ทำไมการบำบัดTrauma ด้วยตัวเองมักไม่ได้ผล?

190 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ทำไมการบำบัดTrauma ด้วยตัวเองมักไม่ได้ผล?

ทำไมการบำบัดTrauma ด้วยตัวเองมักไม่ได้ผล?

 

ดร.มฤษฎ์ แก้วจินดา (Ph.D.)
นักจิตวิทยาการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
EMDR Psychotherapy Supervisor and Brainspotting Psychotherapy Practictioner


การบำบัดปมบาดแผลทางใจ (Trauma) ด้วยตัวเองอาจไม่ประสบผลสำเร็จในทุกคน  

ปมบาดแผลทางใจที่มีไม่สามารถทำให้หายไปจากใจได้ด้วยตัวเองในทุกๆคน นั่นเป็นเพราะการบำบัดบาดแผลทางจิตใจประกอบไปด้วยปัจจัยมากมายต้องใช้เทคนิควิธีที่หลากหลาย รวมทั้งในแต่ละคนมีภาวะและเหตุผลต่างๆในชีวิตที่เข้ามาเกี่ยวข้องหรือมีเงื่อนไขในชีวิตที่ไม่เหมือนกัน  แต่ละปัจจัยมีความซับซ้อนการรักษาปมบาดแผลทางใจหรือการทำTrauma therapy ในคนส่วนใหญ่จึงต้องอาศัยผู้เขี่ยวชาญด้านจิตวิทยาเพราะนอกจากจะมีความรู้ความเข้าใจในขั้นตอนกระบวนการที่หลากหลายแล้ว ยังเข้าใจในความซับซ้อนและปัจจัยสาเหตุที่นำไปสู่ปัญหาในแต่ละคนได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

การบำบัดปมบาดแผลทางใจสำหรับบางคนเป็นเรื่องยากที่จะแก้ไขได้ด้วยตัวเอง และมักเกิดอุปสรรคที่ทำให้สำเร็จยากมากกว่าคนอื่นหากมีภาวะความเจ็บปวดหรือปมบาดแผลทางใจที่ซับซ้อน (Complex trauma)  ในกรณีที่เป็นcomplex trauma ซับซ้อนเช่นนี้ควรต้องได้รับความช่วยเหลือจากนักจิตวิทยาผู้เชี่ยวชาญในการนำทาง ให้แนวทาง ให้คำแนะนำในการค้นหาตัวเองเพื่อค้นพบทางออกให้ปัญหาในชีวิตที่เผชิญอยู่

การพยายามทำบำบัดจิตใจด้วยตัวเองเป็นเรื่องดี แต่อาจยังไม่เพียงพอในการเข้าถึงจิตใจภาวะจิตใจที่ซับซ้อนของตัวเองในกรณีที่เคยประสบเหตุการณ์กระทบกระเทือนจิตใจซ้ำซ้อนต่อเนื่องยาวนาน จนส่งผลต่อภาวะความผิดปกติด้านจิตใจหรือเกิดเป็นภาวะ PTSD ( Post Traumatic Stress Disorder) จนมีอาการที่แสดงออกทางกายและบุคคลิกภาพที่ไม่ปกติ อาการพฤติกรรม ความคิดข้างในจิตใจที่ไม่ปกติและคอยตามรบกวนหลอกหลอน ส่งผลต่อการควบคุมอารมณ์ทำให้อารมณ์แปรปรวนไม่คงที่ และมีการใช้ชีวิตที่เสี่ยงต่อความปลอดภัยหรือปัญหาด้านสุขภาพ รวมทั้งปัญหาด้านสัมพันธภาพกับผู้อื่นและคนในครอบครัวด้วย 



หากการเยียวยาบำบัดรักษาปมบาดแผลทางใจ (Trauma) เป็นเรื่องง่ายทุกคนคงหายจากอาการเจ็บป่วยทางใจได้หมดแล้ว ไม่ต้องทนทุกข์ทรมานกับประสบการณ์เลวร้ายที่เกิดขึ้นจากอดีตที่คอยกระตุ้นให้เกิดความเครียดและวิตกกังวลในปัจจุบัน แต่เพราะการรักษาบำบัดปมบาดแผลทางใจ (Trauma) ไม่ใช่เรื่องง่าย ปมบาดแผลทางใจ (Trauma) มีความซับซ้อน ละเอียดอ่อน และมีความท้าทายต่อการเอาชนะด้านจิตใจของตัวเอง ดังนั้นหากไม่สามารถจัดการกับปมบาดแผลทางใจ(Trauma) ด้วยตัวเองได้ก็ไม่ควรปล่อย trauma นั้นทิ้งไว้โดยไม่ดูแล ควรมาพบผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาเพื่อรับการบำบัด รับแนวทางในการแก้ไขปมปัญหาให้หมดสิ้นไป

อย่างไรก็ตามนับว่าเป็นเรื่องดีที่ปัจจุบันมีศาสตร์การรักษาด้านจิตวิทยาแนวใหม่ๆ ที่ได้ผลและมีประสิทธิภาพมากกว่าสมัยก่อนมากมายหลากหลายเทคนิค ทำให้ผู้คนไม่ต้องทนทุกข์ทรมาน สิ้นหวังกับการรักษาแบบเดิม และไม่จำเป็นต้องกินยาไปตลอดชีวิตเหมือนยุคก่อน ปัจจุบันมีเทคนิควิธีรักษาปมบาดแผลทางใจ หรือ trauma therapy  อย่างจิตบำบัด EMDR  และ Brainspotting ที่มีประสิทธิภาพในการรักษาปมบาดแผลทางใจที่ได้ผลในเวลาอันสั้นเมื่อเทียบกับการทำ counselingปกติ และในปัจจุบันมีผู้เชี่ยวชาญด้านการทำจิตบำบัดทั้งสองแนวทางนี้ได้ผ่านการอบรมมาตรฐานสามารถให้บริการได้เยอะมากขึ้นกว่าแต่ก่อน รวมทั้งการทำจิตบำบัดทั้งสองแบบนี้ยังมีมาตรฐานได้รับการรับรองจากองค์กรอนามัยโลกและมีหลักฐานพิสุจน์ทางวิทยาศาสตร์เป็นที่แน่ชัดว่าได้ผลลัพธ์ที่สามารถฟื้นฟูเยี่ยวยาจิตใจและลดความเครียดในสมองที่ต้องเผชิญกับtraumaได้เป็นอย่างดีแต่ควรทำบำบัดโดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านEMDR Therapy และ Brainspotting เท่านั้น

 



อย่างไรก็ตามเราสามารถสรุป 3 ประเด็นสั้นๆดังนี้ สำหรับเหตุผลว่าทำไมการรักษาปมบาดแผลทางใจ หรือการทำ trauma therapy ด้วยตัวเองถึงเป็นเรื่องท้าทายและไม่ปรสบความสำเร็จได้ดังนี้

3 เหตุผลทำไมการักษาบำบัดปมบาดแผลทางใจด้วยตัวเองมักล้มเหลว

1. ปมบาดแผลทางใจ (Trauma) กินพื้นที่สมองส่วนหน้า

(ส่วนบน)

สมองส่วนบน (ส่วนที่มีรอยหยัก) นั้นถือว่าเป็นพื้นที่สำคัญในการฟื้นฟูด้านจิตใจ สมองส่วนบนเรียนรู้ทักษะด้านความคิดวิเคราะห์ วางแผน จิตสำนึกผิดชอบชั่วดีเป็นหน้าที่ในด้านความฉลาดของมนุษย์ ในขณะที่สมองส่วนล่าง (แกนสมอง) ทำหน้าที่ดำรงชีวิตแบบสัญชาติญาณทำงานอัตโนมัติเพื่อความอยู่รอด แต่ในขณะเกิดปมบาดแผลทางใจ สมองส่วนบนจะถูกปิดกั้นหยุดการทำงาน และสมองส่วนล่างทำหน้าที่แทนทั้งหมด สมองส่วนล่างทำงานในการหาที่หลบภัยอันตราย ป้องกันอันตรายและตีความสถานการณ์ที่ค่อนข้างเลวร้าย ดังนั้นเมื่อผ่านประสบการณ์อันเลวร้ายคนส่วนใหญ่จึงมีความคิดหวาดกลัวและไม่กล้าเผชิญหน้ากับเหตุการณ์ซ้ำเดิมอีก

ในการบำบัดรักษาปมบาดแผลทางใจให้ได้ผลต้องอาศัยการสร้างเสริมและสนับสนุนด้านความปลอดภัยเพื่อให้สมองส่วนบนได้กลับมาทำงานเป็นปกติ สมองส่วนบนมีการทำงานด้วยการใช้ความคิดในการเลือกตัดสินใจ มีวิธีการ มีแผนการในการหาทางออกไม่ใช่การเอาตัวรอดจากปฎิกิริยาตอบสนองของสัญชาติญาณเหมือนสมองส่วนล่าง

การเผชิญหน้ากับสถานการณ์ไม่พึงประสงค์ในอดีตที่ผ่านมาอาจทำให้เราไม่มีสติ ไม่มีเวลาได้คิดอย่างถี่ถ้วนและตัดสินใจเลือกทำบางสิ่งโดยกระทันหัน ไม่คิดให้รอบคอบเกิดจากสมองส่วนท้ายยึดพื้นที่การทำงานและตอบสนองตามสัญชาติญาณการอยู่รอด ดังนั้นการฟื้นฟูเยียวยาจิตใจจากTrauma จึงต้องทำการให้ข้อมูลใหม่กับสมองและให้สมองส่วนบนได้วางแผนและจัดการกับปัญหาและนำทางในการหาวิธีทางออก เราต้องการให้สมองส่วนบนทำงานปกติเพื่อแก้ไขปัญหาให้กับชีวิต

จะเห็นได้ว่าปัญหาคนไร้บ้าน คนตกงาน ปัญหาชีวิตที่รุมเร้ามากมายที่เกิดขึ้นเป็นความท้าทายในการทำงานของสมองส่วนบน และวิธีจัดการกับสมองส่วนล่างที่เข้ามามีบทบาทยึดพื้นที่การทำงานของสมองส่วนบนทำให้เกิดการตัดขาดไม่เชื่อมโยงกับตัวเอง ปิดฟังชั่นการทำงานของสมองที่ใช้ความคิดและวิเคราะห์ของสมองส่วนบนไปนั่นเอง

2. ปมบาดแผลทางใจ (Trauma) ทำให้เราหวาดกลัวและเจ็บปวดแต่ต้องกลับไปแก้ไขมัน

การถูกทำร้าย ถูกทอดทิ้ง ถูกปฎิเสธ ไม่ได้รับการใส่ใจดูแล ส่งผลต่อความเจ็บปวดทำให้เกิดเป็นปมบาดแผลทางใจ( Trauma) และทำให้สมองส่วนล่างเริ่มเข้าควบคุมการทำงานด้านความปลอดภัย ตัดขาดกับความรู้สึกเจ็บปวดและเรื่องราวที่สร้างความเจ็บปวดเพื่อเป็นเกาะป้องกันอันตรายให้กับตัวเอง อย่างไรก็ตามการจะทำให้ปมบาดแผลทางใจ (Trauma) หายเป็นปกติได้ต้องกลับไปแก้ไขที่ปมปัญหาที่เป็นต้นตอ  หากไม่สามารถแก้ไขปมทางใจได้ สมองส่วนบนก็ไม่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างปกติ หากภาวะจิตใจยังเกิดความกลัว วิตกกังวล หวาดระแวงถึงความไม่ปลอดภัย สมองส่วนล่างจะเข้าทำหน้าที่ส่งผลต่อพฤติกรรมหลบซ่อนไม่เผชิญหน้าและสร้างกำแพงสร้างระยะห่าง ปิดกั้นตัวเองออกจากความเจ็บปวด

3. ขาดทักษะในการรับมือกับความเครียด

การรับมือกับความเครียดเกิดขึ้นตั้งแต่วัยทารก เมื่อหิว และรู้สึกไม่สบายการร้องไห้แสดงออกถึงความเครียด พ่อแม่ และผู้ดูแลจะมีวิธีทำให้ทารกสงบลงด้วยการตอบสนองต่อความต้องการ ให้ความอบอุ่นและจัดการให้ลูกเงียบสงบช่วยให้เด็กลดความเครียด ผู้เลี้ยงดูมีอิทธิพลอย่างมากกับเด็กและทักษะการจัดการกับภาวะความเครียดเมื่อโตขึ้น เด็กใจเย็นสงบ มีสติสามารถจัดการกับอารมณ์ได้เป็นผลพวงมาจากการอบรบเลี้ยงดูที่ดีของผู้ดูแล

ความใจเย็นมีสติและสามารถรับมือกับสภาพวะจิตใจที่วุ่นวายของเด็กมักได้รูปแบบมาจากผู้ดูแลที่ดี  ในทางกลับกันหากเด็กโตขึ้นและเจอกับภาวะเครียดโดยไม่มีความสงบภายในใจและไม่มีทักษะในการจัดการกับปัญหาเครียดได้ดีจะส่งผลต่อการใช้ชีวิตและอารมณ์ที่ไม่ปกติ ความเครียดความสะเทือนใจที่มากเกินระดับอาจทำให้เกิดเป็นปมบาดแผลทางใจ (Trauma) ส่งผลต่อระบบประสาทและสมองที่อ่อนแอลง อย่างไรก็ตามการรักษาปมบาดแผลทางใจ (Trauma) นั้นมีเทคนิควิธีที่หลากหลาย การได้รับคำแนะนำและปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาจะช่วยให้การฟื้นฟูเยียวยาด้านจิตใจและสามารถได้รับการแก้ไขให้หายไวขึ้นเมื่อเทียบกับการปล่อยไปเรื่อยๆหรือการไปลองผิดลองถูกด้วยตัวเอง และควรหมั่นดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ดูแลการกินอยู่หลับนอนให้สมดุลย์ก็เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งเช่นกัน

การมาพบผู้เชี่ยวชาญเป็นการช่วยให้เราเข้าใจปัญหาและปมบาดแผลทางใจของเราได้ดียิ่งขึ้น การมาพูดคุยปรึกษานักจิตวิทยาผู้เชี่ยวชาญช่วยให้เราลดภาวะความเครียดได้ในระดับหนึ่ง การทำบำบัดด้านจิตใจช่วยให้เราสามารถเอาชนะกับปมประเด็นที่เป็นปมบาดแผลทางใจ (Trauma) ให้ได้รับการเยียวยาและรักษาให้หายเป็นปกติ สามารถกลับไปใช้ชีวิตได้อย่างปกติและมีความสุข มีพลัง สามารถควบคุมชีวิตตัวเองให้มีทิศทางในการดำเนินชีวิตอย่างมีจุดหมายได้

 



ความท้าทายเมื่อผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาต้องช่วยบำบัดเยียวยาปมบาดแผลทางใจ (Trauma) ของผู้มารับบริการก็มีเช่นกัน เพราะปมบาดแผลทางใจฝั่งลึกลงไปในจิตใจและความรู้สึกนึกคิดภายในจิตใจ การนำปมบาดแผลทางใจ (Trauma) กลับมาแก้ไขนั้นมักเป็นประสบการณ์ที่เจ็บปวด การรักษาเยียวยาจึงเต็มไปด้วยความท้าทาย แต่หากการแก้ไขปมบาดแผลทางใจผ่านไปได้ก็จะช่วยให้เรากลับมามีพลังในการใช้ชีวิตและไม่ต้องทนทุกข์ทรมานจากการรบกวนทางจิตใจอีกต่อไป

 


อ้างอิง
https://www.carolynspring.com/blog/three-challenges-of-trauma-why-recovery-is-so-hard/
https://calusarecovery.com/blog/why-is-trauma-therapy-so-hard/#:~:text=Common%20Challenges%20in%20Trauma%20Therapy&text=Emotional%20Intensity%3A%20Clients%20often%20face,Overcoming%20this%20resistance%20is%20crucial.

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้