1960 จำนวนผู้เข้าชม |
นักจิตวิทยาคือใคร และ มีหน้าที่อะไร
เสนอบทความโดยทีมนักจิตวิทยา BetterMind Thailand
นักจิตวิทยาคือใคร?
นักจิตวิทยาเป็นผู้ที่ศึกษาลงลึกด้านจิตใจของมนุษย์และเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญด้านภาวะทางจิตใจ และ อารมณ์ ที่ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรม
นักจิตวิทยาไม่ได้มีหน้าที่แค่ ให้คำปรึกษาแนะนำ หรือ talk therapy เท่านั้น แต่การศึกษาด้านจิตวิทยาของนักจิตวิทยา และ การทำงานของนักจิตวิทยานั้นยังครอบคลุมไปในอีกหลายๆส่วน โดยเฉพาะด้านการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมของคน และสัตว์ ซึ่งถือเป็นหนึ่งในงานที่สำคัญของนักจิตวิทยาด้วยเช่นกัน
นักจิตวิทยาทำอะไรบ้าง?
นักจิตวิทยาใช้ความรู้ด้านจิตวิทยาที่ได้จากการศึกษาทดลอง และทำการวิจัยมาช่วยแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพจิตให้แก่ผู้ป่วย และช่วยบำบัดอาการเจ็บป่วยด้านจิตใจต่างๆ ที่เกิดมาจากความเครียด วิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า ปัญหาสาเหตุที่มาของการเผชิญหน้ากับอุปสรรค์อันหลากหลายของการใช้ชีวิต
นักจิตวิทยาใช้ศาสตร์ความรู้ด้านจิตวิทยาในการช่วยเหลือสังคมด้วยการนำผลงานวิจัยในเชิงวิทยาศาสตร์ และมีการพิสูจน์ได้ผลลัพธ์เป็นที่แน่ชัดและผ่านการยอมรับในวงการนักจิตวิทยาและในวงการแพทย์มาเผยแพร่ และ แบ่งปันความรู้ในงานวิจัยนี้ให้กับมหาวิทยาลัย หรือ สถาบันการศึกษา หน่วยงานของรัฐ และองค์กรอิสระต่างๆเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการช่วยเหลือผู้คนในสังคมต่อไป
แขนงสาขาของนักจิตวิทยามีอะไรบ้าง?
ศาสตร์ด้านจิตวิทยา และ สาขาเฉพาะทางของนักจิตวิทยาเองนั้นมีความหลากหลายในแต่ละสาขาที่ทำการศึกษาและงานวิจัย แต่สามารถแบ่งเป็นสาขาใหญ่ๆได้ 3 ประเภทดังนี้
มาตรฐานและ การอบรม
นักจิตวิทยาทุกแขนงต้องผ่านการเรียนจบหลักสูตรที่กำหนดไว้ และต้องผ่านการอบรมในสาขาวิชาเฉพาะที่เลือกตามที่สนใจและถนัดโดยยึดถือชั่วโมงการฝึกปฎิบัติจนเชี่ยวชาญจากความรู้ที่ได้ร่ำเรียนมาในการฝึกฝน และจะอยู่ภายใต้การกำกับดูแลจากหัวหน้าหน่วยงานที่ไปปฎิบัติหน้าที่ หรือเป็นนักจิตวิทยาอาวุธโสที่ผ่านคุณวุฒิการทำงานที่เชี่ยวชาญ และเป็นผู้รับรองมาตรฐานการผ่านงานกับนักจิตวิทยาจนกระทั่งพร้อมและสามารถออกไปสู่การปฎิบัติได้จริง
นักจิตวิทยา และ จิตแพทย์
หลายคนอาจไม่แน่ใจความแตกต่างระหว่างการทำงานของผู้เชี่ยวชาญนี้ ทั้ง นักจิตวิทยาและจิตแพทย์ และเมื่อถึงเวลาจำเป็นที่ต้องการความช่วยเหลือด้านสุขภาพจิตควรจะไปพบใคร
ซึ่งทางBetter Mind ขออธิบายให้ฟังง่ายๆดังนี้คือ นอกจากพื้นฐานด้านการศึกษาที่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญที่แตกต่างกันแล้ว จิตแพทย์มาทางสายความเชี่ยวชาญเรื่องการใช้ยา ส่วนนักจิตวิทยามาในความเชี่ยวชาญด้านศาสตร์ทางจิตวิทยา
การศึกษาและพื้นฐานความรู้ที่แตกต่างกันของทั้งสองผู้เชี่ยวชาญจึงทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ในการให้บริการเพื่อการรักษาที่มีประสิทธิภาพ นักจิตวิทยาเปรียบได้กับหมอทางด้านจิตใจ ที่คอยช่วยคนให้เรียนรู้ที่จะจัดการกับสถานการณ์ความเครียดต่างๆในชีวิต ช่วยให้คนสามารถเอาชนะอุปสรรค์ภายในใจที่อ่อนแอของตัวเองทั้งเรื่องของการติดยาเสพติด การติดสุราเรื้อรัง อาการเจ็บป่วยทางใจที่ฝังลึกยาวนาน บั่นทอนร่างกาย สุขภาพใจจนเป็นปัญหาด้านร่างกายและแสดงออกมาทางบุคคลิคภาพที่บกพร่อง โรคเครียด ซึมเศร้า วิตกกังวล eating disorders นอนไม่หลับ โรคจิตเภทต่างๆ ล้วนมีสาเหตุและที่มาที่หลากหลายแตกต่างกันไป
นักจิตวิทยาให้บริการด้านจิตบำบัด จะวินิจฉัยอาการเจ็บป่วยทางใจ ความรู้สึก อารมณ์ และพฤติกรรมต่างๆเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยได้กลับมาใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข และเป็นปกติสุขได้ต่อไป
การเป็นนักจิตวิทยานั้นต้องผ่านการศึกษาและการฝึกฝนด้านทักษะในการแก้ปัญหาด้านสุขภาพจิตให้ผู้มารับบริการอย่างเชี่ยวชาญและมีมาตรฐานเป็นอาชีพ การเรียนและการอบรมใช้เวลายาวนานเกินกว่า 12 ปีเป็นอย่างน้อย
การเรียนรู้ในศาสตร์ทางจิตวิทยาอาจพูดได้ว่าเป็นการเรียนรู้แบบไม่สิ้นสุดและในงานวิจัยและทดลองมักจะค้นพบวิทยาการด้านวิทยาศาสตร์ทางจิตวิทยาใหม่ๆเสมอ ดังนั้นหากใครที่กำลังสนใจอาชีพนักจิตวิทยาควรศึกษาและมีความไฝ่รู้ที่จะพัฒนาตนเองและความรู้อยู่ตลอดเวลา
การเรียนขั้นพื้นฐานเป็นเพียงแค่ทฤษฎีเบื้องต้น ระยะเวลาและขั้นตอนการผ่านวิชาชีพและใบประกาศนียบัตรต่างๆนั้นซับซ้อนและยุ่งยากเนื่องจากเป็นการทำงานที่เกี่ยวเนื่องกับชีวิตคนดังนั้นจรรยาบรรณในวิชาชีพนี้จึงค่อนข้างเข้มงวดและมีรายละเอียดขั้นตอนค่อนข้างเยอะ
และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือต้องมีใจที่ต้องการช่วยเหลือผู้อื่นให้หลุดพ้นจากความทุกข์ทรมานและความเจ็บปวดที่กำลังเผชิญอยู่ โดยไม่คิดที่จะฉวยโอกาสหาผลประโยชน์จากสภาวะทางจิตใจที่กำลังอ่อนแอของผู้ป่วยเพราะการทำงานของนักจิตวิทยานั้นจะต้องใช้ความทุ่มเททั้งแรงกายและแรงใจเป็นอย่างมากและต้องเป็นผู้ที่ช่างสังเกตพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของมนุษย์และสังคมเพื่อการเรียนรู้คิดค้นวิธีการบำบัดรักษาอาการเจ็บป่วยทางใจให้ผู้ป่วยได้ดีขึ้นอยู่ตลอดเวลา
อ้างอิง
https://www.verywellmind.com/what-is-a-psychologist-2794926
https://www.apa.org/topics/psychotherapy/about-psychologists
https://pacifichealthsystems.com/blog/should-you-see-a-psychiatrist-or-a-psychologist-first/