2102 จำนวนผู้เข้าชม |
Narcissistic gaslighting คืออะไร?
ทำความเข้าใจระหว่าง Narcissistic และ Gaslighting
Narcissistic หรือ Narcissistic Personality Disorder (NPD) รู้จักกันในอาการของโรคหลงตัวเอง
NPD เป็นความผิดปกติด้านบุคลิกภาพ มักแสดงออกด้วยการให้ความสำคัญกับตนเองเป็นหลัก ต้องการความชื่นชมยกย่อม ยอมรับจากผู้อื่นหรือต้องการความสนใจจากสังคมเป็นอย่างมาก ไม่แคร์หรือเข้าอกเข้าใจผู้อื่น มีความมั่นใจสูงและรับไม่ได้กับคำวิพากวิจารณ์ใดๆ
ส่วน Gaslighting เป็นพฤติกรรมที่ผิดปกติในบุคคลที่ต้องการควบคุมจิตใจผู้อื่น อาจใช้เทคนิคการทำซ้ำ สร้างเรื่องสถานการณ์เพื่อให้เหยื่อเกิดความเชื่อ เพื่อเปลี่ยนการรับรู้ว่าสิ่งที่เตรียมการไว้เหล่านั้นคือเรื่องจริง พฤติกรรม Gaslighting ส่วนใหญ่มักกระทำโดยคนที่มีภาวะ NPD เพื่อต้องการควบคุม และมีอำนาจเหนือผู้อื่น
เราไม่สามารถเหมารวมได้ว่าคนที่เป็น NPD ทุกคนจะมีพฤติกรรม Gaslighting เช่นเดียวกันกับคนที่มีพฤติกรรม Gaslighting ทุกคนอาจไม่ถูกระบุว่าเป็นคนที่มีบุคลิกภาพบกพร่องอย่าง NPD เสมอไป
ทั้งนี้ทั้งนั้น หากเกิดเกิดพฤติกรรม Gaslighting ในสัมพันธภาพนับว่านั่นเป็นความสัมพันธ์ที่ไม่ดี หรือเป็นพิษ และบางครั้งอาจถึงขั้นต้องได้รับความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาในการออกจากสถานการณ์ดังกล่าว
การตกเป็นเหยื่อของบุคคลที่แสดงพฤติกรรม Gaslighting อาจสร้างประสบการณ์ด้านลบในหลายด้าน โดยรวมที่เห็นชัดคือผู้ถูกกระทำอาจเกิดความสงสัยหรือมีคำถามในใจเกี่ยวกับความคิดของตัวเอง มีความระแวงในความเชื่อมั่นและความสามารถของตัวเอง
ส่งผลต่อความมั่นใจ และในที่สุดอาจหลงเชื่อคิดไปจริงๆ ว่าตัวเองกำลังป่วยทางจิตอยู่ และอาจมีความคิดว่า ความคิดการตัดสินใจของตนเองนั้นพึ่งพาไม่ได้ และอาจต้องอาศัยผู้อื่นมาช่วยเป็นผู้ชี้นำชีวิตของตนเองแทน
ลักษณะบุคลิกภาพของคนที่เป็น Narcissist เป็นอย่างไร?
Narcissistic มักมีลักษณะอย่างน้อย 5 ประเด็นตามรายการด้านล่าง
1. หมกมุ่น
คลั่งไคล้ในอำนาจ และความสำเร็จ ความเป็นอัจฉริยะ หรือบางคนคลั่งไคล้ในความรัก
2. มีความหยิ่งพยอง
ในความสำคัญของตัวเอง เช่น ความสำเร็จของตัวเอง คาดหวังการว่าผู้อื่นต้องให้ความสำคัญ ชื่นชมโดยไม่มีที่ติ หรือมีใครอื่นมาเทียบได้
3. ต้องการการยอมรับ
และชื่นชมอย่างล้นหลามเกินจริง
4. ไม่ใส่ใจความรู้สึกผู้อื่น
ไม่มีความเห็นอกเห็นใจ ไม่ใส่ใจต้องการหรือความจำเป็นของผู้อื่น
5. มีความเชื่อว่าตัวเองเป็นคนพิเศษ
และต้องการอยู่ในสังคมที่มีอภิสิทธิชนพิเศษเท่านั้น
6. ขี้อิจฉา
ไม่ยินดีกับความสำเร็จของผู้อื่นและมักคิดว่าผู้อื่นอิจฉาตน
7. ชอบแสดงพฤติกรรมว่าตนเองดีกว่า
เหนือกว่าผู้อื่น และมีทัศนคติดูถูก พูดจาดูหมิ่นผู้อื่น
8. ต้องการสิทธิพิเศษกว่าคนอื่นอยู่ตลอดเวลา
คิดว่าตนเองเป็นเจ้าของโลกใบนี้ และความคาดหวังการตอบสนองด้านความพึงพอใจที่เกินความเป็นจริง ไม่สมเหตุสมผล
9. มักถือเอาประโยชน์และความสำเร็จของผู้อื่นมาเป็นของตน
เอาเปรียบผู้อื่นเพื่อให้ตัวเองไปสู่ความสำเร็จ
พฤติกรรม Gaslighting เป็นอย่างไร?
Gaslighting เป็นการใช้ Psychological manipulation หรือ การชักจูง โน้มน้าวใจ
เป็นการควบคุมความคิดจิตใจคนอื่น gaslighting จะทำให้เหยื่อเกิดความระแวงสงสัยในตัวเอง ทำให้เหยื่อรู้สึกเหมือนตนเองขาดความสามารถด้านความคิด อาจสร้างเรื่องให้เหมือนว่าความทรงจำของเหยื่อผิดเพี้ยน รู้สึกสับสน ไม่แน่ใจ เป็นการกระทำโดยตั้งใจและจงใจจากอีกฝ่าย โดยมีการวางแผนเพื่อให้เหยื่อเกิดความสับสนในความคิด และไม่สามารถเชื่อใจในความคิดของตนเองได้
ประสบการณ์ Gaslighting หากโดนกระทำเป็นระยะเวลายาวนานจะทำให้เกิดความอ่อนแอด้านจิตใจ จนอาจเกิดเป็นโรควิตกกังวล ซึมเศร้า และมีปัญหาด้านความเชื่อมั่นตก จนรู้สึกว่าไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้ และก็จะเข้าสู่ขั้นตอนที่ Gaslighter ต้องการนั่นคือการควบคุม ชี้นำ ทำให้เหยื่ออยู่ภาวะต้องพึ่งพิง และรู้สึกเหมือนไม่สามารถทำอะไรด้วยตัวเอง ทำให้เหยื่อขาดความเชื่อมั่นและมักทำการแยกตัวเหยื่อออกจากสังคมครอบครัว เพื่อนฝูง คนที่เหยื่อรู้จักเพื่อตัดการเชื่อมต่อจากภายนอก
พฤติกรรม Gaslighting เป็นการทำร้ายจิตใจแบบค่อยเป็นค่อยไป บ่อยครั้งไม่แสดงออกอย่างชัดเจนจนเหยื่ออาจไม่ฉุกคิดหรือได้ทันรู้ตัวว่ากำลังตกเป็นเหยื่อของพฤติกรรม Gaslighting
เอาตัวรอดอย่างไรหากกำลังถูก Gaslighting?
Gaslighting เป็นรูปแบบของการทำร้ายด้านจิตใจ และสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกความสัมพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นกับชีวิตคู่ ชีวิตครอบครัว เพื่อนฝูง เจ้านาย หรือเพื่อนร่วมงาน สถานการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้เรารู้สึกสับสนและเคลือบแคลงสงสัยในตัวเองและสิ่งที่เรารับรู้ รวมทั้งความเชื่อที่เคยมี
หากเกิดความสงสังว่าเรื่องนี้จริงหรือเปล่า ถูกต้องหรือไม่ หากมีคำถามเหล่านี้เกิดขึ้นในใจให้สงสัยว่าเราอาจจะถูก Gaslighting อยู่ก็ได้ คำถามง่ายๆ เช่น
เนื่องด้วย Gaslighter มักขาดการตระหนักรู้ในสิ่งที่ตนเองทำลงไปและมักไม่แคร์ความรู้สึกของคนอื่น หรือไม่แม้รู้ตัวว่ากำลังคุกคาม และกำลังควบคุมผู้อื่นอยู่
ส่วนใหญ่พฤติกรรมเหล่านี้มักเป็นผลสืบเนื่องมาจากปัญหาในวัยเด็กด้านความสัมพันธ์ อย่างไรก็ตามหาก Gaslighting เกิดในสัมพันธภาพระหว่างคู่ชีวิตหรือชีวิตคู่ ควรรีบแก้ไขโดยด่วนและไม่ควรปล่อยทิ้งไว้หรือทำเฉยเพราะจะเป็นการเสริมพลังงานด้านลบให้เพิ่มมากขึ้นในการใช้ชีวิตคู่ร่วมกัน
2. สื่อสาร และลงมือปฏิบัติการ
เมื่อเราตระหนักถึงพฤติกรรมที่เป็นการทำร้ายจิตใจเราแล้ว เราควรมีการสื่อสารคุยกันอย่างตรงไปตรงมา ถึงผลกระทบของคู่ชีวิตที่เกิดขึ้นกับเรา หากเราเงียบไม่สื่อสารจะเป็นการสร้างเสริมแรงกระทำด้านลบต่อพฤติกรรมเหล่านั้นให้มีมากขึ้น
วิธีสื่อสารเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพกับคู่ชีวิตที่มีพฤติกรรม Gaslighting อาจทำได้ดังนี้
และระวังพฤติกรรมเมื่อเผชิญหน้ากับ Gaslighter
หากมีพฤติกรรมที่เป็นพิษ ส่งผลกระทบต่อคนรอบข้าง
เพื่อทำ counseling และทำจิตบำบัด
ความสัมพันธ์ที่เป็นพิษแบบ Gaslighting ที่ต้องการควบคุม และคอนโทรลอีกฝ่ายนั้นไม่เคยเป็นเรื่องที่ควรยอมรับได้ วิธีรับมือกับความสัมพันธ์แบบ Gasligting ที่ดีที่สุดคือต้องให้ผู้กระทำมองเห็นผลกระทบของพฤติกรรมของตัวเองและควรได้รับการรักษาด้านพฤติกรรมด้วยการไปพบกับผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาในการทำจิตบำบัด และรับแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างจริงจังในเชิงบวกและสร้างสรรค์โดยไม่มีอคติเอนเอียงเข้าข้างตัวเอง
อย่างไรก็ตามหากคู่ของเราไม่ยอมไปพบผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาเพื่อทำการบำบัด และยืนกรานว่าจะไม่ลองไป แม้คุณจะพยายามทุกวิถีทางเท่าไรก็ตาม ก็ควรต้องกลับมาทบทวนและพิจรณาถึงความสัมพันธ์ที่ผ่านมา และควรทำใจเพื่อปล่อยความสัมพันธ์เช่นนี้ไป เพราะมันอาจเป็นหนทางที่ดีกว่าในการเยี่ยวยาจิตใจที่บอบซ้ำของตัวเองเพื่อให้กลับมาแข็งแรงและเติบโตก้าวหน้าได้อีกครั้ง
อ้างอิง
https://www.talkspace.com/mental-health/conditions/articles/narcissistic-gas-lighting/
https://psychcentral.com/disorders/narcissist-gaslighting#:~:text=Narcissistic%20gaslighting%20is%20a%20form,sanity
https://happyproject.in/gaslighting-vs-brainwashing/
https://www.forbes.com/sites/traversmark/2022/09/24/a-psychologist-offers-3-strategies-to-stop-a-gaslighter-in-their-tracks/?sh=6b09a81a58c0