6 วิธี ธรรมชาติหายจากโรคซึมศร้าโดยไม่ต้องใช้ยา

16523 จำนวนผู้เข้าชม  | 

6 วิธี ธรรมชาติหายจากโรคซึมศร้าโดยไม่ต้องใช้ยา

  

 ดร.มฤษฎ์ แก้วจินดา (Ph.D.)
นักจิตวิทยาการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ และ นักจิตบำบัด
EMDR Psychotherapy Supervisor/ Brainspotting Psychotherapy Practictioner

 

  โรคซึมเศร้าเกิดจากหลากหลายสาเหตุในคนแต่ละคนไม่เหมือนกัน ซึ่งภาวะซึมเศร้านี้มีที่มาที่ไปที่แตกต่างกันและสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ทุกระดับชนชั้น ไม่ว่าจะคนร่ำรวยคนจน นักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จหรือล้มเหลว ดาราคนดังที่มีชื่อเสียงหรือแม้แต่คนธรรมดาทั่วไป ซึ่งสาเหตุของโรคซึมเศร้านี้ไม่มีข้อบ่งชี้แน่ชัดว่าเกิดมาจากอะไรในแต่ละคน เพราะต่างคนมีปัญหาที่ซับซ้อนและหลากหลายแตกต่างกันไป

อย่างไรก็ตามอับดับแรกเราต้องเข้าใจก่อนว่า อาการซึมเศร้ามักเป็นผลสืบเนื่องมาจากเหตุการณ์หรือการกระทำบางอย่างที่มากระทบกระเทือนจิตใจของเรา อาจเป็นเหตุการณ์ที่ฝังใจตั้งแต่อดีต หรือเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้นแต่ยังคงทิ้งรอยบาดแผลทางใจ หรือความวิตกกังวลใจในเรื่องบางเรื่อง มีความทุกข์ความเครียดสะสมมาเป็นเวลานานๆ โดยไม่ได้รับการแก้ไขซึ่งต่อมาจึงส่งผลถึงสุขภาพร่างกายและจิตใจในระยะต่อมา

ความเจ็บป่วยด้านจิตใจที่ไม่ได้รับการแก้ไขอาจส่งผลเสียต่อระบบความสมดุลของสมอง ความเครียดส่งผลให้ร่างกายต้องหลั่งฮอร์โมนมากำจัดหรือรักษาอาการจึงทำให้เกิดความเสียสมดุลย์ของเคมีในสมองที่ผิดปกติ อาการเจ็บป่วยทางจิตใจส่งผลกระทบต่อมายังระบบร่างกาย เกิดเป็นความเจ็บป่วยเรื้อรัง ไม่รู้สาเหตุที่แท้จริงแพทย์ตรวจอาการไม่พบความผิดปกติแต่สามารถรบกวนการใช้ชีวิตของคนเป็นโรคซึมเศร้าได้ 

ตัวอย่างเช่นเหตุการณ์สะเทือนใจจากการสูญเสียคนที่รักกระทันหันหรือ เรื่องสะเทือนขวัญที่ทำให้หวาดกลัวหวาดระแวงทุกอย่างรอบตัวไปหมดเหล่านี้อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าได้หากปล่อยทิ้งไว้นานโดยไม่ดูแลรักษา

หรือหากเคยมีประวัติคนในครอบครัวป่วยเป็นโรคซึมเศร้ามีความผิดปกติด้านพันธุกรรมทางเคมีในสมองหรือสารสื่อประสาทก็อาจส่งผลต่อระบบประสาทและสมองที่มีความเสี่ยงทำใ้ห้เกิดโรคซึมเศร้ามากกว่าคนที่ไม่เคยมีประวัติการป่วยในครอบครัวมาก่อนด้วยเช่นกัน

และไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใดก็ตาม เราควรทำความเข้าใจก่อนว่าอาการซึมเศร้าเป็นเพียงแค่อาการเจ็บป่วยชั่วคราว ซึ่งสามารถรักษาหายได้เหมือนอาการเจ็บป่วยอื่นๆ เพียงแต่เราต้องไปผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยา นักจิตวิทยา หรือจิตแพทย์ เพื่อทำการฟื้นฟูสภาวะทางจิตใจให้กลับมาแข็งแรงเป็นปกติดีต่อไป รวมทั้งมีวิธีรับมือหรือต่อสู้กับอาการซึมเศร้าที่อาจกลับมาอีกได้อย่างถาวร

  นักจิตวิทยาผู้เชี่ยวชาญจะช่วยแก้ไขอาการโรคซึมเศร้าโดยแนะนำวิธีปฎิบัติเพื่อให้เห็นผลที่ดีขึ้นอย่างชัดเจนด้วยการทำจิตบำบัด หรือใช้เทคนิคทางจิตวิทยาในการให้คำปรึกษาเพื่อคลายทุกข์ที่เกิดเป็นความวิตกกังวล นักจิตวิทยาอาจมีการทำงานร่วมกับจิตแพทย์ในบางกรณีที่จำเป็นต้องใช้ยาร่วมด้วยเพื่อช่วยปรับสมดุลของเคมีในสมองที่ผิดปกติ

อย่างไรก็ตามการใช้ยาไม่ได้จำเป็นสำหรับทุกคนที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าการทำจิตบำบัดแทนการใช้ยาอาจเป็นทางเลือกที่เหมาะสมกว่า จิตบำบัดที่ได้รับการยอมรับทางการแพทย์โดยองค์การอนามัยโลก หรือ WHO ในปัจจุบันได้แก่จิตบำบัด EMDR ซึ่งมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์และงานวิจัยสนับสนุนมากมายถึงประสิทธิภาพในการรักษาโรคซึมเศร้าที่รวดเร็วและเห็นผลชัดเจน

การใช้ยามีผลข้างเคียงที่รุนแรงในระยะยาวส่งผลต่อการควบคุมจิตใจ การทำงานของสมองที่อาจแย่ลงจนรุนแรงถึงขั้นมีความคิดอยากฆ่าตัวตาย และทำให้เกิดภาวะที่ต้องพึงพิงยาอยู่ตลอดเวลา

รู้สึกขาดยาไม่ได้หากต้องเลิกใช้ยา จะมีภาวะของการถอนยาเหมือนผู้เสพติดซึ่งจะส่งผลด้านลบต่อการทำงานของสมองและการควบคุมจิตใจ

ดังนั้นหากเลี่ยงได้ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาโดยไม่จำเป็น และหากจำเป็นต้องใช้ควรได้รับการควบคุมดูแลจากจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจริงๆเท่านั้น

การทำจิตบำบัดโดยนักจิตบำบัด หรือนักจิตวิทยาถือว่าเป็นการรักษาที่ต้นเหตุของปัญหามากกว่าการรักษาที่ปลายเหตุอย่างการกินยาต้านเศร้า ผู้เชี่ยวชาญจะใช้เทคนิคและวิธีการรักษาด้วยจิตบำบัด  จิตบำบัดมีมากมายนักพันเทคนิควิธี เพื่อช่วยในการฟื้นฟูด้านจิตใจให้กลับมาเข้มแข็งดังเดิมด้วยการตระหนักรู้ที่เกิดจากข้างใน และการทำงานตรงลงลึกด้านสมองและความทรงจำ

ด้วยเทคนิคทางจิตวิทยาเหล่านี้จะช่วยทำให้เราสามารถเผชิญอุปสรรคปัญหาในชีวิตต่างๆได้ด้วยตัวเอง โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งยา หรือผู้เชี่ยวชาญที่คอยช่วยเหลือเราในยามอ่อนแอไปตลอดชีวิต

ยารักษาโรคซึมเศร้า หรือ ยารักษาอาการทางจิตประสาทจิตเภททุกชนิดมีผลข้างเคียงต่อระบบการทำงานของร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ยาที่มีผลต่อสมองโดยตรงย่อมไม่เป็นผลดีกับเราในระยะยาวอย่างแน่นอน

วิธีบำบัดอาการของโรคซึมเศร้าที่นักจิตวิทยาใช้รักษานอกจากเทคนิคด้านจิตวิทยาที่หลากหลายและการทำจิตบำบัดที่ลงลึกถึงด้านการทำงานกับระบบประสาทและสมองแล้ว นักจิตวิทยายังมีแนวทางในการปรับแนวความคิดและปรับแก้พฤติกรรมที่เป็นพิษภัยต่อการดูแลฟื้นฟูจิตใจของเราเพื่อให้จิตใจของเราได้รับการดูแลให้เข้มแข็งและกลับมามีประสิทธิภาพในการต่อสู้เผชิญกับอุปสรรคและความท้าทายต่างๆในชีวิตได้อีกครั้ง

แนวปฎิบัตินี้เป็นการสร้างความสมดุลย์ให้กายและใจเบื้องต้นที่เราสามารถนำไปทำเองที่บ้านได้หากเราทีภาวะซึมเศร้าโดยไม่ต้องพึงยาต้านซึมเศร้าทำได้ดังนี้

6  วิธีธรรมชาติเพื่อปรับสมดุลให้กับสมอง โดยไม่ต้องพึ่งยาต้านซึมเศร้า

  1. ปรับเปลี่ยนชีวิต และจัดตารางเวลา
    แน่นอนอาการซึมเศร้าอาจส่งผลต่อความสม่ำเสมอในการลุกขึ้นมาทำกิจวัตรประจำวันในแต่ละวัน แต่ถ้าเราจัดตารางเวลาที่แน่นอนและทำตามตารางที่ได้วางไว้ จะมีส่วนช่วยให้เรากลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติในแต่ละวัน

    2. ตั้งเป้าหมายในทุกวัน
    การตั้งเป้าหมายเพื่อให้ทำสิ่งใดสำเร็จสำคัญมาก อาจเป็นเป้าหมายเล็กๆแต่ควรมีทุกวันในการตั้งใจที่จะทำภาระกิจอย่างหนี่งอย่างใดให้สำเร็จในแต่ละวัน เช่น ตั้งเป้าหมายว่าวันนี้จะลงมือทำกับข้าว และปลูกต้นไม้แล้วก็ลงมือทำตามนั้น

    3. ออกกำลังกาย
    เป็นการช่วยปรับสมดุลและกระตุ้นเคมีที่ดีหรือเอนโดฟินเพื่อช่วยให้สมองได้กลับมามีพลังบวก สดชื่นหลังได้ออกกำลังกาย

    4. กินอาหารที่มีประโยขน์
    อาหารเป็นยาที่วิเศษ เพราะหากอาการซึมเศร้าทำให้เรากินมากผิดปกติ หรือน้อยผิดปกติส่งผลเสียต่อสุขภาพ ดังนั้นควรต้องกินอาหารที่มีประโยชน์ในปริมาณที่เหมาะสมจะสามารถช่วยให้ภาวะซึมเศร้ากลับมาดีขึ้นได้

    5. ทำสิ่งใหม่ๆ
    ควรเรียนรู้สิ่งใหม่ๆที่สนใจอยากเรียนรู้ เช่นไปเข้าคอร์สเรียนภาษา หรือสมัครเป็นจิตอาสา ทำกิจกรรมที่มีประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น รู้จักผู้คนใหม่ๆ ความรู้ใหม่ๆเพื่อเพิ่มประสบการณ์ชีวิตให้มากขึ้นและได้สังคมเพิ่มขึ้น

    6. มีความสุขกับทุกอย่าง
    เป็นเรื่องยากสำหรับอาการซึมเศร้าที่จะมีความสุขในสิ่งที่ทำแต่นั้นเป็นอาการชั่วคราว พยายามทำใจให้มีความสุขและต่อสู้กับมันมองโลกในแง่บวกถึงแม้จะไม่ใช่เรื่องง่ายแต่ต้องพยายามฝึกจิตใจและผ่านมันไปให้ได้  

โรคซึมเศร้านั้นส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน การทำงานการออกไปพบปะเข้าสังคมกับผู้อื่น โรคซึมเศร้าทำให้ขาดความสนใจในสิ่งที่ควรต้องทำ ที่สำคัญทำให้คนที่มีภาวะซึมเศร้าไม่มีความสุขในกิจกรรมที่เคยชอบทำ โรคซึมเศร้าส่งผลด้านลบต่อความคิดและความสัมพันธ์กับคนที่อยู่รอบข้าง ดังนั้นหากภาวะซึมเศร้าไม่หายไปใน2-3 สัปดาห์และทวีความรุนแรงมากขึ้นไม่ควรรอช้าควรมาพบผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาเพื่อได้รับการแก้ไข


 

 


  อ้างอิง:                                    .

  1. webmd.com 
  2. https://psychiatry.org/patients-families/depression/what-is-depression

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้