จิตหลงผิดภัยเงียบที่ไม่ควรมองข้าม

19235 จำนวนผู้เข้าชม  | 

จิตหลงผิดภัยเงียบที่ไม่ควรมองข้าม

Delusional Disorder

หรือ โรคจิตหลงผิด

เป็นภัยเงียบที่ไม่ควรมองข้าม


ดร. มฤษฎ์ แก้วจินดา (Ph.D.)

นักจิตวิทยาการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ และนักจิตบำบัด

Certified EMDR and Brainspotting Therapy

 

ทำไมโรคหลงผิดถึงยากต่อการรักษา?

โรคจิตหลงผิดเป็นภัยทางจิตที่ค่อนข้างรุนแรงแต่การรักษาทำได้ยากเนื่องจาก ผู้ที่มีอาการจิตที่หลงผิดส่วนใหญ่คิดว่าตนเองปกติ จึงไม่มองหาหรือต้องการความช่วยเหลือ ดังนั้นการไม่ได้รับการรักษาจึงเป็นภัยเงียบ ที่มักก่อความวุ่นวายและรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันของตนเองและคนรอบข้าง

 



 

สาเหตุของโรคจิตหลงผิด

โรคจิตหลงผิด Delusional Disorder เกิดได้จากหลายสาเหตุและไม่มีการระบุแน่ชัดแต่การวิจัยมักพบว่าเกิดจากปัจจัยต่างๆดังนี้ 

  1. พันธุกรรม หากมีคนในครอบครัวมีประวัติทางโรค schizophrenia หรือโรคทางจิตเวชบางชนิดก็อาจส่งต่อสู่รุ่นต่อไปได้ 
  2. ความผิดปกติด้านสมอง ระบบสื่อประสาท หรือ เคมีในสมองที่ไม่สมดุลอาจทำให้เกิดภาพลวงตา หูแว่ว จิตหลอนได้
  3. สิ่งแวดล้อม การเลี้ยงดู  ประสบการณ์ชีวิต และปัจจัยด้านจิตวิทยาอื่นๆที่ส่งผลต่อการรับรู้ ความคิด และความเชื่อ ความอ่อนไหวด้านจิตใจ และการใช้สารเสพติดหรือติดสุรา

 

โรคหลงผิดมีอาการอย่างไร

อาการอาจไม่ได้แสดงออกอย่างชัดเจน แต่จะมีความหวาดระแวงผิดปกติ เหมือนอาการของโรค paranoia (พารานอยด์) มีความหวาดกลัวระแวงว่าจะถูกทำร้าย หรือถูกฆ่า ความคิดไม่เป็นความจริง ไม่สมเหตุสมผล แยกแยะจินตนาการกับความจริงออกจากกันไม่ได้ อาจมีอารมณ์หงุดหงิด โกรธ อารมณ์เสีย หรือภาพหลอน หูแว่ว ร่วมด้วย 

โรคจิตหลงผิด หรือ Delusional Disorder ส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นในวัยกลางคน และแนวโน้มจะเป็นในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย 

แบ่งได้เป็น6 ประเภทดังนี้

1. Erotomanic: คือ ประเภทหมกมุ่น แอบรักข้างเดียว เป็นโรคหลงผิดชนิดหนึ่งที่คิดไปเองว่ามีคนหลงรักตน โดยเฉพาะ ดารา นักร้อง บุคคลสำคัญ หรือ คนมีชื่อเสียง เป็นความรักจากระยะไกลที่ตนคิดไปเองคนเดียวโดยบุคคลมีชื่อเสียงเหล่านั้นไม่ได้รู้เรื่อง หรือ หลงรักตนเองจริงๆ

2. Grandiose: คือ หลงคิดว่าตนเองยิ่งใหญ่ เป็นโรคหลงผิดชนิดที่คิดว่าตัวเองเป็นผู้มีอิทธิพล ทรงพลัง มีพรสวรรค มีพลังพิเศษ มีอำนาจในการเปลี่ยนแปลงโลก อาการนี้อาจมีผลมากจากโรคไบโพล่า และ โรคschizophrenia

3. Jealous: คือ หึงหวง เป็นอาการโรคหลงผิดที่คิดว่าคู่ชีวิตของตน นอกใจ ไม่ซื่อสัตย์ โดยไม่มีหลักฐานหรือเหตุผล โดยพื้นฐานอาจเกิดจากความไม่มั่นคงเรื่องความรักของตัวเอง หรือเคยถูกทอดทิ้งมาก่อน

4. Persecutory: คือ หวาดระแวงผู้อื่น โดยเฉพาะคนใกล้ตัว คิดว่าเป็นคนร้ายจะมาฆ่าตน กำลังจ้องจะทำร้ายตนเองอยู่ตลอดเวลา อาจไปไกลจนถึงขั้นไปแจ้งความดำเนินคดีทางกฎหมายกับผู้อื่นทั้งๆที่ตัวเองเข้าใจผิดไปเอง

5. Somatic: คือ ความเจ็บป่วยที่เกิดจากจิตสั่ง เช่น รู้สึกว่าตัวเองมีกลิ่นเหม็นตลอดเวลาทั้งๆที่ตนเองปกติ อาการที่เชื่อว่าตนเองป่วยเป็นโรคอะไรบางอย่างแต่แพทย์ไม่พบความผิดปกติใด

6. Mixed: อาจชนิดของอาการข้างต้นมากกว่าหนึ่งชนิด

 




การวินิจฉัย และ การวิธีรักษา

โดยทั่วไปหากไปพบแพทย์และได้ตับการตรวจวินิจฉัย เอ็กซ์เรย์ และไม่พบความผิดปกติด้านร่างกายแต่อย่างใด แพทย์จะส่งต่อให้ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยา โดยเฉพาะนักจิตวิทยาเพื่อทำการบำบัดด้วยpsychotherapy อาจเป็นการสัมภาษณ์พูดคุยเกี่ยวกับทัศนะคติ พฤติกรรม มีการใช้เทคนิคด้านจิตบำบัดหรือเครื่องมือทางจิตวิทยาร่วมด้วย การทำcounseling ถือเป็นสิ่งสำคัญและเป็นขั้นตอนอันดับแรกก่อนที่จะได้รับการรักษาด้วยการใช้ยา 

ผู้เชี่ยวชาญด้านการทำpsychotherapy ต้องมีความรู้ ความเข้าใจในการเตรียมสภาพแวดล้อมให้ผู้มารับบริการรู้สึกปลอดภัย และไว้ใจในการเล่าอาการและพฤติกรรม แก้ไขอาการและทำให้สุขภาพจิตดีขึ้นมองเห็นความเป็นจริงที่เป็นไปตามความเป็นจริง มีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น ทำให้ความคิดและพฤติกรรมการใช้ชีวิตกลับมาดีดังเดิม วิธีหลักๆที่ใช้ในการรักษาจากทั้งจิตแพทย์ และผู้เชี่ยวชาญ หากพบความผิดปกติเกี่ยวกับสมดุลของเคมีในสมอง มักจักใช้ อยู่ 2 วิธีคือ 

  1. Psychosocial Treatment เป็นเทคนิคทางจิตวิทยาที่มักทำร่วมกับอีกหลายเทคนิคเพื่อทำให้มองเห็นความเป็นจริง เข้าใจตัวเอง นำไปสู่การแก้ไขพฤติกรรม ความคิดให้ถูกต้องและมองเห็นความเป็นจริงเพื่อสามารถกลับมาเชื่อมต่อกับสังคมรอบตัวและผู้อื่นได้ 
  2. การใช้ยา ในบางรายอาจได้รับความคิดเห็นจากนักจิตวิทยาว่าควรได้รับยาเพื่อช่วยให้การรักษาบำบัดด้านจิตดีขึ้นร่วมด้วย

หากสงสัยว่าตัวเองหรือคนใกล้ตัวเสี่ยงที่จะมีแนวโน้มของโรคนี้ไม่ควรรอช้าควรรีบปรึกษานักจิตวิทยาในเบื้องต้นก่อนการใช้ยา เพราะยาที่มีผลต่อระบบประสาทและสมองย่อมส่งผลข้างเคียงด้านระบบประสาทและสมองในระยะยาว



อ้างอิง:

https://www.webmd.com/schizophrenia/guide/delusional-disorder



https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/9599-delusional-disorder

https://www.bettermindthailand.com/

https://www.facebook.com/BettermindThailand


 

 

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้