จิตบำบัดอีเอ็มดีอาร์ EMDR Therapy กับการรักษาโรคซึมเศร้าในระยะยาว

5960 จำนวนผู้เข้าชม  | 

จิตบำบัดอีเอ็มดีอาร์ EMDR Therapy กับการรักษาโรคซึมเศร้าในระยะยาว


จิตบำบัดอีเอ็มดีอาร์

(EMDR Therapy)

กับการรักษาโรคซึมเศร้าในระยะยาว

 

ดร.มฤษฎ์ แก้วจินดา 

Dr. Marid Kaewchinda (Ph.D.)
นักจิตวิทยาการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
นักจิตบำบัด EMDR Psychotherapy/ Brainspotting Psychotherapy Practitioner


จิตบำบัดอีเอ็มดีอาร์ หรือ EMDR Therapy  คืออะไร?
และ สามารถรักษาโรคซึมเศร้าระยะยาวได้อย่างไร?


EMDR Therapy เป็นเทคนิคการบำบัดจิตใจที่นักจิตวิทยาและจิตแพทย์ทั่วโลกให้การยอมรับ หลักการที่สำคัญของการทำจิตบำบัด EMDR นั้นคือการนำเทคนิคด้านจิตบำบัดเข้าไปจัดการกับการทำงานของระบบประสาทและสมองส่วนหน้า ส่วนกลางและส่วนในที่เป็นตัวสื่อสารข้อมูลไปในระบบการทำงานของสมองส่วนอื่นๆ และไปยังร่างกาย และ เซลล์ประสาท รวมทั้งสมองส่วนที่เก็บความทรงจำหรือหากมีความทรงจำอันเลวร้ายติดค้างหรือซ่อนเอาไว้ก็จะสามารถจัดการกับมันเพื่อปลดล็อคได้
 

จิตบำบัด (EMDR Therapy) มุ่งเป้าหมายไปที่การทำงานกับปมความคิดที่ติดขัดเนื่องจากประสบการณ์ชีวิตด้านลบส่งผลทำให้เกิดบาดแผลทางใจ

เหตุการณ์สะเทือนใจอันเลวร้ายจากอดีตหรือปัจจุบันที่เพิ่งเกิดขึ้นก็ตาม ส่งผลต่อความทรงจำด้านลบ ความเจ็บปวด หรือความเชื่อผิดๆที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต

 

เทคนิคจิตบำบัดอีเอ็มดีอาร์ (EMDR Therapy) มีหลักการทำงานพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับ neurobiological- based (Brain-based therapy) เป็นการทำงานด้านสมองที่ช่วยจัดการกับความทรงจำด้านลบและกระตุ้นให้เกิดประสบการณ์ด้านบวกและลดความเครียด ความวิตกกังวล

ความเครียดรุนแรงที่สะสมเป็นเวลานานมักส่งผลต่อภาวะโรคซึมเศร้า ภาวะทางอารมณ์ที่แปรปรวนเมื่อถูกสิ่งเร้าภายนอก และเมื่อได้รับการกระตุ้นสมองสองข้างด้วยเทคนิคอีเอ็มดีอาร์ (EMDR Therapy) ช่วยให้การทำงานของสมองกลับมาทำงานได้อย่างปกติ ปลดล็อคการถูกบล็อคจากความทรงจำอันเลวร้ายในอดีตที่ติดค้างหรือถูกเก็บซ่อนอยู่ และเป็นการป้องกันการกลับมาเกิดโรคเครียด วิตกกังวล แพนิค โรคซึมเศร้าหรือภาวะทางจิตอื่นๆ ที่ส่งผลและแสดงออกเป็นความเจ็บป่วยทางร่างกายได้อีก

 


EMDR Therapy ได้รับการยอมรับจากองค์การอนามัยโลกถึงประสิทธิภาพในการรักษาใช้ในการรักษาโรคซึมเศร้า ความเครียดวิตกกังวล อาการตื่นตระหนก หวาดระแวง ภาวะติดสารเสพติด  ความผิดปกติด้านจิตใจที่ส่งผลเสียต่อร่างกายและต่อความเชื่อผิดๆ ส่งผลด้านลบต่อพฤติกรรมและโรคทางจิตเวชอื่นๆเช่นการกินที่ผิดปกติหรือ eating disorders

จิตบำบัด EMDR สามารถใช้ในการรักษาโรคกลัวบางอย่างได้ หรือ โรคphobias ช่วยลดโรคทางด้านการควบคุมอารมณ์ที่เป็นปัญหา เช่น borderline personality disorder, หรือ bipolar 

รวมทั้งโรคที่เป็นผลมาจาก post traumatic stress disorder (PTSD) หรือโรคเครียดหลังจากเหตุการณ์สะเทือนขวัญ ซึ่งภาวะ PTSD (Post Traumatic Stress Disorder) อาจจะไม่ได้เกิดในทันทีทันใดแต่อาจทิ้งระยะเป็นเดือนหรือเป็นปีกว่าจะเกิดผลกระทบทางจิตใจ

 

   

EMDR Therapy (จิตบำบัดอีเอ็มดีอาร์)  สามารถช่วยลดและจัดการกับบาดแผลทางใจที่เป็นปมและรบกวนจิตใจได้อย่างมีประสิทธิในเวลาอันสั้น จากการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้าและเคยรักษาด้วยการกินยามาหลายสิบปี หรือผู้ที่มาทำการพบนักจิตวิทยาเพื่อปรึกษาแบบ talk therapyแล้วไม่หาย

หรือแม้แต่การรักษาด้วย CBT (Cognitive Behavioral Therapy) แล้วไม่ได้ผล เมื่อเริ่มเปลี่ยนมาทำจิตบำบัดอีเอ็มดีอาร์ (EMDR Therapy) ปรากฎว่าเห็นความเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

จิตบำบัดอีเอ็มดีอาร์ (EMDR Therapy) ได้รับการยอมรับในการรักษาPTSD ปมบาดแผลทางใจขั้นรุนแรงในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่เคยรักษาด้วยยา หรือลองรักษาด้วยวิธีอื่นแล้วไม่ได้ผล แต่จากประสบการณ์ของผู้เชี่ยวชาญยังได้พบว่า EMDR Therapy สามารถรักษาหรือช่วยลดอาการทางสภาวะจิตใจที่ป่วยผิดปกติในรูปแบบอื่นๆได้ด้วย

จากการวัดผลด้านอารมณ์แปรปรวนของผู้มารับบริการพบว่ามีค่าอารมณ์แปรปรวนที่คงที่มากขึ้น มีความเครียดลดลง ความคิดลบต่อตัวเองและต่อการมองโลกลดลง และมีแนวโน้มสูงขึ้นในเรื่องความคิดที่มุ่งมั่นในการสร้างความสำเร็จในการพัฒนาตัวเองและมีการเปลี่ยนแปลงด้านความคิดและ อารมณ์ในทางที่ดีขึ้น

สมองมีการทำงานอย่างต่อเนื่องภายหลังได้รับการเข้าสู่ขบวนการปลดล็อคโดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านจิตบำบัดอีเอ็มดีอาร์ในการรักษาโรคซึมเศร้า PTSD Panic attack หรือโรคทางจิตเวชต่างๆ

 

การดำเนินการของสมองยังไม่หยุดและยังทำงานต่อเนื่องซึ่งส่งผลดีต่อการรักษาอาการเจ็บป่วยทางใจต่างๆ เมื่อสมองได้รับการกระตุ้นให้ปลดล็อคความทรงจำอันเลวร้ายที่เก็บซ่อนหรือแช่แข็งไว้จะทำให้ระบบไหลเวียนของการทำงานด้านความทรงจำกลับมาทำงานได้ดีตามปกติ

ดังนั้นการทำจิตบำบัดอีเอ็มดีอาร์ (EMDR Therapy) จึงเป็นเทคนิคที่สำคัญในการทำงานกับสมองเมื่อได้รับการกระตุ้นแล้วprocess ยังคงมีต่อไปจนจบจึงทำให้การรักษาโรคซึมเศร้าได้ผลดีและถาวร

 

อย่างไรก็ตามความต่อเนื่องในการพบนักจิตวิทยาผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำจิตบำบัดอีเอ็มดีอาร์ (EMDR Therapy) เป็นสิ่งสำคัญมาก ผู้รับบริการควรให้ความใส่ใจกับการทำอย่างต่อเนื่องในระยะเวลาหนึ่งเพื่อให้กระบวกการได้เริ่มเข้าไปจัดการกับระบบความทรงจำของสมอง และการรับคำแนะนำจากนักจิตวิทยาผู้เขี่ยวชาญในการปิดประเด็นปมปัญหาที่สร้างบาดแผลทางใจใด้รับการแก้ไขอย่างถูกแนวทาง

อย่างไรก็ตามก่อนเข้าสู่ขั้นตอนนี้ต้องได้รับการเตรียมความพร้อมในขั้นเตรียมตัวซึ่งในแต่ละคนใช้เวลาในการเตรียมพร้อมเพื่อเข้าสู่กระบวนการ EMDR Therapy นั้นไม่เท่ากัน

การเคลียร์ความทรงจำในสมองกับทุกประเด็นที่เป็นปมด้านจิตใจที่ติดค้างจนหมดก็จะทำให้เราหายจากโรคซึมเศร้า และนำเรากลับสู่การใช้ชีวิตโดยไม่ถูกรบกวนและใช้ชีวิตได้อย่างปกติ การรักษาต่อเนื่องช่วยให้เกิดแนวทางการสร้างความเข้มแข็งที่เกิดจากภายใน ถึงแม้ว่าในบางรายการเปิดประเด็นบาดแผลจะทำให้ผู้มารับบริการอึดอัดใจในช่วงแรก แต่เมื่อสมองได้เข้าสู่ขบวนการบำบัด ปัญหาความเจ็บปวดและความทุกข์ใจเหล่านั้นจะค่อยๆเบาลงและไม่กลับมารบกวนจิตใจเราได้อีกต่อไป

การทำจิตบำบัดอีเอ็มดีอาร์ (EMDR Therapy) เป็นการทำงานลงลึกด้านสมองและความทรงจำ คำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านจิตบำบัดอีเอ็มดีอาร์จะช่วยทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ และวิธีการสร้างความเข้มแข็งจากภายใน ช่วยทำให้เราเข้าใจปัญหาเคยเกิดขึ้นมาและรู้ทันภาวะจิตใจของตัวเอง มีแนวทางหาวิธีป้องกันไม่ให้เกิดซำ้ เรียนรู้การแก้ไขที่ถูกวิธีโดยไม่ทำให้ตัวเองตกไปอยู่ในภาวะการเป็นโรคซึมเศร้าซ้ำอีก

 

 

 

สัญญาณที่ทำให้รู้ว่าการทำจิตบำบัดEMDR เพื่อรักษาโรคซึมเศร้านั้นได้ผล?


Eye Movement Desensitization and Reprocessing (EMDR) เป็นเครื่องมือการทำจิตบำบัดที่ WHO (World Health Organization) รับรองว่ามีประสิทธิภาพสูงในการรักษาอาการผิดปกติที่เกิดจากความป่วยด้านจิตใจ โดยเฉพาะปมบาดแผลทางใจ ซึ่งรวมถึงภาวะอาการของโรคซึมเศร้า

ภายหลังที่ผู้รับบริการได้รับการทำจิตบำบัดด้วย EMDR Therapy ในครั้งที่ 2-3 ความทรงจำอันเจ็บปวดเลวร้ายจะถูกทำให้ลดระดับความรุนแรงลง ความเจ็บปวดและความเครียดรุนแรงที่เคยถูกเก็บกดไว้จะถูกปลดปล่อยและบรรเทา

ผู้รับการบำบัดจะรับรู้การถูกรบกวนทั้งร่างกายและจิตใจ ไม่ว่าจะเป็นความเครียดรุนแรง หรือความกดดัน การถูกบีบคั้นด้านอารมณ์เหล่านี้จะเบาลง

เป้าหมายของ EMDR Therapy เพื่อช่วยฟื้นฟูสภาวะทางจิตใจที่ได้รับผลกระทบจากประสบการณ์เลวร้าย การทำงานของจิตบำบัด EMDR จะจัดการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านอารมณ์ ความคิด พฤติกรรม ซึ่งมีผลมาจากการที่สมองของเราถูกรบกวน และไม่สามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพซึ่งอันเกิดมาจากความเครียดหรือประสบการณ์ที่ทำให้เกิดปมบาดแผลทางใจ



EMDR Therapy เป็นการทำงานกับความทรงจำในสมองของเราซึ่งเชื่อมต่อสื่อสารด้านจิตใจ เป็นการเชื่อมโยงที่เกิดจากระบบการทำงานในสมอง เซลล์สมอง ระบบความทรงจำ และประสาทสัมผัสต่างๆ

เมื่อสมองของเราได้รับความทรงจำที่แย่ๆ สมองจะสั่งให้ปิดกั้นและไม่เชื่อมต่อกับการทำงานของร่างกายเพื่อเป็นการลดอาการความเจ็บปวด แต่การปิดกั้นของสมองนี้ส่งผลไม่ดีทำให้สมองตัดขาดการซ่อมแซมแก้ไข ฟื้นฟู และไม่เกิดการจัดเก็บความทรงจำได้อย่างสมบรูณ์ ทำให้เมื่อเจอสิ่งกระตุ้นให้หวนคิดถึงความทรงจำเดิมทำให้เกิดความเจ็บปวดที่ซ้ำซาก

EMDR Therapy ทำให้สมองเริ่มเกิดการจัดเก็บประมวลผลใหม่ ทำให้เกิดการซ่อมแซมความเจ็บปวดที่เคยเกิดซ้ำวนเวียนเมื่อเจอตัวกระตุ้นจากภาพ สี เสียง กลิ่น รส ประสาทสัมผัสต่างๆ

เมื่อได้รับการบำบัด ผู้รับการบำบัดด้วย EMDR Therapy จะรับรู้ถึงปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นกับร่างกาย

การทำจิตบำบัดแบบ EMDR  มีเรื่องของการรับรู้ด้านร่างกาย (Physical sensations) เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เช่น หัวใจเต้นเร็ว เหงื่อแตก ท้องไส้ปั่นป่วน เมื่อถึงช่วงการเข้าไปสู่ด้านในของความทรงจำอันเลวร้ายเจ็บปวด ดังนั้นผู้เชี่ยวชาญจึงต้องคอยสนับสนุนเราในการทำการเคลื่อนไหวผ่านทางการเคลื่อนที่ของสายตา  

โรคซึมเศร้าสามารถส่งผลกระทบด้านลบต่อเราและคนที่เรารัก ทำให้รู้สึกหมดหวังกับการรักษา หลังจากพึ่งกระบวกการปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญมาสักระยะหนึ่งแล้วไม่ดีขึ้น แต่การรักษาด้วยจิตบำบัดแบบ EMDR เป็นการรักษาที่แตกต่าง และได้ผลที่ดีกว่าในระยะยาว และใช้เวลาสั้นกว่าการปรึกษาเชิงจิตวิทยาในแนว Talk therapy

พันธุกรรมอาจมีผลต่อการเจ็บป่วยง่ายในการเกิดโรคซึมเศร้า แต่ไม่ใช่ร้อยเปอร์เซ็นต์ที่ทุกคนจะเกิดความอ่อนแอด้านจิตใจจากพันธุกรรม

ทั้งนี้การเกิดโรคซึมเศร้ามักมีสาเหตุส่วนใหญ่มากจากประสบการณ์ชีวิตอันเลวร้าย การสูญเสีย หรือประสบเหตุที่ทำให้เกิดเป็นปมบาดแผลทางใจซ้ำๆ และไม่มีใครเข้าใจ ไม่มีแรงพลังในการแก้ไขเปลี่ยนแปลงตัวเองให้ดีขึ้น หรือไม่ได้รับการช่วยเหลือด้านจิตใจจากผู้เชี่ยวชาญ

ดังนั้นการได้เข้าถึงการช่วยเหลือด้านจิตใจ หรือ Mental health service จึงสำคัญอย่างยิ่งต่อบุคคลที่มีความอ่อนแอด้านจิตใจในเวลาที่ต้องการ

การได้รับการรักษาโรคซึมเศร้าด้วย EMDR เป็นการแก้ไขเรื่องจิตใจที่เชื่อมต่อกับความคิดและการรับรู้ทางกาย หากประสบการณ์อันเลวร้ายยังคงอยู่และยังตามหลอกหลอนโดยไม่มีการจัดการแก้ไข อาจนำชีวิตไปถึงจุดจบที่ไม่มีใครอยากคาดเดาถึงผลลัพธ์อันเลวร้ายที่ตามมาได้

 


ดังนั้นการได้รับการบำบัดจิตใจด้วยเทคนิคจิตบำบัดแบบ EMDR ซึ่งเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ ส่งผลในระยะยาวจะช่วยเปลี่ยนทิศทางของผลกระทบจากความทรงจำเหตุการณ์ในอดีต  ผลกระทบต่างๆ ต่อบุคคล ที่เราจะเห็นได้จากอาการรบกวนต่างๆทางด้านอารมณ์แปรปรวน ด้านจิตใจและด้านความคิดทัศนคติการมองโลก รวมถึงภาวะโรคซึมเศร้า อาการเครียดรุนแรง หรืออาการสิ้นหวังหรือหมดไฟในการเผชิญหน้าต่อสู้ปัญหาชีวิต  

การรักษาด้วยEMDR therapy ช่วยป้องกันการเกิดภาวะอยากฆ่าตัวตาย การจบชีวิตอาจเป็นทางเลือกสุดท้ายของการรักษาโรคซึมเศร้าแล้วไม่ได้ผลจนทำให้ผู้ป่วยไม่อยากทนทุกข์ทรมานกับโรคซึมเศร้านี้อีกต่อไป ดังนั้นอย่าปล่อยให้ตัวเราหรือคนใกล้ชิดที่ป่วยด้วยโรคซึมเศร้าเผชิญกับภาวะโรคซึมเศร้าขั้นสุดท้าย แต่ควรมารับการทำจิตบำบัดด้วย EMDR therapy

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมผ่านทาง blog ของ BetterMind ที่ section บทความ และสามารถติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อทำการนัดหมายเข้ารับการทำจิตบำบัดแบบ EMDR ได้ตั้งแต่วันนี้ Better Mind, we are here to help.


อ้างอิง

https://www.choosingtherapy.com/emdr-for-depression/
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5836996/

https://www.choosingtherapy.com/emdr-for-depression/

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้