5844 จำนวนผู้เข้าชม |
ดร.มฤษฎ์ แก้วจินดา (Ph.D)
นักจิตวิทยาการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ และนักจิตบำบัด
Certified EMDR and Brainspotting Therapy
Mind Traps หรือ thinking traps คือรูปแบบวิธีทางความคิด หรือกระบวนการทางความคิดซึ่งในแต่ละคนไม่เหมือนกันและส่วนใหญ่กับดักทางความคิดนี้มักจะโน้วเอียงไปในแนวทางด้านลบ และบิดเบือนการรับรู้ในสิ่งที่เป็นจริงที่เกิดขึ้น
ซึ่งกับดักทางความคิดนี้จะอยู่เข้าไปส่วนลึกของจิตใจและการรับรู้ของเรา ทำให้เกิดความคิดและการตัดสินแบบรีบสรุปและส่อไปในทางลบ
ปัจจัยด้านความคิดลบที่ทำให้บิดเบือนความเป็นจริงมีอะไรบ้าง
1. มีความคิดแค่ขาว กับ ดำ
ซึ่งในความเป็นจริงโลกยังมีสีเทาด้วย เช่นหากเราถูกไล่ออกจากงาน ก็ไม่ได้แปลว่าชีวิตเราจะล้มเหลวไปในทุกๆเรื่อง ให้แทนที่ความคิดลบด้วยการมองว่าการเปลี่ยนแปลงกำลังจะนำพาชีวิตไปสู่สิ่งที่ดีกว่า ให้มองว่าชีวิตไม่ใช่ว่าจะต้องสมบรูณ์แบบไปซะทุกอย่าง
2. ใช้อารมณ์ตัดสิน
เช่น การโดนไล่ออกเพราะบริษัทไม่เห็นคุณค่าของเรา ทำให้เราเกิดความรู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจด้อยค่า แต่นั้นไม่ได้หมายความว่าชีวิตของเราจะต้องหมดคุณค่ากับเรื่องอื่นๆในชีวิตเพราะเรายังมีคุณค่ากับคนอื่นหรือเป็นประโยชน์กับหน่วยงานอื่นที่เห็นคุณค่าของเรา ให้แทนที่ด้วยการยอมรับในความจริงที่เกิดขึ้นแต่ไม่ยอมแพ้ต่ออารมณ์ตัวเองและก้าวต่อไป
3. การตีความ
การอ่านใจคน เป็นการรับรู้ว่าคนอื่นมองเราอย่างไร และคิดในทางลบโดยไม่มีสิ่งพิสูจน์ได้เพียงพอเป็นการสรุปเองคิดไปเอง ให้แทนที่ความคิดเหล่านั้นด้วยการชุกคิดว่าเรารู้ความคิดตัวเองดีว่าเราคิดมากไปเอง
4. พึ่งหมอดู
หรือ ตีความอนาคตไปในทางแย่ในสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น ให้แทนที่ความคิดนี้ด้วยการบอกตัวเองว่าไม่มีใครหรอกที่จะล่วงรู้อนาคตได้
5. ตราหน้าตัวเอง
การให้นิยามผิดๆหรือการคิดลบกับตัวเอง เช่น ฉันมันไม่เอาไหนเพราะสอบตก เราไม่ควรตัดสินขีวิตใครทั้งนั้นแม้แต่ตัวเอง เพราะเราก็แค่สอบตกในวิชานั้น เราอาจจะทำได้ดีในวิชาอื่นๆก็ได้
6. คิดว่าเหตุการณ์ร้ายมักจะเกิดซ้ำๆกับเราเสมอ
เช่นบอกกับตัวเองว่าทำไมเรื่องร้ายๆแบบนี้ต้องเกิดกับฉันตลอดเลย ให้แทนที่ความคิดนี้ด้วยการบอกว่า ต้องหาวิธีป้องกันเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และได้ผลลัพธ์ที่แตกต่างในครั้งหน้า
7. โทษตัวเอง
ไม่ว่าจะเกิดเรื่องร้ายที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ก็มักจะโทษตัวเอง ให้แทนที่ด้วยการบอกตัวเองว่ามันไม่ใช่ความผิดของเราและก็ไม่ใช่ความผิดของใครทั้งนั้น
ความคิดวิตกกังวล ก็เช่นกัน เป็นรูปแบบของกับดักทางความคิดอย่างหนึ่ง และหากไม่ได้รับการแก้ไขก็จะเกิดเป็นความบกพร่อง หรือ anxiety disorder ทำให้เกิดเป็นความผิดปกติด้านสุขภาพจิตต่อมาได้
เทคนิคทางจิตวิทยาที่ช่วยปกป้องเราจากกับดักทางความคิด
ก่อนที่จะสรุปอะไรง่ายๆลองถามตัวเองว่าสิ่งที่เราคิดมันมีมูลความจริงไหม หรือเราคิดไปเอง และมันสำคัญต่อการเก็บมาคิดใส่ใจหรือไม่
หากขาดการตรวจสอบความคิดตัวเองอย่างสม่ำเสมอและปล่อยให้ความคิดทำงานไปตามใจโดยไม่มีการควบคุม หรือ ตั้งสติให้ดี อาจทำให้ชีวิตของเรามีความคิดที่ผิดเพี้ยน มีคติ มีทัศนคติต่อการใช้ชีวิตในทางลบ ในที่สุดก็ติดกับดักทางความคิดที่โน้มเองไปในทางคิดลบและเมื่อเกิดขึ้นเสมอประจำจนเป็นกิจวัตรและนิสัยก็จะค่อยๆกลายเป็นรูปแบบวิธีการทางความคิดของเรา
ดังนั้นควรหมั่นตรวจสอบข้อสรุปทางความคิดของเราอยู่เสมอ หากเราไม่สามารถจัดการกับขบวนการรูปแบบทางความคิดลบ หรือ ติดกับดักทางความคิดที่ไม่หลุดพ้นได้ด้วยตัวเองควรปรึกษานักจิตวิทยาผู้เชี่ยวชาญเพื่อช่วยเหลือในการปรับเปลี่ยนรูปแบบและขบวนการทางความคิดให้เรา