EMDR Psychotherapy และ Brainspotting Psychotherapy ช่วยรักษาอาการอารมณ์แปรปรวนผิดปกติจากTrauma ได้อย่างไร?

985 จำนวนผู้เข้าชม  | 

EMDR Psychotherapy และ Brainspotting Psychotherapy ช่วยรักษาอาการอารมณ์แปรปรวนผิดปกติจากTrauma ได้อย่างไร?


จิตบำบัด EMDR และ จิตบำบัด Brainspotting

ช่วยรักษาอารมณ์แปรปรวนจาก Trauma ได้อย่างไร?

 

Dr. Marid Kaewchinda 
มฤษฎ์ แก้วจินดา (Ph.D.)
นักจิตวิทยาการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
นักจิตบำบัด EMDR Psychotherapy/ Brainspotting Psychotherapy

 

 

Trauma คืออะไร?

Trauma หรือปมบาดแผลทางใจนอกจากจะส่งผลกระทบต่อร่างกายในการแสดงปฎิกิริยาตอบสนองของร่ายกาย เช่นอาการแพนิค ใจสั่น ที่เกิดการกลไกในการเอาตัวรอดของร่ายกายโดยอัตโนมัติที่เราไม่สามารถควบคุมได้แล้ว Trauma มักส่งผลกระทบด้านอารมณ์ ทำให้อารมณ์แปรปรวนไม่คงที่และมักทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพกายในระยะยาวด้วย
 

Trauma ก่อให้เกิดภาวะด้านอารมณ์ที่ผิดปกติ หรือที่เรียกว่า emotional dysregulation เป็นภาวะที่มักทำให้เกิดสภาพอารมณ์ไม่คงที่ เช่น โกรธง่าย โมโหร้าย บางครั้งเป็นทุกข์ระทม โศกเศร้า หมดหวัง บางคนมีอาการแสดงออกทางกายร่วมด้วยเช่น หวาดกลัว วิตกกังวล ตื่นตระหนกโควบคุมตัวเองไม่ได้โดยเฉพาะเมื่อถูกการกระตุ้นจากปัจจัยบางอย่างที่เคยมีประสบการณ์ฝังใจในอดีตมากระทบ


ความผิดปกติด้านอารมณ์หรือ emotional dysregulation สามารถเชื่อมโยงกับภาวะการเกิดโรคซึมเศร้า และโรควิตกกังวลได้

อย่างไรก็ตามเมื่อเกิดภาวะด้านอารมณ์ที่ผิดปกติ การแสดงออกในคนที่มีภาวะTrauma มักมีความรุนแรงเกินกว่าเหตุ และมักสร้างสถานการณ์ที่นำไปสู่ความขัดแย้งและบานปลาย 

หลักฐานพบว่าประสบการณ์ลบส่งผลด้านจิตใจที่มีการเชื่อมโยงกับระบบการทำงานของประสาทและสมอง การตอบสนองด้านอารมณ์ที่อยู่ในระดับสูงจะมีผลทำให้ระบบการทำงานด้านประสาทสัมผัสและการรับรู้ต่างๆถูกปิดกั้นทำให้การควบคุมอารมณ์ทำได้ยาก

ยิ่งไปกว่านั้นในคนที่มีภาวะ Complex Truama หรือมีความซับซ้อนของปมบาดแผลทางใจ การแสดงออกด้านความผิดปกติทางอารมณ์จะทวีความรุนแรงมากขึ้น รวมถึงคนที่สมองส่วนหน้าได้รับความกระทบกระเทือนหรือถูกทำลายอันเนื่องมากจากโรคทางสมอง หรือการประสบอุบัติเหตุ นอกจากนี้การติดสุราและสารเสพติดเรื้อรังก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้สมองส่วนหน้าถูกทำลายด้วยเช่นกัน และปัจจัยเหล่านี้ทำให้สมองมีความยากต่อการควบคุมอารมณ์ที่ผิดปกติและแปรปรวนของตนเองได้

 

  
Traumaส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันอย่างไร?

Trauma ส่งผลกระทบทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ผลกระทบจากTraumaในแต่ละคนมีการแสดงออกทางร่างกายและทางจิตใจที่ไม่เหมือนกัน เนื่องด้วยปัจจัยหลายอย่างทั้งด้วย วัย อายุ ช่วงระยะเวลหรือความรุนแรงของเหตุการณ์ที่ประสบมา

การตอบสนองในแต่ละคนก็มักจะแตกต่างกันไปด้วยเช่นกัน ที่เห็นได้ชัดด้านร่างกายคือ มีอาการใจเต้นแรง หายใจเร็ว หายใจไม่ทัน มือสั่น มือเย็น เจ็บหน้าอก เวียนหัว ตัวสั่น ร่างกายรับรู้ถึงความอันตรายและเตรียมการขั้นต่อไปในการสู้หรือหนี

อย่างไรก็ตามหลังเผชิญหน้ากับเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ สภาพจิตใจอาจยังตกอยู่ในภาวะรู้สึกถึงอันตรายจากเหตุการณ์อันไม่พึงประสงค์นั้นอยู่ตลอดเวลา อาจมีภาวะอื่นๆตามมาด้วย เช่น flashback หรือภาพเหตุการณ์เลวร้ายเดิมฉายซ้ำในหัว, มีอาการเป็นpanic attack อยู่ในภาวะตื่นตระหนก หวาดกลัว, ฝันร้าย นอนไม่หลับ และมีปัญหาในการนอนบ่อยครั้ง


Trauma อาจทำให้ผู้เคราะห์ร้าย หรือเหยื่อหรือผู้ประสบเหตุอันไม่พึงประสงค์มีความอ่อนแอด้านจิตใจ และพัฒนากลายไปเป็นภาวะทางจิตที่ผิดปกติในรูปแบบต่างๆหากไม่ได้รับการแก้ไขดูแลรักษาตั้งแต่เริ่มแรก

 

Trauma ยังสามารถนำไปสู่การทำให้เกิดโรคภาวะเครียดหลังเหตุการณ์สะเทือนขวัญ หรือ Post-traumatic stress disorder (PTSD) ซึ่งอาจนำไปสู่อาการผิดปกติอื่นๆตามมา เช่นการติดสารเสพติด ติดสุรา ติดแอลกอฮอล์เรื้อรัง หรือมีความคิดทำร้ายตนเองเพื่อหาทางออกในการจัดการกับความทรงจำอันเลวร้ายที่เป็นความอ่อนแอด้านจิตใจของตัวเอง

 

 

Trauma ทำให้การใช้ชีวิตมีความยากลำบากและเป็นสาเหตุที่ชีวิตไม่สามารถไปต่อในการพัฒนาตัวเองได้ Trauma เป็นปมบาดแผลทางใจที่คอยทำลายความสัมพันธ์กับคนที่อยู่ด้วยทำให้ไม่สามารถพัฒนาด้านทักษะสังคมการอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุขและยั่งยืนได้

ด้านจิตใจผลกระทบส่วนใหญ่ที่เห็นชัดของคนมีปมบาดแผลทางใจหรือ Truamaมักเกิดจากปัญหาและอุปสรรคในการจัดการด้านอารมณ์ของตัวเอง  Traumaเป็นอุปสรรคในการรักษาสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่นในเรื่องความไว้ใจ เชื่อใจ Trauma ทำให้คนไม่มีความสุขกับชีวิตปัจจุบันซึ่งเป็นผลกระทบมากจากความทรงจำด้านลบในอดีตที่ยังตามมารบกวนจิตใจในปัจจุบัน

อย่างไรก็ตามจากงานวิจัยพบว่า Truama ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพด้านร่างกายในระยะยาวได้หากไม่ได้รับการช่วยเหลือเยียวยา ไม่ว่าTraumaนั้นจะเคยเกิดขึ้นมาแล้วยาวนานแค่ไหนก็ตาม ควรต้องได้รับการดูแลรักษาเพื่อฟื้นฟูสภาวะทางจิตใจให้กลับมาใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขและสามารถพร้อมรับมือกับการถูกรบกวนจากตัวกระตุ้นต่างๆภายนอก และภายใน Trauma ควรได้รับการแก้ไขเพื่อให้สามารถกลับมาใช้ชีวิตให้ก้าวหน้าและเติบโตแข็งแกร่งมากขึ้นจากประสบการณ์อันเลวร้ายนั้นต่อไป

 





หลายครั้งที่คนเราไม่เข้าใจว่าทำไมเวลาโกรธถึงเป็นคนที่ขี้โมโหมีอารมณ์รุนแรงจนสติหลุดควบคุมตัวเองไม่ได้  หรือบางคนร้องไห้อย่างไม่มีสาเหตุ และอ่อนไหวเปราะบาง sensitive เวลาตอบสนองด้านอารมณ์ก็จะเกินพอดี หรือ overreaction นั้นเป็นเพราะTruama ที่เป็นปมบาดแผลทางใจยังถูกเก็บซ่อนอยู่ในสมองส่วนใน

บางครั้งเรื่องผิดพลาดเล็กน้อยในสายตาของคนอื่นหรืออุบัติเหตุเล็กน้อยที่เกิดจากผู้อื่นโดยไม่ได้ตั้งใจ แต่บางคนกลับเห็นเป็นเรื่องใหญ่โตให้อภัยกันไม่ได้ และมีการแสดงออกที่เกินกว่าเหตุ พฤติกรรมต่างๆเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคอารมณ์แปรปรวนผิดปกติหรือ Emotional Dysregulation ที่มีรากลึกต้นตอลึกของปัญหามากจาก Trauma ก็ได้

ดังนั้นไม่ควรปล่อยทิ้งไว้หรือชล่าใจ ควรมาพบผู้เชี่ยวชาญเพื่อได้รับการแก้ไขโดยด่วน

 

จิตบำบัด Brainspotting และ จิตบำบัด EMDR ช่วยรักษาอาการภาวะอารมณ์ผิดปกติได้อย่างไร?


จิตบำบัด EMDR และ จิตบำบัด Brainspotting เป็นจิตบำบัดที่ได้รับการพิสูจน์ในเชิงวิทยาศาสตร์และทางการแพทย์แล้วว่ากระบวนการบำบัดทั้งสองวิธีนี้สามารถช่วยลดอาการปมบาดแผลทางใจ และความวิตกกังวลได้

จิตบำบัดทั้ง2 แบบนี้ เขาทำงานตรงกับสมองทำงานกับจุดที่เคยมีประสบการณ์ด้านลบหรือ Traumaซึ่งเกิดเป็นปมบาดแผลทางใจที่ถูกแช่แข็งอยู่ในสมองด้านความทรงจำ ซึ่ง EMDR และ Brainspotting เข้าจัดการตรงที่จุดปมปัญหาโดย activate จุดที่ต้องการแก้ไขในระบบความทรงจำ

ในทาง neuropsychology ศาสตร์สัมพันธ์ด้านจิตวิทยากับระบบประสาทและสมองถือว่าจิตบำบัด EMDR และ Brainspotting เป็นการเข้าไปทำงานไปตรงจุดที่ความทรงจำอันเลวร้ายถูกเก็บซ่อนอยู่ เพื่อกระตุ้นให้กลับมารับการแก้ไขและเกิดการประมวลผลใหม่ให้กับระบบสมองและความทรงจำ

ดังนั้นหลังได้รับการบำบัดด้วย EMDR และ Brainspotting แล้วอาการเจ็บปวดด้านร่างกาย ภาวะนอนไม่หลับ อาการ panic attack หรือภาวะเครียด ซึมเศร้าจึงลดลง และอาการภาวะPTSD ด้านปมบาดแผลทางใจจะค่อยๆดีขึ้นตามลำดับจนหายเป็นปกติและไม่สามารถกลับมารบกวนจิตใจได้อีกต่อไป

EMDR Therapy และ Brainspotting Therapy เป็นการรักษาทางการแพทย์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานโดย WHO (World Health Orgainzation) การทำงานตรงกับสมองทำให้การรักษาและการฟื้นฟูบาดแผลทางใจหรือ Truama ทำงานมีประสิทธิภาพเร็วและเห็นผลชัดกว่าการทำแค่ counseling หรือ talk therapy เพียงอย่างเดียว

EMDR and Brainspotting Therapy ทำงานกับระบบสมองด้านการควบคุมอารมณ์ ปมปัญหาที่ถูกเก็บซ่อนเมื่อได้ถูกจัดการและทำให้ลดระดับความเครียดลงปัญหาด้านการควบคุมภาวะทางอารมณ์จึงดีขึ้น

อย่างไรก็ตามการทำจิตบำบัดทั้ง EMDR และ Brainspotting ควรได้รับการดูและและทำบำบัดโดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้าน EMDR และ Brainspotting ที่ได้รับการฝึกอบรมมาเป็นอย่างดีเท่านั้น หาไม่แน่ใจว่าผู้เชี่ยวชาญที่เราไปปรึกษาประจำสามารถให้บริการทำจิตบำบัดEMDR หรือ Brainspotting ได้หรือไม่ควรสอบถามโดยตรง

 

 

 

อ้างอิง

https://www.mentalhealth.org.uk/explore-mental-health/a-z-topics/trauma#:~:text=Trauma%20can%20make%20you%20more,difficulties%20in%20your%20daily%20life.

https://www.pchtreatment.com/who-we-treat/emotional-dysregulation/#:~:text=Persons%20with%20complex%20trauma%20or,traumatic%20event%20that%20is%20reinitiated.

https://www.illuminetherapy.com/blog/emdr-brainspotting

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้