27785 จำนวนผู้เข้าชม |
รู้สึกเศร้า ร้องไห้โดยไม่มีสาเหตุ แก้ไขอย่างไร?
ดร.มฤษฎ์ แก้วจินดา (Ph.D)
Dr. Marid Kaewchinda
นักจิตวิทยาการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
นักจิตบำบัด EMDR Psychotherapy/ Brainspotting Psychotherapy Practitioner
การร้องไห้โดยไม่มีสาเหตุอาจเป็นการตอบสนองด้านอารมณ์ที่อาจมีปัจจัยอันหลากหลายที่ส่งผลกระทบต่อสภาวะทางจิตใจ
หากการร้องไห้โดยไม่มีสาเหตุเกิดขึ้นบ่อยและถี่จนรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันควรไปพบผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาเพื่อทำการวินิฉัยและแก้ไขจัดการในขั้นต่อไปด้วยการทำจิตบำบัด หรือ ทำcounseling แบบปรึกษาเชิงจิตวิทยาต่อไปจนกว่าจะดีขึ้น
การร้องไห้โดยไม่มีสาเหตุอาจเกิดจากปัจจัยต่างๆดังนี้
1. ฮอโมนส์ไม่สมดุล
อาจเกิดขึ้นได้ในระยะเวลาที่ใกล้มีประจำเดือน หรือที่เรียกว่า premenstrual syndrome (PMS) และอาจเกิดในเวลาสั้นๆโดยอาจมีภาวะอื่นร่วมด้วยดังนี้ เช่น ซึมเศร้า เสียใจ เครียด กังวล มีพฤติกรรมแสดงออกทางลบไม่เป็นมิตร อารมณ์แปรปรวนบ่อยๆ
2. ภาวะตั้งครรภ์
สภาพร่างกายมีการเปลี่ยนแปลง ฮอโมนส์มีการเปลี่ยนแปลงในระหว่างตั้งครรภ์และหลังคลอดส่งผลทำให้อารมณ์แปรปรวน ร้องไห้ง่ายกว่าปกติ บางคนมีภาวะซึมเศร้า ว่างเปล่าสิ้นหวังหลังคลอด 2-3 วัน
หากอาการดังกล่าวอยู่นานกว่า2 สัปดาห์จะมีภาวะที่เรียกว่าpostpartum depression ซึ่งเป็นภาวะซึมเศร้าหลังคลอดบุตร เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงของฮอโมนส์ในร่างกายอย่างรวดเร็ว
3. ภาวะซึมเศร้า
Depression (ซึมเศร้า) อยู่ในภาวะที่มีความเปราะบางด้านอารมณ์และร่างกายเจ็บป่วยง่าย นอนไม่หลับ สิ้นหวังและมีความคิดอยากตาย
4. ไบโพล่า
Bipolar ทำให้มีภาวะอารมณ์ขึ้น-ลงสุดโต่ง คาดเดาได้ยาก และมักมีระดับขั้นของอารมณ์ที่แปรปรวนได้ง่ายเดี๋ยวดีเดี๋ยวเศร้า
5. Burnout หรือภาวะหมดไฟ
เป็นภาวะทางจิตใจและร่างกายที่เหนื่อยล้าที่สุดและทุกข์ทนทรมานกับความเครียดมาอย่างยาวนาน ส่งผลทำให้ประสิทธิภาพด้านการจัดการกับอารมณ์ลบมีปัญหา และมักระเบิดอารมณ์ได้ง่ายเวลาโกรธหรือเปราะบางร้องไห้ง่าย และส่งผลต่อการรับมือหาทางออกหรือควบคุมอารมณ์ได้อย่างถูกวิธีเมื่อเจอการกระตุ้นจากภายนอก
6. วิตกกังวล (anxiety)
ความวิตกกังวลมักส่งผลต่อความกลัว ทำให้คิดมากและมีอาการตื่นตระหนก อาการวิตกกังวลส่งผลต่อการควบคุมความรู้สึกที่อ่อนแอและอาจร้องไห้โดยไม่รู้สาเหตุที่แน่ชัด
7. Pseudobulbar Affect (PBA) หรือ ภาวะทางสมอง
สมองเกิดการเสียหาย การเชื่อมต่อของสมองส่วนหน้ามีปัญหาในการควบคุมการทำงานด้านอารมณ์ ทำให้ยากต่อการควบคุมอารมณ์ต่างๆทั้งร้องไห้ โกรธและหัวเราะ
รับมืออย่างไรกับการร้องไห้โดยไม่มีสาเหตุ?
หากการร้องไห้โดยไม่มีสาเหตุส่งผลรบกวนการใช้ชีวิตหรือการทำกิจกรรมต่างๆควรไปพบผู้เชี่ยวชาญเพื่อบำบัดอาการซึมเศร้า วิตกกังวล ไบโพล่า หรืออาการอื่นๆด้านปัญหาสุขภาพจิตที่มี
การรักษาอาจใช้วิธีการดังต่อไปนี้
อย่างไรก็ตามผู้เชี่ยวชาญจากVery Well Healthแนะนำให้ทำการบำบัดผสมผสานหลายๆอย่างร่วมกัน และควรใช้จิตวิทยาเชิงบวกหรือ positive psychology มาช่วยให้การทำให้ชีวิตกลับสู่สมดุลย์แห่งความสุข
Positive psychology หรือ จิตวิทยาเชิงบวกสำคัญกับชีวิตอย่างไร?
จิตวิทยาเชิงบวกสามารถช่วยให้คนใช้ชีวิตได้อย่างมีจุดมุ่งหมาย ทำให้เราสามารถบริหารจัดการกับประสบการณ์และพฤติกรรมด้านลบเพื่อใช้ในการเพิ่มศักยภาพให้ตัวเองและทำให้ตัวเองสามารถเติมเต็มความสุขให้กับชีวิตได้
ถึงแม้ว่าในเชิงวิทยาศาสตร์ทางจิตวิทยาที่ว่าด้วยความสุขของมนุษย์นั้นได้กล่าวไว้ว่ามนุษย์โหยหาความสุขอยู่ตลอดเวลา
แต่สมองของมนุษย์มักมีวิวิฒนาการไปในทางตรงกันข้าม สมองมันจะโฟกัสไปในทางลบเพื่อช่วยเราในการอยู่รอดหรือระวังป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น
ดังนั้นสมองมักมีความคิดด้านลบเกิดขึ้นและอยู่ยาวนาน รวมทั้งความคิดลบอาจส่งต่อไปสู่รุ่นถัดมาได้ด้วย ความคิดด้านลบมักส่งผลต่อการใช้ชีวิตของคน ทั้งชีวิตส่วนตัวและชีวิตการทำงานร่วมกับผู้อื่น
อย่างไรก็ตามสมองสามารถฝึกฝนได้ สมองที่มีความคิดแคบหรือความคิดด้านลบก็ไม่จำเป็นต้องอยู่อย่างนั้นไปตลอดชีวิต เราสามารถฝึกสมองให้คิดบวกและมีความสุขได้โดยการฝึกฝนจิตวิทยาเชิงบวกให้กับสมองของเราในทุกๆวัน เช่นเมื่อได้ร่วมทำกิจกรรมที่ส่งผลต่ออารมณ์ด้านบวก ได้ทำกิจวัตรที่สร้างแรงบันดาลใจ พอใจ ดีใจ มีความหวังพัฒนาไปสู่ความก้าวหน้า มีความสบายใจและ รู้สึกซาบซึ้งกับสิ่งที่เป็นอยู่สมองก็จะได้รับประสบการณ์ด้านดีและเพิ่มความคิดด้านบวก หรือ มีgrowth mindset มากกว่าสมองที่มีความคิดลบหรือความคิดแคบไม่เปิดกว้างอย่าง fixed mindsetได้
7 เทคนิคฝึกฝนจิตวิทยาเชิงบวกให้สมอง
1. รู้สึกซาบซึ้งกับทุกสิ่ง
ฝึกให้ตัวเองรู้สึกชื่นชม ขอบคุณกับประสบการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น มีความเมตตากับทุกอย่าง ใจดี อ่อนโยน และแสดงออกหรือตอบแทนกับความชื่นชมนั้นๆ
2. ฝึกมีอารมณ์ขัน
การได้หัวเราะเป็นยารักษาใจที่ดี ช่วยลดความตึงเครียด และดีกับการทำงานของระบบด้านร่างกายอีกด้วย
3. ยิ้มบ่อยๆ
การยิ้มสามารถเปลี่ยนจากอารมณ์ลบเป็นบวกได้ รวมทั้งดีต่อสุขภาวะด้านจิตใจและร่างกายด้วย
4. นึกถึงภาพความสำเร็จของตัวเอง
วาดภาพความสำเร็จที่มั่นคง มีความมั่นใจ เชื่อมั่นว่าทำได้และมองโลกด้านบวก พูดกับตัวเองว่าเราทำได้ หลับตาและจินตนาการอย่างผ่อนคลาย
5. มีเมตตากับตัวเอง
ไม่วิพากวิจารย์หรือ คาดหวังกดดันตัวเองจนเกินไป ความมีเมตตากับตัวเองช่วยให้เรามองเห็นสิ่งที่เป็นด้านบวกของตน รู้จุดอ่อนและสร้างจุดแข็งให้เกิดเป็นความมั่นใจ เห็นคุณค่าและรักตัวเอง เข้าใจตัวเอง
6. มีส่วนร่วม
การมีส่วนร่วมหรือให้การสนับสนุนในกิจกรรมต่างๆไม่ว่าจะเป็นของคนในครอบครัวหรือคนในชุมชมจะทำให้เกิดมีความสุข เพลิดเพลิน รวมทั้งการช่วยพลักดันให้กิจกรรมนั้นๆประสบความสำเร็จเป็นการสร้างกำลังใจให้กับตัวเอง
ยิ่งไปกว่านั้นเรามักจะมีช่วงเวลาที่ดีต่อการสนุบสนุนพลักดันกิจกรรมเหล่านั้นให้ประสบความสำเร็จและทำให้หวนนึกถึงประสบการณ์ที่ดีแบบนี้ได้ทุกครั้ง
7. ฝึกให้กำลังใจตัวเอง
ฝึกพูดกับตัวเองในเชิงบวก ให้กำลังใจตัวเองซึ่งเป็นการพัฒนาปรับปรุงด้านความคิดในเชิงบวกและหากเกิดความวิตกกังวลในบางเรื่องเช่นการพูดในที่ประชุมก็อาจแก้ด้วยการแชร์ให้ผู้ฟังรับรู้ถึงความรู้สึกของเราและเป็นการลดความเครียดให้ตัวเองด้วย
อ้างอิง
https://www.cordico.com/2021/01/20/why-our-brains-fixate-on-the-bad-and-what-to-do-about-it/#:~:text=Our%20brains%
https://positivepsychology.com/repress-emotions/
https://www.verywellhealth.com/crying-for-no-reason
https://www.talkspace.com/blog/positive-psychology-definition-guide-what-is/#:~:text=Positive%20psychology's%20main%20aim%20is,to%20improve%20quality%20of%20life.
https://positivepsychology.com/what-is-positive-psychology-definition/
https://positivepsychology.com/what-is-positive-psychology-definition/
https://www.lifehack.org/569466/how-regain-your-positive-energy-when-things-are-getting-tough