ลูกมีพฤติกรรมก้าวร้าวควรจัดการอย่างไร?

2926 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ลูกมีพฤติกรรมก้าวร้าวควรจัดการอย่างไร?

ลูกก้าวร้าวแก้ไขได้ไหม?

 

ดร. มฤษฎ์ แก้วจินดา (Ph.D)

นักจิตวิทยาการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ



พฤติกรรมก้าวร้าวของลูกมักมาในหลากหลายรูปแบบ ทั้งเกรี้ยวกราด โมโห ทุบตี เตะต่อย ใช้ความรุนแรง ทำลายข้าวของ ด่าทอ กลั่นแกล้งผู้อื่น ตั้งแง่ต่อรอง ควบคุมคนรอบข้างหรือคนที่เลี้ยงดู บาครั้งก็ลงไปชักดิ้นชักงอแล้วพฤติกรรมก้าวร้าวแบบนี้แก้ไขได้ไหม?

 

ลูกมีพฤติกรรมก้าวร้าวควรจัดการอย่างไร?

หลายคนสงสัยว่าทำไมลูกถึงมีพฤติกรรมก้าวร้าวเมื่อโตขึ้น พฤติกรรมเหล่านี้มากจากไหนและจะแก้ไขได้หรือไม่? พฤติกรรมก้าวร้าวของลูกสามารถเปลี่ยนแปลงได้ หากคุณพ่อ-คุณแม่มีความเข้าไจ เป็นผู้ฟังที่ดี และไม่ใช้ภาษาหรือท่าทางการแสดงออกที่เสี่ยงต่อการกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมที่รุนแรงมากยิ่งขึ้น เช่น หากการสนทนาเริ่มมีความขัดแย้ง คุณพ่อ-คุณแม่ควรเดินออกจากจุดนั้นเพื่อไปสงบสติอารมณ์และเมื่ออารมณ์เย็นขึ้นค่อยมาคุยกันใหม่

 

สาเหตุที่ทำให้ลูกเกิดมีพฤติกรรมก้าวร้าวคืออะไร?

หลายครั้งพฤติกรรมก้าวร้าวที่เกิดขึ้นเป็นเพราะลูกอาจจะรู้สึกว่าปัญหาที่เขากำลังเผชิญหน้าอยู่นั้นใหญ่เกินไปที่จะจัดการได้ทำให้มีอารมณ์เสีย หงุดหงิด โมโหไม่รู้วิธีจัดการกับอารมณ์ของตัวเองอย่างไร

ไม่รู้ว่าจะเผชิญหน้ากับความขัดแย้งอย่างไร หรือ ไม่รู้ว่าพฤติกรรมแบบไหนที่คนอื่นยอมรับได้ แต่ในบางกรณีพฤติกรรมและการควบคุมอารมณ์ที่รุนแรงหากเกิดจากความผิดปกติในเรื่องอาการของโรคบางอย่างเช่น โรคสมาธิสั้น หรือ ออทิสติก ก็อาจทำให้พฤติกรรมก้าวร้าวมีความซับซ้อน ยากที่จะควบคุมอารมณ์ตัวเองมากขึ้นไปอีก พฤติกรรมก้าวร้าวไม่ได้เกิดขึ้นตั้งแต่กำเนิดแต่เกิดจากการเลี้ยงดู และ สิ่งแวดล้อม ความกดดัน หรือผลพวงจากประสบการณ์ที่ได้ผ่านพบมาก็ทำให้เกิดปัญหาพฤติกรรมก้าวร้าวได้ อย่างไรก็ตามพฤติกรรมเหล่านี้สามารถเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงได้

 



ลูกก้าวร้าวเกิดจากกรรมพันธุ์จริงหรือไม่?

ปัจจัยที่ทำให้เกิดพฤติกรรมก้าวร้าวมากน้อย อาจเกิดขึ้นจากพัฒนาการความรุนแรงในวัยเด็ก เช่นในครอบครัวเด็กมีการเผชิญกับภาวะความเครียดอย่างรุนแรง ความกดดันรอบด้าน ยิ่งการเผชิญปัญหาความเครียดหรือภาวะกดดันตั้งแต่เด็กยิ่งเล็กมากยิ่งมีความเสี่ยงที่จะมีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงมากขึ้นในวัยโต

พฤติกรรมก้าวร้าวที่มีอิทธิพลมากจากสิ่งแวดล้อมนอกบ้านด้วยเช่นกัน ได้แก่ ความกดดันจากเพื่อน  คุณครู ชุมชน สื่อโซเซียล ปัจจัยความเชื่อทางสังคมวัฒนธรรม ตัวแบบ ปัจจัยจากคนรอบข้างเหล่านี้ส่งผลต่อเด็ก หรือ แม่ที่ท้องลูกอ่อน และทำให้มีแนวโน้มลูกเล็กที่เกิดมามีพฤติกรรมก้าวร้าวกว่าเด็กที่ไม่ได้เผชิญกับความกดดันแบบนี้ได้

พฤติกรรมก้าวร้าวเปลี่ยนแปลงได้ไหม?

ปัญหาพฤติกรรมความก้าวร้าวในเด็กสามารถปรับปรุงและแก้ไขได้หากคนดูแล และพ่อ-แม่ ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจ และแนวทางดังต่อไปนี้อาจพอช่วยรับมือกับปัญหาพฤติกรรมรุนแรงก้าวร้าวของลูกในเบื้องต้นได้ คุณพ่อ-คุณแม่ลองนำไปปฎิบัติดูตามนี้

6 วิธีรับมือกับพฤติกรรมก้าวร้าวของลูก

1. ตั้งสติ และ ใจเย็น

เมื่อลูกเริ่มใส่อารมณ์หรือ แสดงพฤติกรรมก้าวร้าว ผู้ปกครองต้องนิ่งเฉยและสังเกตพฤติกรรม การที่ผู้ปกครองไม่สงบสติอารมณ์ตัวเองจะทำให้สถานการณ์ความรุนแรงหรือพฤติกรรมก้าวร้าวของลูกมีความรุนแรงมากขึ้น ดังนั้นผู้ปกครองต้องเป็นตัวอย่างที่ดีในเรื่องการควบคุมอารมณ์ให้มั่นคงและไม่ควรแสดงอาการเกินกว่าเหตุ

2. อย่ามีอารมณ์ร่วมด้วยเวลาลูกก้าวร้าว

เช่น ถ้าลูกไม่ได้ของที่ต้องการและลงไปชักดิ้นชักงอในห้างสรรพสินค้า ก็ไม่ควรจะซื้อของให้ เนื่องจากลูกมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมและหากยอมให้ของที่ลูกต้องการเพื่อตัดความรำคาญก็จะเหมือนกับเป็นการให้รางวัลลูกในการกระทำพฤติกรรมที่ไม่ดี และจะเป็นการสอนให้ลูกทำแบบนี้อีกเมื่อไหร่ก็ตามที่ต้องการหรืออยากได้อะไร

3. ให้รางวัลเมื่อลูกทำดี

รางวัลไม่จำเป็นต้องเป็นวัตถุสิ่งของ และไม่จำเป็นว่าต้องรอให้ถึงวันหรือช่วงเวลาที่พิเศษเท่านั้น ถึงแม้จะเป็นวันที่แสนจะธรรมดา แต่เมื่อลูกไม่สร้างปัญหาใดๆ ก็สามารถให้รางวัลเขาได้ เช่น ลูกเป็นเด็กดีเวลารับประทานอาหารร่วมกัน หรือทำตัวดีไม่เกเรก็ควรจะชมเชยลูกว่าวันนี้หนูทำตัวเป็นเด็กดี รางวัลที่ผู้ปกครองให้เป็นสิ่งของอาจไม่มีความจำเป็นเลยก็ได้หากเด็กได้รับการชื่นชมอยู่เสมอ การสร้างแรงบวกจากภายในนั้นมีพลังมากกว่าการให้เป็นสิ่งของหรือรางวัลที่เป็นวัตถุอย่างมากมาย

4. ช่วยให้ลูกรู้จักอารมณ์ที่แปรปรวนของตัวเอง

เช่นผู้ปกครองเห็นลูกโกรธและอัดอั้นไม่พูดอะไรออกมา ได้แต่แสดงสีหน้าเครียดแค้น คุณพ่อ-คุณแม่อาจจะพูดว่า แม่รู้ว่าหนูกำลังโกรธอยู่ แม่อยากให้หนูใจเย็นๆและลองคลายเครียดหรือระบายออกด้วยการไปพักหรือหาอะไรทำก่อน เป็นการเช็คความรู้สึกที่ลูกมีและเป็นการบอกลูกให้รู้ว่าเราใส่ใจในความรู้สึก พูดออกมาเป็นคำพูดให้ลูกได้รับรู้ว่าสิ่งที่เขากำลังเป็นอยู่คือความรู้สึกโกรธ เพื่อให้ลูกรู้จักภาวะอารมณ์ตนเองในขณะนั้น

5.  รู้จักนิสัยหรือตัวกระตุ้นอารมณ์โกรธของลูก

หากเราต้องไปธุระและรู้ว่าการเร่งรัดลูกทำให้เกิดปัญหาและมักเกิดอารมณ์รุนแรงตามมา ผู้ปกครองควรมีการให้สัญญาณเตือนก่อนล่วงหน้าเช่น บอกลูกว่าอีก 15 นาทีเราจะออกจากบ้านไปทำธุระ เพื่อให้ลูกได้มีเวลาเตรียมตัว และควรให้รางวัลเมื่อลูกสามารถทำตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้อย่างไม่สร้างปัญหา

6.  หารางวัลที่เหมาะสม

ไม่ควรโฟกัสไปแต่การให้รางวัลที่เป็นสิ่งของ แต่ควรให้เป็นการชมเชย การให้โอกาสในการเลือกช่วงเวลาพิเศษ กับคุณพ่อ คุณแม่ เช่นให้ลูกเลือกการทานอาหารมื้อพิเศษที่โปรด เมนูที่ชอบ หรือ ไปดูหนังที่ชอบร่วมกัน

 
หวังว่าเทคนิคเบื้องต้นนี้จะช่วยปรับพฤติกรรมความรุนแรงของลูกได้ ปัญหาด้านการควบคุมตัวเองอารมณ์ตัวเอง หรือไม่ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆหลายครั้งสามารถแก้ได้ด้วยกระบวนเสริมแรงพฤติกรรมด้านบวก และไม่ให้ค่ากับพฤติกรรมด้านลบ

อย่างไรก็ตามหากสถานการณ์ความก้าวร้าวรุนแรงมีมากเกินไป และผู้ปกครองไม่สามารถที่จะจัดการกับลูกได้เพียงลำพัง แนะนำว่าควรปรึกษานักจิตวิทยาเด็ก หรือ จิตแพทย์เด็กเพื่อหาทางแก้ไขโดยเร็ว และป้องกันไม่ให้เกิดผลเสียในระยะยาว รวมทั้งควรศึกษาเพื่อรู้แนวทางการส่งเสริมด้านอารมณ์ และพฤติกรรมด้านบวกให้มาแทนที่พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ที่เป็นปัญหา คุณพ่อ-คุณแม่เองก็ต้องเป็นตัวอย่างที่ดีในเรื่องการควบคุมอารมณ์และความรุนแรงของตัวเองให้ได้ด้วยเช่นกัน

 

 

อ้างอิง

https://health.clevelandclinic.org/6-ways-to-deal-with-your-childs-aggressive-behavior/

https://www.kidpower.org/library/article/7-strategies-for-managing-aggressive-behavior-in-young-children/



 

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้