เอาตัวรอดอย่างไรกับ สงครามประสาท Cyberbullying

5208 จำนวนผู้เข้าชม  | 

เอาตัวรอดอย่างไรกับ สงครามประสาท Cyberbullying

 

ดร. มฤษฎ์ แก้วจินดา (Ph.D.) ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาให้คำปรึกษา

  Cyberbullying หรือการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ ไม่ใช่เรื่องที่ควรมองข้าม เหยื่อไซเบอร์บูลลี่หลายรายได้รับผลกระทบจากการถูกกลั่นแกล้งจนส่งผลเสียต่อสภาวะจิตใจและส่งผลปานปลายต่อสุขภาพร่างกาย เหตุการณ์ไซเบอร์บูลลึ่เกิดขึ้นจะเห็นได้ว่ามันสามารถเกิดได้กับทุกช่วงวัยไม่เว้นแม้กระทั่งเด็กเล็กในโรงเรียนประถม หรือระดับผู้ใหญ่ที่มีชื่อเสียงโด่งดังในวงการสื่อสารหรือวงการบันเทิงต่างๆ การตกเป็นเหยื่อไม่ใช่เรื่องตลก เพราะหากเราเคยประสบการณ์เหตุการณ์อันเลวร้ายนี้ย่อมส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจจนอาจเกิดเป็นภาวะเครียด และซึมเศร้าได้แน่นอน

  การทำร้ายผ่านสื่อสังคมออนไลน์หรือ สื่อโซเซี่ยลมีเดีย ในทางจิตวิทยาพบว่าผู้ตกเป็นเหยื่อ โดยเฉพาะในเด็กและ วัยรุ่น  ประสบการณ์เลวร้ายนี้จะส่งผลร้ายแรงต่อสุขภาพร่างกายอย่างเห็นได้ชัด เช่น วิตกกังวล หวาดกลัว มีอาการซึมเศร้า สูญเสียความมั่นใจ อาจมีอาการผิดปกติด้านร่างกายอื่นๆ เช่น ผลการเรียนตกลง มีความคิดทัศนคติในเชิงลบ มีผลกระทบต่ออนาคตในเรื่องการใช้ชีวิต ดังนั้นหากเกิดขึ้นกับเด็กเล็ก และวัยรุ่น ผู้ปกครองไม่ควรปล่อยปะละเลยเพราะผลกระทบด้านจิตใจนี้หากเกิดขึ้นกับลูกหลานเรา เราควรต้องช่วยเหลือเขาให้สามารถป้องกันตัวเองจากการตกเป็นเหยื่อของไซเบอร์บลูลี่ให้ได้โดยเร็วที่สุด



Cyberbullying  คือ การใช้เครื่องมือเทคโนโลยีในการสื่อสารทางอินเตอร์เนต ที่เชื่อมต่อโลกออนไลน์ เช่น สมาร์ทโฟน เทบเลต คอมพิวเตอร์ในการส่งข้อความ เพื่อทำการ คุกคาม ข่มขู่ ทำร้ายจิตใจ ทำให้เสียใจ โกรธ หวาดกลัว ด้วยความตั้งใจกลั่นแกล้ง และทำซ้ำแล้วซ้ำอีก การส่งข้อความที่ไม่เป็นมิตร ด่าทอ สร้างกระแสดราม่า ตัดต่อภาพ แชร์วิดีโอส่วนตัวทำให้ผู้อื่นอับอายในที่สาธารณะ โพสคอมเม้นเกลียดชังสร้างให้เกิดความเข้าใจผิด ซึ่งจะเป็นเรื่องจริงหรือไม่ก็ตาม แต่มันมีผลทำร้ายจิตใจผู้อื่น และผู้ที่กระทำต้องรับโทษตามกฏหมายมีความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ด้วย อย่างไรก็ตาม ผู้ถูกกระทำอาจได้รับผลกระทบอันเลวร้ายถึงขั้นมีความเครียด เกิดภาวะซึมเศร้า จนอาจคิดสั้นหรือ ฆ่าตัวตายได้ ดังนั้นเราควรเรียนรู้ที่จะเอาตัวรอดและมีความเข้าใจเพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของการกระทำนี้

Cyberbullying ทำให้เราเจ็บปวดได้ยังไง

ถึงแม้จะเป็นการทำร้ายจิตใจด้วยข้อความแต่ก็สร้างความเจ็บปวดได้ไม่แพ้การทำร้ายร่างกายเพราะ
• ข้อความนั้นได้เผยแพร่ไปสู่สาธารณะ
• ข้อความนั้นได้แพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว
• เหยื่อรู้สึกอับอาย ไม่รู้จะหลบเลี่ยง หรือ แก้ภาพพจน์ที่ถูกต้องให้สังคมได้รับรู้อย่างไร
• ผู้กระทำผิดอาจสร้างบัญชีปลอมซึ่งทำให้ยากต่อการดำเนินคดีจับกุม
• การลบสิ่งที่โพสบนโลกออนไลน์นั้นทำได้ยาก

เหตุจูงใจในการทำร้ายคนอื่นด้วย Cyberbullying

Cyberbullying ก็เหมือนกับการทำร้ายร่างกาย และ จิตใจผู้อื่นแบบตัวเป็นๆ เพียงแต่ การทำร้ายในโลกออนไลน์ อาจมีแรงจูงใจให้ทำได้ง่ายกว่า เพราะไม่ต้องเผชิญหน้ากับคนโดยตรง ส่วนมากคนที่เป็นเหยื่อ มักเป็น ดารา บุคคลที่มีชื่อเสียง หรืออยู่ในแวดวงสังคมที่เป็นทีรู้จัก เนื่องจากผู้กระทำ ต้องการอาศัยช่องทางของคนมีชื่อเสียงเพื่อเพิ่มช่องทางให้ตนเองมีคนสนใจบ้าง และหลายกรณีคนทำการบลูลี่รู้สึกว่า Cyberbullying เป็นการช่วยให้ตนรู้สึกดีกับความอ่อนแอที่มีอยู่ และรู้สึกถึงชัยชนะ และเป็นฮีโร่ในหมู่คนส่วนมาก ประกอบกับมีความรู้สึกเกลียดเหยื่ออยู่แล้วจึงอยากทำร้ายให้เจ็บปวด

โดยทั่วไป cyberbullying มักจะกระทำ โดยคนที่มีปัญหาทางสุขภาพจิตอยู่แล้ว เช่น ปัญหาความเครียด กดดัน ซึมเศร้าพฤติกรรมก้าวร้าว ดังนั้นคนพวกนี้จึงไม่ตระหนักรู้ในการกระทำผิดของตนเองเนื่องจาก
• ไม่ต้องเผขิญหน้ากับเป้าหมาย และไม่มีตัวตนจริงบนโลกออนไลน์
เลยทำร้ายคนอื่นโดยไม่เกรงกลัวว่าจะถูกจับได้

• ไม่สนผลกระทบในสิ่งที่ตนทำ
เนื่องจากไม่มีการตระหนักถึงการกระทำของตนเองที่ส่งผลกระทบต่อผู้อื่นมากแค่ไหนเพราะไม่ได้รับรู้ความรู้สึก หรือเห็นสีหน้าแววตาของผู้ถูกกระทำจึงไม่แยแสกับผลกระทบอย่างมหาศาลด้านจิตใจของผู้อื่น
• ไม่มีใครห้ามปราม  
บางครั้งการทำร้ายในโลกโซเซี่ยลเกิดขึ้นได้กับเหยื่ออยู่เสมอ หากคนส่วนใหญ่มองว่าเป็นเรื่องปกติ ยอมรับได้ และ ไม่มีใครห้ามปรามการกระทำของคนที่มีพฤติกรรมชอบทำร้ายผู้อื่น ผู้กระทำเลยรู้สึกว่าเป็นเรื่องปกติ และไม่สำนึกว่าตนกำลังทำผิด

การป้องกันตัวเองจากการตกเป็นเหยื่อของ cyberbullying ได้อย่างไ

วิธีเอาตัวรอด จากการตกเป็นเหยื่อ cyberbullying  หากเกิดขึ้นกับเรา อย่าไปคิดว่ามันเป็นความผิดของเรา มันเกิดขึ้นได้กับทุกคน และเราควรขอความมช่วยเหลือจากหวังผู้หวังดี หรือคนที่รักเรา เพื่อช่วยให้สามารถผ่านปัญหานี้ไปได้ และควรทำดังนี้
1.อย่าเข้าไปตอบโต้ใดๆ
เพราะเป็นการเพิ่มเชื้อไฟ บางครั้งเราอยากให้คนที่ส่งข้อความได้รับรู้ว่าการกระทำของเขามันช่างแย่ การส่งข้อความแบบนั้นทำให้เราเครียดแค่ไหน แต่มันไม่ประโยชน์ และยิ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ตัวเองถูกทำร้ายมากขึ้น

2.โพสชี้แจงในกลุ่มสาธารณะ
หากจำเป็นต้องเคลียร์ในบางประเด็นที่คนส่วนใหญ่เข้าใจเราผิด แนะนำว่าให้ทำลงในโพสให้กับผู้ติดตามสาธารณะ แต่ไม่ควรไปอธิบายหรือ ส่งข้อความส่วนตัวไปหาคนที่เขียนข้อความแสดงความเกลียดชังเราโดยตรง

3. หยุดการใช้อินเตอร์เนตชั่วคราว
ไม่ต้องอ่านคอมเม้น เพื่อทำให้จิตใจได้พักและกลับมาแข็งแรงอีกครั้ง

4. คุยกับผู้ที่มีประสบการณ์ที่เคยถูก cyberbullying
และเรียนรู้บทเรียน ว่าอะไรเป็นประเด็นที่ทำให้เกิดกระแสหรือถูกcyberbullying และควรระมัดระวังไม่ให้เกิดขึ้นอีกในอนาคต

5. กลับมาใช้งานปกติเมื่อใจพร้อม
เมื่อสภาพจิตใจดีขึ้น ให้หาเวลาที่เหมาะสมและพร้อมกลับมาใช้อินเตอร์เนตได้อีกครั้ง แต่หากยังถูกคุกคาม ควรหาคนช่วยดำเนินการแจ้งความ ทำการบล็อค และ รายงานความประพฤติไม่ดีให้ผู้บริการแพลตฟอร์มทราบ เช่น รายงาน Facebook หรือ ออกจากกลุ่มสนทนานั้นไปเลย

  ความทรงจำอันเลวร้ายของเหยื่อไซเบอร์บลูลี่อาจเป็นการยากที่จะลืม การถูกcyberbullying อาจทิ้งบาดแผลทางใจอันเลวร้าย แต่เราก็ต้องผ่านมันไปให้ได้ และเรียนรู้บทเรียนจากมันเพื่อป้องกันไม่ให้เหตุการณ์ในอนาคตเกิดขึ้นอีกได้ และหากพบว่ามีผู้กำลังตกเป็นเหยื่อของ Cyberbullying เราควรให้กำลังใจผู้นั้น หรือ ให้ความช่วยเหลือด้านจิตใจ อาจส่งข้อความส่วนตัวไปถามไถ่ความรู้สึก เพราะอย่างน้อยเราก็เคยผ่านเหตุการณ์นั้นมาได้มีประสบการณ์ เรียนรู้ เข้าใจ เห็นใจผู้อื่น และสามารถยืนหยัด เอารอดจากเหตุการณ์เช่นนี้มาได้และควรแบ่งปันนำ้ใจให้กัน

  อ้างอิง:  endcyberbullying.net   
• https://www.bettermindthailand.com/


• https://www.facebook.com/BettermindThailand

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้