
เช่นในชีวิตการทำงานหรือในสังคม เราไม่สามารถที่จะแสดงความโกรธไม่พอใจเจ้านาย เพื่อนร่วมงานบางคนได้ดังนั้นจึงเกิดการเก็บกด เอาคืนหรือนินทาว่าร้ายแทน


3. นิสัย
คนที่มีลักษณะ passive-aggressive มักจะไม่มีการสื่อสารที่ชัดเจนเลยเลือกวิธีที่จะเลี่ยงการพูดหรือบอกความต้องการที่แท้จริงของตัวเอง ความรู้สึกไม่พอใจ รู้สึกโกรธ โมโห และรอเวลาที่จะแก้แค้นเอาคืนแทนการบอกตรงๆเพื่อให้ผู้อื่นเจ็บปวด

 

รู้ได้ยังไงว่าเรากำลังเจอกับมนุษย์ที่มีพฤติกรรม passive aggressive


1. ไม่พอใจ โกรธ หัวเสีย หงุดหงิดแต่ภายนอกไม่แสดงออกหรือสื่อสาร
2. ชื่นชมแบบเสียดสีไม่จริงใจ
3. ไม่รีบร้อนทำงานให้เสร็จแม้ในโปรเจ็คที่เร่งด่วน
4. ไม่รับผิดชอบและถอนตัวในวันสำคัญโดยไม่มีแคร์ผลกระทบส่วนรวม
5. เลี่ยงการคุยการอธิบายหรือสื่อสารให้คนอื่นเข้าใจในเหตุผลที่ตนมี


จัดการอย่างไรกับพฤติกรรมนี้

หากเรามีพฤติกรรมนี้ควรรีบจัดการให้หมดไปเพราะพฤติกรรม passive aggressive ทำลายความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง เพื่อนร่วมงาน และคนในครอบครัว

 

 เรียนรู้พฤติกรรม passive-aggressive

  • *หากเป็นคุณพ่อ-คุณแม่ เวลาพูดอะไรที่ทำให้ลูกโกรธ เราอาจกล่าวถึงอารมณ์นั้นให้ลูกรู้จักเช่น “แม่รู้ว่าลูกโกรธ” เพื่อให้ลูกได้รับรู้สภาวะ อารมณ์โกรธของตัวเองและควรปล่อยให้ลูกอยู่ตามลำพังสักพักเพื่อให้เวลาลูกได้จัดการกับอารมณ์ของตัวเองให้เรียบร้อยก่อน

 

  • หากต้องเผชิญหน้ากับผู้อื่นหรือเพื่อนร่วมงานที่มีพฤติกรรม passive-aggressive ต้องพยายามเข้าถึงและกำหนดความคาดหวังของเราให้ชัดเจน สร้างขอบเขตที่ชัดเจนหากจำเป็น พูดด้วยความจริงใจมีเหตุผล และไม่ใช้อารมณ์

 ชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรม

Passive-aggressive เป็นความบกพร่องด้านพฤติกรรมที่คนคนนั้นไม่ยอมรับในผลที่ตามมา ดังนั้นควรมองไปที่ปัญหามากกว่าเรื่องส่วนตัวและควรมีการบริหารจัดการที่ดีกว่าที่เป็นอยู่และควรโฟกัสไปที่พฤติกรรมที่เป็นปัญหาที่ละอย่างโดยไม่เอามารวมกัน

  หาวิธีป้องกัน

เช่นการนัดพบลูกค้าเพื่อเสนองานแต่เพื่อนร่วมงานมักมาสายอย่างต่อเนื่องและมักส่งผลต่อส่วนร่วมก็ควรหาวิธีป้องกันโดยการให้หมายกำหนดการที่ชัดเจนไปเลยว่าต้องถึงที่หมายกี่โมง และส่งตำแหน่งสถานที่ให้ชัดเจนไปด้วย

  โฟกัสในเรื่องปัจจุบัน

หากพฤติกรรมที่ส่งผลต่อผู้อื่นเกิดขึ้นอีกแม้รู้กำหนดกฎเกณฑ์ที่รับทราบร่วมกันอย่างชัดเจนแล้วก็ตาม ควรเปิดใจพูดคุยกันอย่างตรงไปตรงมาด้วยการให้เกียรติกัน และเคารพซึ่งกันและกันโดยไม่ดึงประเด็นปัญหาที่ผ่านไปแล้วเข้ามาถกเถียงหรือวิพากวิจารณ์

 นำหลัก open door policyมาใช้

โดยให้ความสบายใจกับคนที่มีพฤติกรรม passive-aggressive ได้มีพื้นที่ในการเล่าเหตุผลที่แท้จริงอย่างไม่ต้องกังวลหรือส่งผลกระทบต่อความมั่นคงในการทำงาน

  ตระหนักรู้ในตัวเอง

การที่เราทำพฤติกรรม passive-aggressive ซะเองด้วยการพูดเสียดสี หรือประชดปะชันคนที่ทำให้เราโกรธนั้นไม่เป็นผลดีต่อตนเองและสัมพันธภาพต่อคนที่อยู่รอบข้างอย่างแน่นอน ดังนั้นเราควรหยุดพฤติกรรมเช่นนี้ และหากจำเป็นควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ ปรึกษานักจิตวิทยาหรือ มาพบนักจิตวิทยาเพื่อแก้ไขพฤติกรรมที่อาจส่งผลเสียต่อตนเองในระยะยาวให้หมดไป

 ออกจากสถานการณ์ความสัมพันธ์ที่เป็นพิษ

หากเราแน่ใจว่าใครบางคนเข้ามาในชีวิตของเราเพื่อมีจุดประสงค์ที่จะสร้างความลำบากหรือเป็นอุปสรรค์ต่อการดำเนินชีวิตของเรา หรือทำให้เรารู้สึกด้อยค่า รู้สึกแย่กับตัวเองนั้นอาจเป็นความสัมพันธที่เป็นพิษไม่ควรปล่อยไว้ควรรีบจัดการ

 อย่าสร้างสิ่งแวดล้อมแบบมีผู้แพ้หรือผู้ชนะ

เพราะในที่สุดพฤติกรรม passive-aggressiveจะไม่จบและไม่ยอมแพ้ในการทำให้ฝ่ายตรงข้ามแสดงความโกรธหรือโมโหฉุนเฉียวแต่ควรใช้คำพูดที่สุภาพ ชัดเจน โดยไม่ใช้อารมณ์ถึงแม้ว่าบางครั้งการสื่อสารที่ชัดเจนอาจสร้างความไม่สบายใจจนทำให้อีกฝ่ายแสดงออกทางอารมณ์แบบเกินจริงดราม่าจนทำให้เราหงุดหงิดก็ตาม

พฤติกรรม passive-aggressive อาจส่งผลร้ายแรงมากขึ้นหากคนคนนั้นไม่สามารถจัดการกับปัญหาพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของตัวเองได้ การแก้ไขที่ดีที่สุดควรเรียนรู้ความไม่มีประสิทธิภาพในงาน ข้อด้อย และหาวิธีจัดการและแก้ไขอย่างถูกวิธีโดยไม่โทษว่าเป็นความผิดของผู้อื่นหรือโกรธโมโหผู้อื่น หากรู้สึกว่าการจัดการกับปัญหาพฤติกรรมและอารมณ์เป็นเรื่องยากที่จะทำได้ด้วยตนเองควรปรึกษานักจิตวิทยาเพื่อได้รับการแก้ไขอย่างเหมาะสม

อ้างอิง

https://www.insider.com/how-to-deal-with-passive-aggressive

https://www.verywellmind.com/

https://www.wikihow.com/Deal-With-Passive-Aggressive-Behavior

 

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้